วิธีแขวนผลเมล่อนสำหรับนักปลูกมือใหม่

การปลูกเมล่อนในโรงเรือน เราจะพันต้นเมล่อนที่เชือกขึ้นตามแนวดิ่ง จุดสำคัญที่ต้องระวัง คือการแขวนผลเมล่อนที่ถูกต้อง เพราะหากดำเนินการผิดเมื่อผลเมล่อนมีน้ำหนักมากขึ้น จะทำให้ไปดึงให้กิ่งแขนงที่ติดอยู่กับลูกพับลงหรือฉีกขาดได้ สารอาหารที่จะไปเลี้ยงผลก็ส่งไปไม่สะดวก ผิวผลเมล่อนก็อาจจะไปถูกับลำต้น ทำให้ผิวผลเมล่อนของเราไม่สวย การแขวนผลเมล่อนที่ถูกวิธีทำให้ผลได้รับแสง ห่างไกลโรค ผลสมบูรณ์ ผิวสวยงาม และสามารถจำหน่ายได้ราคาอีกด้วย

วิธีการแขวนผล และการคัดเลือก

ก่อนที่เราจะทำการแขวนผลเมล่อน เราต้องคัดเลือกผลเมล่อน โดยเราจะคัดผลที่ผิวสวย ไม่มีโรค และแมลง รูปทรงไข่ เป็นผลสมบูรณ์ที่สุดในต้น ส่วนมากผลที่เราคัดเลือกจะอยู่ระหว่างข้อที่ 9-10 เมื่อคัดได้ผลที่ดีที่สุดแล้ว ควรตัดที่เหลือทิ้งให้เหลือเพียงแค่ผลเดียวเท่านั้น เพื่อให้ผลเจริญเติบโตได้เต็มที่ และ   ง่ายต่อการจัดการดูแลรักษา

1. ให้เลือกผลที่มีรูปทรงรีคลายไข่ไก่ เป็นผลที่สมบูรณ์ มีขนาดใหญ่ และไร้รอยขีดข่วน

2. ทำการผูกโยงเชือกสำหรับแขวนผลกับค้างให้แน่นโดยใช้เชือกที่ยาวเท่ากับเชือกโยงต้น ขนาดเชือกแขวนผลควรมีขนาดไม้น้อยกว่า 3 มิลลิเมตร และใช้เชือกคล้องที่ขั้วผลเพื่อรองรับน้ำหนัก โดยสามารถใช้การผูกเชือกเป็นห่วง หรือใช้ตัวคล้องผลพลาสติกก็ได้

3. การแขวนผล ควรแขวนให้ผลตั้งฉากกับลำต้นเมล่อนเพื่อป้องกันการหักพับหรือฉีกขาดของก้านผล และทำให้สารอาหารเคลื่อนย้ายได้สะดวก มีความสวยงาม ระดับความสูงการแขวนลูกให้เสมอกับข้อที่ติดลูก

4. ใบที่สมดุลต่อการเลี้ยงผล 1 ผล คือประมาณ 20-25 ใบ (ในฤดูร้อน) ส่วนในฤดูฝน ฤดูหนาว ควรไว้ใบ 25-30 ใบ เนื่องจากแสงแดดฤดูหนาวจะน้อยกว่าฤดูร้อน เมื่อใบมีมากพอตามความต้องการก็ให้ตัดปลายยอดของต้นเมล่อนทิ้งไป เพื่อหยุดการเจริญเติบโตส่วนบน และใบด้านล่างควรตัดออกประมาณ 3-5 ใบ เพื่อความโปร่งและไม่เป็นที่สะสมของเชื้อโรค แมลงต่างๆ

5. ภายหลังที่ผสมเกสร 18 วัน ควรเพิ่มความเข้มข้นของปุ๋ยและปริมาณน้ำ เพื่อให้ผลเจริญเติบโตได้เต็มที่ และเสริมด้วยการฉีดพ่นธาตุแคลเซียม โบรอน เพื่อช่วยส่งเสริมความแข็งแรงเซลล์พืช สามารถป้องกันไม่ให้ผล เถา และผลเมล่อนแตกได้ง่าย อัตรา 1-2 ซีซีต่อน้ำ 1 ลิตร รวมกับสารจับใบที่มีประสิทธิภาพ พ่นทุกๆ 5-7 วัน จนครบอายุช่วงก่อนจะทำหวาน

การจัดการเมล่อน มีความละเอียด และต้องใส่ใจในทุกๆ ขั้นตอน เพื่อให้เกิดผลผลิตที่มีคุณภาพ ส่งเสริมให้สามารถจำหน่ายได้ในราคาที่สูง คุ้มค่ากับการลงทุน 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ถึงแม้ว่าเราจะดูแลมะเขือเทศเป็นอย่างดี แต่มีสิ่งหนึ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้คือ สภาพอากาศในวันที่สภาพอากาศอากาศเย็น มีหมอกในยามเช้า มีความชื้นสูง เป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเกิดโรคพืชในโรงเรือน และโรคพืชที่เราต้องเตรียมรับมือ คือ โรคใบไหม้ในมะเขือเทศ เป็นโรคที่ระบาดแพร่หลาย และรู้จักกันดีโรคหนึ่ง
เมล่อน เป็นพืชที่มีความอ่อนแอต่อศัตรูพืช ทั้งโรคและแมลง มีโรคหลายชนิดที่พบทั่วไปในการปลูก เมล่อน ทาให้ผลผลิตเสียหาย ไม่ได้คุณภาพผลตามที่ตลาดต้องการ ดังนั้นการปลูกเมล่อนจึงต้องดูแลละเอียด ตลอดฤดูปลูก ทาให้มีต้นทุนการผลิตสูงกว่าพืชอื่น เราจึงต้องให้ความสาคัญในการรู้จักโรคและการป้องกันกาจัดโรคที่
ศูนย์การเรียนรู้อีกแห่งที่เราอยากแนะนำก็คือ ศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ข้าว) ซึ่งอยู่ใกล้แค่จังหวัดสุพรรณบุรีนี่เอง ที่เกิดจากความตั้งใจของคุณสุกรรณ์ สังข์วรรณะ ที่นี่ได้เปิดพื้นที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ทางการเกษตรผสมผสานตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้แก่เกษตรกรทั่วไปรวมถึง