มันสำปะหลังพันธ์ใหม่ “พิรุณ 2” เป็นได้ทั้งพันธุ์รับประทาน และพันธุ์อุตสาหกรรม

มันสำปะหลังพันธ์ใหม่ “พิรุณ 2” พัฒนาขึ้นจากความร่วมมือของกรมวิชาการเกษตร สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดลและศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ โดยการสนับสนุนงบประมาณการวิจัยจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ตั้งแต่ 2549 จากลูกผสมมันสำปะหลัง รุ่น 1 ระหว่างพันธุ์ห้วยบง 60 ผสมกับ พันธุ์ห้านาที


ลักษณะลำต้น

ยอดสีเขียวอ่อน ก้านใบสีแดง ลักษณะทรงต้นตั้งตรง ผลผลิตเฉลี่ย 5.8 ตันต่อไร่ ปริมาณแป้งในหัวสด 24.7 หังแบบทรงโคนหรือดอกบัวตูม ก้านหัวสั้น ตัดหัวง่าย เปลือกหัวสีน้ำตาลเข้ม เนื้อหัวสีขาว เส้นใยน้อย

จุดเด่น 

ให้ผลผลิตหัวสดสูงกว่าพันธุ์ห้านาที เมื่อปลูกในสภาพไร่แบบอาศัยน้ำฝนอย่างเดียว ทรงต้นสวยมีก้านหัวสั้น ทำให้ตัดหัวง่าน เหมาะสำหรับปลูกในดินเหนียวสีแดงมากที่สุด รองลงมา คือ ดินร่วนปนเหนียว และดินเหนียว สีดำ เมื่อนำหัวไปนึ่งหรือเชื่อมให้เนื้อสีขาวรสชาติอร่อย เนื้อสัมผัสนุ่ม ไร้เสี้ยน มันสำปะหลังพันธุ์นี้เป็นได้ทั้งพันธุ์รับประทาน และพันธุ์อุตสาหกรรม

การแปรรูป

 “พิรุณ 2” เป็นพันธุ์ที่ให้เนื้อสัมผัสที่อ่อนนุ่ม รสชาติดี นำไปทำขนมไทยได้หลายชนิด เช่น มันเชื่อม ตะโก แกงบวด ขนมหน้านวล บ้าบิ่น ขนมมัน และแปรรูปเป็นมันสำปะหลังทอง

แหล่งท่อนพันธุ์

ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมหาสารคาม ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมาและในแหล่งปลูกมันสำปะหลังที่สำคัญดังนี้

  • จังหวัดกำแพงเพชร 081-674-0426
  • จังหวัดฉะเชิงเทรา 086-520-7547
  • จังหวัดชลบุรี 089-834-9760
  • จังหวัดระยอง 081–940–5565
  • จังหวัดนครราชสีมา อำเภอสีคิ้ว 081–879-5238
  • จังหวัดสุพรรณบุรี 081–981-2613
  • จังหวัดนครราชสีมา อำเภอเสิงสาง 088–470-6139 และ 086–246–9109

บทความที่เกี่ยวข้อง

เกษตรกรไม่ต้องกังวลใจเรื่องปุ๋ยยูเรียแพงแล้วนะ เพราะเราสามารถใช้แหนแดงแทนปุ๋ยยูเรียได้ โดยข้อมูลจากกรมวิชาการการเกษตรระบุไว้ว่าหากปลูกแหนแดง 1 ไร่ จะได้แหนแดง 3 ตัน มีธาตุอาหารเทียบเท่าปุ๋ยยูเรีย 7-10 กิโลกรัม เลยทีเดียว แต่ก่อนจะใช้แหนแดงทดแทนปุ๋ย เรามารู้จักคุณสมบัติ และวิธีการใช้แหนแดงกันก่อน
เพลี้ยอ่อนข้าวโพด (Corn leaf aphid : Rhopalosiphum maidis Fitch.) มักจะพบเกาะเป็นกลุ่ม ๆ ดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่าง ๆ ของต้นข้าวโพด เช่น ยอด กาบใบ โคนใบ กาบฝัก และจะพบมากที่สุดบริเวณช่อดอกทำให้บริเวณที่ถูกดูดกินแสดงอาการเป็นจุดสีเหลืองปนแดง ถ้าช่อดอกมีเพลี้ยเกาะกินอยู่มากจะทำให้ช่อดอกไม่บาน
หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด (Corn borer : Ostrinia fumacalis Guenee) รูปร่างลักษณะ : หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด เป็นแมลงศัตรูสำคัญที่สุดชนิดหนึ่งของข้าวโพด โดยเฉพาะในไร่ที่มีการปลูกข้าวโพดมานานปี หรือในแหล่งที่มีการใช้สารฆ่าแมลงมาก เพราะจะไปทำลายแมลงศัตรูธรรมชาติ เช่น แตนเบียนไข่ ซึ่งเป็นตัวคอย