แนวคิดและที่มา

การเปิดตลาด (AEC)
ส่งผลให้เกษตรกรต้องแข่งขันกัน
ในการเพาะองค์ความรู้ ในการทำการเกษตร

ในปัจจุบันพบว่า เศรษฐกิจในภาคเกษตรกรรมมีการแข่งขันที่สูงมากขึ้น เนื่องจากการเปิดตลาดของประชาคมอาเซียน (AEC) ส่งผลให้เกษตรกรต้องแข่งขันกันในการเพาะองค์ความรู้ ในการทำการเกษตร และขาดความรู้ในการนำเครื่องจักรกลการเกษตร มาประยุกต์ใช้ ในขั้นตอนการเพาะปลูกต่างๆ เพื่อลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิต ส่งผลให้เกษตรกรไทยได้รับผลผลิตน้อยและไม่ได้คุณภาพเท่าที่ควร สยามคูโบต้าเล็งเห็นปัญหาดังกล่าวจึงเกิดแนวคิดที่จะพัฒนาประสิทธิภาพเกษตรกรรมไทย และแก้ปัญหาด้วยการสร้างองค์ความรู้ ที่ครอบคลุม ทั้งระบบเกษตรเพื่อช่วยลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิต ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทยให้ดีขึ้น

วัตถุประสงค์ของโครงการ

สร้างองค์ความรู้ครอบคลุมทั้งระบบเกษตรกรรม
เพื่อให้สามารถถ่ายทอดไปยังกลุ่มเกษตรกรและ
เพิ่มประสิทธิภาพการทำการเกษตรด้วยการ

ลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต
และเพิ่มรายได้
อย่างยั่งยืน

นิยาม/ความหมาย
เกษตรครบวงจร หรือ KAS

การจัดการเกษตรกรรมครบวงจรที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของคูโบต้า ด้วยการใช้เทคนิคการเพาะปลูก ผสานเทคโนโลยีและนวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรอย่างลงตัว จนกลายเป็นรูปแบบการทำเกษตรที่มี ความแม่นยำ และมีแบบแผน ตั้งแต่การปฏิรูปพื้นที่ การเตรียมดิน การเพาะปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การแปรรูป และการขนส่งผลผลิต นอกจากนี้ เกษตรกรยังสามารถควบคุมปัจจัยการเพาะปลูก ได้แก่ ดินและน้ำ ในขั้นตอนต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ตลอดจนการคาดการณ์สภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ เพื่อช่วยเกษตรกรในการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตและรายได้ ตลอดจนยกระดับและสร้างมาตรฐานเกษตรกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก และช่วยลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับเกษตรกรรวมไปถึง สิ่งแวดล้อม เพื่ออนาคตที่มั่นคงและยั่งยืน

KUBOTA (Agri) Solutions

นับเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์หลักในการขับเคลื่อนธุรกิจของสยามคูโบต้าที่จะช่วยสร้างโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืนและนับป็นความภูมิใจของสยามคูโบต้าที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมสร้างองค์ความรู้และรูปแบบในการทำ การเกษตรแบบครบวงจรที่ถ่ายทอดจากสยามคูโบต้า สู่ร้านผู้แทนจำหน่าย และท้ายที่สุดนำไปสู่เกษตรกรไทยตลอดจนยกระดับและสร้างมาตรฐานในการทำการเกษตรกรรมไทยในมิติใหม่ ที่จะขับเคลื่อนภาคเกษตรของไทยให้เติบโตต่อไป อีกทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรไทยได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย