แตนเบียนไข่ไตรโคแกรมมา

ความสำคัญ

แตนเบียนไข่ไตรโคแกรมมา จัดเป็นแมลงศัตรูธรรมชาติที่มีความสำคัญ ที่สามารถทำลาย ไข่หนอนกออ้อย ไข่หนอนกอข้าว ไข่หนอนเจาะสมอฝ้าย และไข่หนอนกระทู้เป็นต้น โดยตัวเมียของแตนเบียนไข่ทริโคแกรมม่าจะวางไข่ ไว้ในไข่ของแมลงศัตรูพืช ทำให้ไข่ไม่ฟักออกเป็นตัวแต่จะฟักออกเป็นแตนเบียนไข่ไตรโคแกรมมา มักใช้แตนเบียนไข่ไตรโคแกรมมา ในช่วงศัตรูพืชระบาด จะช่วยลดปริมาณไข่ของแมลงศัตรูพืชได้มากถึง 85 เปอร์เซ็นต์ และยังช่วยลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทำให้ไม่มีสารตกค้างในผลผลิตและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

รูปร่างลักษณะ

แตนเบียนไข่ทริโคแกรมม่า มีขนาดเล็กมากความยาวจากส่วนหัวถึงปลายส่วนท้องตัวเต็มวัยเพศผู้และเพศเมีย เฉลี่ย 0.4 และ 0.36 มม. ตามลำดับ ส่วนความกว้างเมื่อกางปีกออกของตัวเต็มวัยเพศผู้และเพศเมีย มีขนาดประมาณ 0.87 และ 0.93 ตามลำดับ โดยตัวเต็มวัยจะมีขนาดเล็ก ตาสีแดง หนวดเป็นปล้อง 

ลักษณะการทำลายเหยื่อ

แตนเบียนไข่ไตรโคแกรมม่า เพศเมีย จะใช้อวัยวะวางไข่แทงเข้าไปตรงส่วนบนของไข่ผีเสื้อ ซึ่งไข่ของผีเสื้อ 1 ฟอง อาจจะมีแตนเบียนฯ วางไข่ 1 – 4  ตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของอาหารภายในไข่ เมื่อแตนเบียนฟักออกเป็นตัวอ่อน ก็จะดูดกินของเหลวภายในไข่ของผีเสื้อจนเจริญเติบโตเต็มที่ และเข้าดักแด้อยู่ภายในไข่ของผีเสื้อ เมื่อเจริญเติบโตจนเป็นตัวแก่ จึงจะเจาะรูออกมาจากไข่ของผีเสื้อ ไข่ของผีเสื้อที่ถูกแตนเบียนทำลายจะเปลี่ยนเป็นสีดำเข้ม ภายในระยะเวลา 3 วัน หลังจากนั้น 8 วัน จะฟักออกมาเป็นตัวเต็มวัยของแตนเบียน ซึ่งจะผสมพันธุ์และไปทำลายไข่ของผีเสื้อต่อไป เฉพาะแตนเบียนตัวเมียเท่านั้นที่ทำลายไข่ของผีเสื้อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ชุดดินในที่ดอนที่สำคัญ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5. ชุดดินโคราช (โคราช series : Kt) กลุ่มชุดดินที่ 35 การกำเนิด : เกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่ และ/หรือเคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางไม่ไกลนักของหินตะกอนเนื้อหยาบพวกหินทรายบริเวณพื้นที่เกือบราบหรือที่เกือบราบ (peneplain)
โรครากและหัวเน่าเป็นโรคที่มีความสำคัญมาก ทำให้ผลผลิตสูญเสียโดยตรง โดยเฉพาะในแหล่งที่ดินระบายน้ำได้ยาก ฝนตกชุกเกินไปหรือในพื้นที่ที่เคยปลูกกาแฟ ยาง หรือเป็นป่าไม้มาแล้ว ในบางครั้งสามารถพบได้ในแหล่งที่ดินมีการชะล้างสูง โรคนี้สามารถเกิดได้ทั้งระยะต้นกล้า และระยะที่ลงหัวแล้ว โรครากและหัวเน่าเกิดจากเชื้อ
การเลือกพื้นที่ ควรเลือกพื้นที่ ที่มีแหล่งน้ำเพียงพอตลอดฤดูปลูก หลีกเลี่ยงพื้นที่ลุ่มต่ำที่มีการระบายน้ำไม่ดี ฤดูปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา เดือนที่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์คือเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม หรือปลูกทันทีหลังจากเก็บเกี่ยวข้าว เพื่อใช้ประโยชน์จากความชื้นที่เหลืออยู่ในดิน