มันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ “พิรุณ 1” ผลผลิตสูง แป้งดี โตเร็ว ทรงต้นสวย ตัดหัวง่าย ใช้ปุ๋ยน้อย

มันสำปะหลังพันธุ์ “พิรุณุ 1” พัฒนาขึ้นจากความร่วมมือของกรมวิชาการเกษตร สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ โดยการสนับสนุนงบประมาณการวิจัยจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ตั้งแต่ พ.ศ. 2549 จากลูกผสมมันสำปะหลังรุ่นที่ 1 ระหว่าพันธุ์ห้วยบง 60 ผสมกับ พันธุ์ห้านาที

ลักษณะลำต้น

โตเร็ว คลุมวัชพืชได้ดี ทรงต้นสวย แตกกิ่งที่ระดับเหนือศีนษะ ยอดสีเขียวม่วง ท่อนพันธุ์แข็งแรง ลำต้นมีลักษณะระหว่างข้อเป็นแบบซิกแซก ผลผลิตหัวสด 6.65  ต่อไร่ ปริมาณแป้งในหัวร้อยละ 29ลักษณะหัวทรงกระบอกตวง สีเนื้อหัวสีขาว

จุดเด่น
ให้ผลผลิตหัวสดสูง ปริมาณแป้งในหัวสดสูง ทรงต้นสวย ตัดหัวง่าย ใช้ปุ๋ยน้อยกว่าพันธุ์รับรองทั่วไป เหมาะปลูกในดินร่วนปนทรายมากที่สุด รองลงมา คือ ดินร่วนปนเหนียว ดินเหนียวสีแดง ดินร่วนทราย และดินเหนียวสีดำ

แหล่งท่อนพันธุ์
ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมหาสารคาม ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมาและในแหล่งปลูกมันสำปะหลังที่สำคัญดังนี้

จังหวัดกำแพงเพชร 081-674-0426
จังหวัดฉะเชิงเทรา 086-520-7547
จังหวัดชลบุรี 089-834-9760
จังหวัดระยอง 081–940–5565
จังหวัดนครราชสีมา อำเภอสีคิ้ว 081–879-5238
จังหวัดสุพรรณบุรี 081–981-2613
จังหวัดนครราชสีมา อำเภอเสิงสาง 088–470-6139 และ 086–246–9109

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล, Nilaparvata lugens (Stal) เป็นแมลงจำพวกปากดูด ตัวเต็มวัยมีลำตัวสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลปนดำ มีรูปร่าง 2 ลักษณะ คือ ชนิดปีกยาว และชนิดปีกสั้น
ชื่อสามัญ Pineapple disease สาเหตุ เชื้อรา Ceratocystis paradoxa อาการ : เป็นโรคที่เกิดกับท่อนพันธุ์ ทำให้ท่อนพันธุ์มีความงอกต่ำ หน่ออ้อยไม่เจริญเติบโต ผ่าลำดู จะเป็นสีแดงเข้มสลับดำมีกลิ่นเหม็นคล้ายสับปะรด วิธีการแพร่ระบาด : เชื้อราในดินจะเข้าทำลายทางตามรอยแผล และด้านตัดของท่อนพันธุ์ ต้นอ้อยแก่
ความสำคัญ แตนเบียนไข่ไตรโคแกรมมา จัดเป็นแมลงศัตรูธรรมชาติที่มีความสำคัญ ที่สามารถทำลาย ไข่หนอนกออ้อย ไข่หนอนกอข้าว ไข่หนอนเจาะสมอฝ้าย และไข่หนอนกระทู้เป็นต้น โดยตัวเมียของแตนเบียนไข่ทริโคแกรมม่าจะวางไข่ ไว้ในไข่ของแมลงศัตรูพืช ทำให้ไข่ไม่ฟักออกเป็นตัวแต่จะฟักออกเป็นแตนเบียนไข่ไตรโคแกรมมา มักใช้แตน