การเก็บมะเขือเทศ ให้ได้คุณภาพ

ในที่สุดช่วงเวลาที่ทุกคนรอคอยก็มาถึง นั้นก็คือช่วงเวลาของการเก็บผลผลิตมะเขือเทศในแปลงปลูก ของเรานั้นเอง มะเขือเทศที่เราเฝ้าดูแลมานานหลายเดือนตั้งแต่เพาะเมล็ด ผลิดอกแรก จนถึงเก็บเกี่ยว เพื่อให้ ได้มะเขือเทศช่อสวย สีแดงสด ผลเต่งตึง รสชาติหวานอร่อย ถ้าใครได้ลองแล้วรับรองติดใจ ต้องกลับมาขอซื้อ ซ้ํากันเลยทีเดียว

การเก็บเกี่ยวมะเขือเทศขึ้นอยู่กับพันธุ์ โดยเฉลี่ยแล้วเมื่อปลูกได้ประมาณ 30-45 วัน มะเขือเทศจะเริ่มออกดอก และจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุประมาณ 70-90 วัน ซึ่งเราเก็บผลผลิตได้ต่อเนื่อง 2-3 เดือนระยะเวลารวมตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงช่วงเก็บเกี่ยวจะใช้ระยะเวลาประมาณ 4-5 เดือน อีกทั้งอายุในการเก็บเกี่ยวนั้นก็จะขึ้นอยู่กับการปลูกและการดูแลรักษามะเขือเทศของเราด้วย

วิธีการเก็บมะเขือเทศ

  • เก็บผลผลิตมะเขือเทศที่มีผลขนาดใหญ่ ผลมีขนาดสม่ำเสมอ ผิวเรียบ ผลไม่แตก สีผลเมื่อสุกเต็มที่แดงสม่ำเสมอ และมีขั้วผลติด หากส่งขายหรือตามตลาดสด จะต้องเก็บในช่วงที่ผลผลิตไม่แก่จนเกินไป อาจจะเก็บในช่วงที่ผลผลิตกำลังเปลี่ยนเป็นสีแดง หรือเริ่มเป็นสีชมพูเรื่อ เมื่อผลผลิตถึงตลาดสดและถึงมือผู้บริโภค ผลผลิตก็จะสุกเต็มที่โดยมีสีแดงสดพอดี
  • สุ่มวัดความเปรี้ยวและความหวานของผลมะเขือเทศ โดยใช้กระดาษลิตมัส สำหรับการตรวจสอบค่าความเป็นกรดหรือด่าง (เบส) มะเขือเทศในแปลงปลูก ได้ค่า total acidity เท่ากับ 5 และใช้เครื่องวัด Brix Refractometer แบบดิจิตอล วัดความหวานจากมะเขือเทศ วัดค่าได้ 11 %Brix แสดงว่ามะเขือเทศในแปลงที่เราปลูกมีกรดมากและน้ำตาลมาก มะเขือเทศจะมีรสจัด

  • วางมะเขือเทศในภาชนะที่สะอาด และภายหลังการเก็บเกี่ยวรีบนำเข้าที่ร่ม
  • นำมาตัดแต่งผลที่มีขนาดเล็กและผลที่มีสีเขียวออก คัดขนาดตามมาตรฐานของผู้รับซื้อ
  • เช็ดทำความสะอาดผล นำมาบรรจุใส่กล่อง และเก็บรักษาผลผลิตในตู้เย็น ซึ่งจะเก็บได้ในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิประมาณ 4-10องศาเซลเซียส

เพียงเท่านี้การเก็บผลผลิตมะเขือเทศที่เรารอคอยมานานก็สำเร็จ สามารถนำไปขายหรือนำไปแจกเป็นของขวัญก็ดูดีไม่แพ้ของขวัญชิ้นแพงๆที่ไหนเลย เพราะมะเขือเทศกล่องนี้มาจากการดูแลเอาใจใส่ ความอดทนพยายาม และไม่ยอมแพ้กับปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นกับมะเขือเทศในแปลงของเรา จนได้มะเขือเทศกล่องนี้มา

บทความที่เกี่ยวข้อง

จากสถานการณ์น้ำแล้ง ดร.โอภาส ตรีทวีศักดิ์ นักวิจัยศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์จึงได้มีแนวคิดพัฒนาเครื่องวัดความชื้นดินขึ้น เพื่อใช้ตรวจวัดความชื้นของดินเพื่อประเมินปริมาณการให้น้ำพืชได้อย่างเหมาะสม ตามความต้องการของพืชได้อย่างแม่นยำ พืชต้องการน้ำแต่ละช่วงการเจริญเติบโตไม่เท่ากัน พืชแต่ละชนิด
โรงเรือนอีแว๊ป (Evap) ย่อมาจาก Evaporative cooling system ช่วยลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนเหมาะสำหรับการปลูกพืช ผัก ผลไม้ ที่ต้องการดูแลเป็นพิเศษ จะช่วยเพิ่มผลผลิตให้สามารถออกผลได้ตลอดทั้งปี สะดวกในการดูแล สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเพาะปลูก รวมถึงลดความเสี่ยงผลผลิตเสียหายจากแมลงและฝน
ถ้าหากเกษตรกรเลือกทำการเพาะปลูกเมล่อนในช่วงที่มีอุณหภูมิต่ำ ให้เฝ้าระวังการระบาดของแมลงศัตรูพืชที่มีชื่อว่า “ หนอนชอนใบ ” ซึ่งเป็นศัตรูร้ายที่สร้างความเสียหายให้กับเมล่อนได้ในทุกระยะการเจริญเติบโต โดยลักษณะอาการเบื้องต้นที่สามารถพบเห็นได้ คือพบรอยเส้นสีขาวคดเคี้ยวไปมา ซึ่งเกิดจากตัวหนอนชอน