Kubota Self-Learning คืออะไร?

วันนี้ Kubota มีนวัตกรรมใหม่มาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จัก คือ Kubota Self-Learningเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ทางด้านการเกษตรแบบใหม่ที่จัดแสดงอยู่บนตู้คอนเทรนเนอร์ซึ่งสามารถนำไปได้ทุกที่ โดยมีจุดเด่นคือผู้เข้าชมสามารถเรียนรู้ผ่านจอแสดงผลได้ด้วยตนเอง ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมได้ในงานต่างๆที่จัดโดยบริษัทสยามคูโบต้าและที่ Kubota Farm อ.บ้านบึง จังหวัดชลบุรี โดยแบ่งออกเป็น 5 โซนดังนี้

1.  KAS Crop Calendar

ให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะปลูก อาทิ ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง เป็นต้น ซึ่งอยู่ในรูปแบบของปฏิทินการเพาะปลูก (Crop Calendar) โดยการให้เทคนิคการเพาะปลูกผสานกับเทคโนโลยีทางการเกษตร และเครื่องจักรกลทางการเกษตรทำให้สามารถนำความรู้ไปจัดการกับพื้นที่เกษตรและการเพาะปลูกของเกษตรกรเองได้

2.  Soil Test Kit Knowledge

เกษตรกรสามารถนำตัวอย่างดินในพื้นการเพาะปลูกมาทำการทดสอบหาสารละลายในดิน โดยจะทำการหา ไนโตรเจน(N) ฟอสฟอรัส(P) โพแทสเซียม(K) และ ค่าความเป็นกรด-ด่าง(pH) เพื่อให้ลูกค้าสามารถเลือกปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่นั้นๆ หรือจัดการดินให้เหมาะสมกับพืชที่ต้องการเพาะปลูกได้อย่างถูกต้อง

3.  Simulator

เป็นการมอบประสบการณ์ด้านการขับขี่และการใช้ผลิตภัณฑ์ Kubota ให้กับลูกค้า สามารถทดลองเล่นได้ทุกช่วงวัยเสมือนได้ใช้งานเครื่องจักรกลจริง และเป็นการฝึกหัดให้เกิดความชำนาญในการใช้งานจริง

4.  KAS Website

เป็นการแนะนำเว็บไซต์สำหรับให้เกษตรกรสืบค้นความรู้ที่น่าสนใจทางด้านการเกษตร เช่น  องค์ความรู้ด้านพันธุ์พืช  องค์ความรู้ด้านโรคพืช  องค์ความรู้ด้านแมลงศัตรูพืช สัตว์ และแมลงศัตรูธรรมชาติองค์ความรู้ด้านวัชพืช และองค์ความรู้ทั่วไป เป็นต้น โดยองค์ความรู้ต่างๆเรียบเรียงโดยหน่วยงานภายนอกและเรียบเรียงโดยสยามคูโบต้า

5.  Media for Sale&Service

5.1  SKL Loan Calculation & Promotion:เป็นช่องทางในการช่วยลูกค้าทางด้านการเงิน และลูกค้าสามารถคำนวณการเช่าซื้อได้ด้วยตนเอง โดยการใช้แท็บเล็ต และซอฟต์แวร์การคำนวณสินเชื่อของ SKL

 5.2  Spare parts knowledge & Promotion : เพื่อช่วยให้ลูกค้าเข้าใจถึงประโยชน์ของการใช้ชิ้นส่วนโดยทั่วไปเช่น ความรู้เกี่ยวกับอะไหล่แท้คูโบต้า โปรโมชั่น และการตรวจสอบราคาอะไหล่ เป็นต้น

5.3  Kubota Product: เป็นช่องทางในการแนะนำสินค้าของสยามคูโบต้า เช่น รถแทรกเตอร์อุปกรณ์ต่อพ่วง รถเกี่ยวนวดข้าว รถดำนา เครื่องยนต์ดีเซล และรถไถเดินตาม เป็นต้น

5.4  After sales service : โดยจะให้บริการลูกค้าในด้านการรับประกัน การบริการหลังการขาย เทคนิคการบำรุงรักษา และแนะนำศูนย์บริการตามภูมิภาคหรือจังหวัดที่ลูกค้าอาศัยอยู่

Kubota Self-Learning เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ให้ความรู้ควบคู่การแนะนำบริการที่เกษตรกรสามารถเข้าถึงได้ง่าย ไม่ว่าเกษตรกรจะอยู่ภูมิภาคหรือจังหวัดใดในประเทศไทย

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในปัจจุบันนวัตกรรมเข้ามามีบทบาทในการทำเกษตรเป็นอย่างมาก ทำให้รูปแบบการทำเกษตรเกิดการเปลี่ยนแปลง เกษตรกรจึงควรปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงนี้ โดยก้าวไปสู่การเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer) หรือ เกษตรกรปราดเปรื่อง ผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจด้านเทคโนโลยีและการเกษตร สามารถนำมาปรับใช้ร่วมกันได้อย่างลงตัว ช่วยให้การทำเกษตรมีประสิทธิภาพมากขึ้น
1.การเตรียมการก่อนปลูก 1.1 การเตรียมดิน1) ถั่วฝักยาวสามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ลักษณะดินที่มีความเหมาะสมในการปลูกคือดินทรายหรือดินร่วนปนทราย ความเป็นกรดและด่างของดิน pH มีค่าอยู่ระหว่าง 5.5 – 6.82) การเตรียมดิน ควรไถดินตากไว้ประมาณ 7 วัน แล้วไถพรวนอีก 1 – 2 ครั้ง ใส่ปุ๋ยหมักหรือ