แตะขอบฟ้า

ปัจจุบันอาชีพที่คนรุ่นใหม่หันมาให้ความสนมากขึ้น คือ อาชีพเกษตรกร เนื่องจากต้องการหนีความวุ่นวาย มลพิษในเมืองใหญ่ และความกดดันจากปัญหาต่างๆในการทำงาน รวมถึงอยากเป็นเจ้าของธุรกิจของตัวเอง วันนี้เราจะแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักเกษตรกรอายุน้อย คุณปิยะ กิจประสงค์ บ้านเลขที่ 73 ม.7 ต.ปลายนา อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี อดีตพนักงานบริษัทเอกชน ที่ผันตัวมาเป็นเกษตรกรอย่างเต็มตัว เนื่องจากชอบและมีความสนใจในการทำการเกษตร โดยทำการปลูกมะเขือเทศ เมล่อน และองุ่นภายในโรงรือน บนพื้นที่เพียง 2 ไร่ 

คุณปิยะ กล่าวถึงการตัดสินใจเลือกปลูกพืชในโรงเรือนว่า “ต้องการสร้างความแตกต่างภายในชุมชน เพื่อสร้างให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงเกษตร และต้องการให้ผู้บริโภคมั่นใจในคุณภาพของผลผลิต โดยปลูกมะเขือเทศตามมาตรฐานของ GAP คือ ในช่วงแรกของการเพาะปลูกจะใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดโรคและแมลง แต่หลังจากที่มะเขือเทศเริ่มติดผลจะงดการให้สารเคมีทันที ”

เรามาดูวิธีการปลูกมะเขือเทศของ ฟาร์ม “ แตะขอบฟ้า ” กันดีกว่า ว่าในแต่ละขั้นตอนต้องใส่ใจรายละเอียดอย่างไร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตามฉบับฟาร์มแตะขอบฟ้า

ขั้นตอนการปลูกมะเขือเทศ

ขั้นตอนการดูแลรักษา

  • การให้น้ำ  ใน1 วันให้น้ำปริมาณ 1 – 1.5 ลิตร/ต้น โดยให้น้ำ 2 เวลา คือ 8.00น.  และ 16.00  น.
  • การใส่ปุ๋ย   หลังจากย้ายกล้าประมาณ 1-2 วันแรกใส่ปุ๋ยสูตร 15 – 15 – 15 เพื่อให้ต้นมะเขือเทศตั้งตัว และเมื่อต้นมะเขือเทศตั้งตัวเปลี่ยนเป็นการให้ปุ๋ยน้ำสูตร AB เข้มข้นในปริมาณ 1 ลิตร ต่อน้ำ 200 ลิตร ตลอดการเพาะปลูกจนมะเขือเทศหมดอายุเก็บเกี่ยว
  • การกำจัดโรค  ถ้าเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส เช่น โรคใบด่าง หรือโรคใบหงิกเหลือง จะทำการรื้อและนำออกจากโรคเรือนทันที แต่ถ้าหากเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเหี่ยวเฉา จะใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดเชื้อราทันที
  • การผสมเกสร  การผสมเกสรในโรงเรือนทำได้ยาก จึงใช้ฮอร์โมนออกซินฉีดพ่นในช่วงดอกมะเขือเทศบาน เพื่อหลอกมะเขือเทศให้มีการติดผล โดยไม่มีการผสมเกสรจริง จะทำการฉีดพ่นทุก 4 วัน เวลาเช้าและเย็น จนมะเขือเทศติดผล ซึ่งผลที่ติดโดยวิธีการนี้จะไม่มีเมล็ด แต่ในการฉีด

ไม่ควรให้สารเคมีโดนบริเวณยอดเนื่องจากมีองค์ประกอบของ4-CPA เนื่องจากจะทำให้ต้นมะเขือเทศตาย

นอกจากขั้นตอนการปลูกและการดูแลรักษาที่ช่วยทำให้ผลผลิตมีคุณภาพแล้ว การเลือกฤดูปลูกให้เหมาะสมก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัย ซึ่ง คุณปิยะ ได้กล่าวไว้ว่า “ ควรเลือกปลูกมะเขือเทศให้ช่วงออกดอกตรงกับช่วงฤดูหนาว จะทำให้เปอร์เซ็นต์การติดผลผลิตสูง ถ้าหากเลือกปลูกให้ตรงกับฤดูร้อนเปอร์เซ็นต์การติดผลก็จะต่ำ และถ้าตรงกับช่วงฤดูฝน ต้นมะเขือเทศจะเจริญเติบโตได้ไม่ดี และทำให้ผลผลิตไม่สมบูรณ์ ”

จะเห็นได้ว่าถ้าหากเราเริ่มต้นทำในสิ่งที่ชอบ มีความสนใจ และใส่ใจในทุกๆขั้นตอน ก็สามารถทำให้เราเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ประสบความสำเร็จได้นั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง

จากสถานการณ์น้ำแล้ง ดร.โอภาส ตรีทวีศักดิ์ นักวิจัยศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์จึงได้มีแนวคิดพัฒนาเครื่องวัดความชื้นดินขึ้น เพื่อใช้ตรวจวัดความชื้นของดินเพื่อประเมินปริมาณการให้น้ำพืชได้อย่างเหมาะสม ตามความต้องการของพืชได้อย่างแม่นยำ พืชต้องการน้ำแต่ละช่วงการเจริญเติบโตไม่เท่ากัน พืชแต่ละชนิด
ในที่สุดช่วงเวลาที่ทุกคนรอคอยก็มาถึง นั้นก็คือช่วงเวลาของการเก็บผลผลิตมะเขือเทศในแปลงปลูก ของเรานั้นเอง มะเขือเทศที่เราเฝ้าดูแลมานานหลายเดือนตั้งแต่เพาะเมล็ด ผลิดอกแรก จนถึงเก็บเกี่ยว เพื่อให้ ได้มะเขือเทศช่อสวย สีแดงสด ผลเต่งตึง รสชาติหวานอร่อย ถ้าใครได้ลองแล้วรับรองติดใจ ต้องกลับมาขอซื้อ ซ้ํากันเลย
โรคราน้ำค้าง หรือที่เกษตรกรเรียกว่า “โรคใบลาย” เป็นโรคที่มีความสำคัญมากที่สุดโรคหนึ่งของเมล่อนและพืชวงศ์แตง ในประเทศไทยมีรายงานพบการระบาดของโรคนี้ในแหล่งปลูกพืชวงศ์แตงอยู่ทั่วโลก ในพื้นที่มีความชื้นและอุณหภูมิเหมาะต่อการเข้าทำลายของเชื้อรา โรคราน้ำค้างมักจะเกิดขึ้นในเขตอบอ