การดูดซับปุ๋ยทางใบของพืช

การดูดธาตุอาหารของพืช

พืชได้รับคาร์บอนและออกซิเจนจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยการสังเคราะห์แสงจากใบพืชและส่วนที่มีสีเขียว ส่วนธาตุอาหารพืชในรูปของไอออนพืชได้รับเช่นกัน การดูดธาตุอาหาร พืชโดยส่วนต่างๆของพืช ได้แก่ การดูดธาตุอาหารของพืชโดยใช้ส่วนต่างๆของพืช และ การดูดซับธาตุอาหารของพืชทางราก

สารอาหารสามารถเข้าสู่ใบของพืชผ่านทาง 3 ส่วนของใบ ดังต่อไปนี้

1. การแพร่ของสารละลายทางคิวติเคิล (Cuticle)

2. ดูดซึมผ่านทางปากใบ (Stomata)

3. ดูดซึมผ่านทาง Polar pores (Aquaporins)

ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการดูดซับธาตุอาหารทางใบของพืช

1. ชนิดของปุ๋ย

ธาตุอาหารพืชแต่ละชนิดสามารถดูดซับทางใบได้เร็ว-ช้า แตกต่างกัน เช่น ไนโตรเจนถูกดูดซับทางใบได้เร็วที่สุด รองลงมาคือ แมกนีเซียม โพแทสเซียม และแคลเซียม เป็นต้น

2. รูปของปุ๋ย

ปุ๋ยที่มีคลอไรด์เป็นส่วนประกอบจะสามารถดูดซับทางใบได้เร็วกว่า คลอไรด์-ไนเตรท คีเลต ซัลเฟต

3. ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม

3.1 อุณหภูมิ ขณะที่บรรยากาศมีอุณหภูมิสูง จะมีผลต่อการขยายขนาดของใบสูงขึ้น จึงมีการดูดใช้ธาตุอาหารเพิ่มขึ้น แต่ถ้าอุณหภูมิสูงเกินไปจะทําให้สารละลายของธาตุอาหารพืชบนใบแห้งเร็ว ซึ่งทําให้การดูดใช้ธาตุอาหารลดต่ำลง 

3.2 ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ จะมีผลต่อการระเหยของธาตุอาหารของธาตุอาหารที่ผิวใบพืชโดยถ้ามีความชื้นสัมพัทธ์สูง การระเหยของสารละลายจะช้ามากทําให้เกิดความแตกต่างระหว่างความเข้มข้นของสารละลายภายนอกและภายในใบน้อย ทำให้การเคลื่อนที่ของธาตุอาหารเข้าสู่ใบจะน้อยลงเช่นกัน 

3.3 อายุของใบพืช ใบที่มีอายุน้อยจะมีการสะสมของไขและผิวเคลือบยังไม่หนาเต็มที่ ธาตุ อาหารจึงเคลื่อนที่เข้าสู่ใบได้เร็วกว่าใบแก่ 

3.4 ลักษณะผิวใบ ผิวใบล่างของพืชส่วนใหญ่จะดูดธาตุอาหารได้มากกว่าผิวใบด้านบน เนื่องจากใบล่างมีจํานวนใบปากใบต่อพื้นที่มากกว่าผิวใบนน นอกจากนี้ผิวใบที่มีขนจะมีการดูดใช้ธาตุอาหารสูงกว่าผิวใบเรียบ

เทคนิคการให้ปุ๋ยหรืออาหารพืชทางใบ

1. ให้ได้เฉพาะปุ๋ยหรือสารอาหารที่สามารถให้ทางใบเท่านั้น เช่น ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเกร็ด น้ำหมักชีวภาพ กรณีปุ๋ยเม็ดหรือปุ๋ยแข็งไม่สามารถนำมาละลายน้ำเพื่อให้ทางใบได้

2. การแพร่ของปุ๋ยหรือสารอาหารทางใบจะมีประสิทธิภาพสูงสุดในช่วงเวลาที่มีแสงแดด แต่ควรให้ปุ๋ยหรือสารอาหารทางใบในช่วงที่มีแสงแดดอ่อนๆ เช่น ช่วงเช้า ช่วงเย็น และ หลังฝนตก หากเป็นช่วงที่แดดจัดมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการไหม้ของใบ ส่วนในเวลากลางคืนนั้นพืชก็สามารถดูดซึมปุ๋ยหรือสารอาหารทางใบได้เพียงแต่ประสิทธิภาพจะลดลงเป็นอย่างมาก

3. การฉีดพ่นเพื่อให้ปุ๋ยหรือสารอาหารทางใบควรให้สัมผัสกับทุกส่วนของพืช โดยให้ทุกส่วนเปียกชุ่มให้นานที่สุด ควรให้น้ำกับพืชก่อนหรือหากฝนตกสามารถให้ปุ๋ยหรือสารอาหารทางใบกับพืชหลังฝนตกทันทีเพื่อให้ใบนั้นเปียกนานที่สุดสามารถดูดซึมอาหารไปใช้ได้มาก หากใช้สารจับใบจะเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมได้มากขึ้น

ดังนั้นการให้ปุ๋ยทางใบ มีหลายปัจจัยที่มีผลต่อความเป็นประโยชน์ได้ของธาตุอาหารพืช จึงมีผลทําให้ปุ๋ยที่พืชได้รับจะมีปริมาณน้อย เปลืองแรงงาน หากใช้ไม่เหมาะสมจะไม่คุ้มค่า จึงควรเลือกใช้ปุ๋ยทางใบในพืชที่ตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยทางใบ หรือในการเสริมให้แก่พืชในช่วงที่เหมาะสมหรือการเร่งการเจริญเติบโตในบางกรณีเท่านั้น

บทความที่เกี่ยวข้อง

หนอนกระทู้หอม (Beet armyworm : Spodoptera exigua Hubner) รูปร่างลักษณะ : หนอนกระทู้หอมหรือหนอนหลอดหอม เป็นศัตรูสำคัญของข้าวโพดในระยะ 7-30 วัน กัดกินใบและต้นทำให้เกิดความเสียหายมาก ถ้าปล่อยให้เข้าทำลายโดยไม่มีการป้องกันกำจัด ข้าวโพดจะตายในที่สุด หนอนกระทู้หอมตัวเต็มวัย
เทคนิคการเพิ่มผลผลิตอ้อย ซึ่งเป็นความ เกี่ยวข้องกันระหว่างระบบการปลูกและขั้นตอนการดูแลแปลงนั้นก็คือ การปรับระบบปลูกเพื่อใช้เครื่องจักรกลเข้าดูแลแปลงได้ตลอดอายุการ เจริญเติบโตของอ้อย ในขั้นตอนการดูแลรักษาแปลงที่สำคัญคือ การ ป้องกันกำจัดวัชพืช และการใส่ปุ๋ย ซึ่งปัจจุบันนี้จากปัญหาการขาดแคลน แรงงาน