การใช้ระบบ GPS เพื่อระบุพิกัดแปลงอ้อยด้วยโทรศัพท์ (สมาร์ทโฟน)

อุตสาหกรรมการเกษตรกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายจากความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งสภาพอากาศที่ไม่แน่นอน (Climate Change) ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน แรงงานสูงวัย และต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เกษตรกรต้องพัฒนาศักยภาพในการทำการเกษตรให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพื่อเพิ่มผลผลิตควบคู่กับการลดต้นทุนการผลิต โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดอย่างคุ้มค่า และมีประโยชน์สูงสุดโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

ในอดีตกิจกรรมในไร่อ้อย เช่น การปรับระดับพื้นที่ การควบคุมระยะปลูกให้มีคุณภาพ การใส่ปุ๋ยให้เหมาะสมกับสภาพดิน เป็นงานที่ต้องอาศัยทักษะความชำนาญ และมีต้นทุนสูง ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีเกษตรแม่นยำได้เข้ามามีบทบาทเพื่อช่วยให้เกษตรกรทำงานได้รวดเร็วขึ้น

ระบบเกษตรแม่นยำสำหรับไร่อ้อยที่ได้พัฒนาขึ้นโดยใช้ระบบนำทางด้วยดาวเทียม (GNSS-Global Navigation Satellite System) ควบคู่กับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS-Geographic Information System) ในการควบคุมการทำงานของเครื่องจักรโดยใช้พิกัดอ้างอิงจากดาวเทียม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและการวางแผน การทำแผนที่และออกแบบแปลง การเก็บตัวอย่างดินและทำแผนที่ การควบคุมเครื่องจักรและตรวจสอบคุณภาพการทำงาน การปรับอัตราปุ๋ยให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ การให้น้ำตามความชื้นของดินและความต้องการของพืช และทำแผนที่ผลผลิต เป็นต้น

หลักการทำงาน

ดาวเทียมที่โคจรรอบโลกกระจายสัญญาณวิทยุระบุตำแหน่ง สถานะ เวลาของดาวเทียม สัญญาณดาวเทียมเดินทางในอวกาศด้วยความเร็วมากกว่า 299,000 กิโลเมตร/วินาที เครื่องรองรับสัญญาณดาวเทียมที่เครื่องจักรรับสัญญาณวิทยุและคำนวณระยะห่างจากดาวเทียมโดยจะต้องรับสัญญาณจากดาวเทียมอย่างน้อย 4 ดวง เพื่อคำนวณพิกัดแบบสามมิติ

ระดับความแม่นยำ

ระดับความแม่นยำของการระบุตำแหน่งด้วยสัญญาณดาวเทียมขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น สภาพอากาศ ความคลาดเคลื่อนนาฬิกา คุณภาพของเครื่องรับสัญญาณ ตัวอย่างเช่น ตำแหน่งโทรศัพท์มือถืออาจคลาดเคลื่อนในรัศมี 5 เมตร ถ้าใช้งานในสภาพอากาศเปิดไม่มีสิ่งกีดขวาง แต่หากใช้ในบริเวณอาคารอาจทำให้ระดับความคลาดเคลื่อนสูงขึ้น เป็นต้น

ระบบควบคุมเครื่องจักรกลการเกษตรต้องการระดับความแม่นยำที่สูงในการทำงาน ต้องใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพการรับสัญญาณและการประมวลผลที่ดีขึ้น จึงอาจทำให้มีราคาที่สูงกว่าอุปกรณ์ที่ใช้ตามท้องตลาดทั่วไป ซึ่งสามารถแบ่งระดับความคลาดเคลื่อนและรูปแบบการใช้งานเป็น 4 ระดับ ดังนี้

ส่วนประกอบ

1. อุปกรณ์ที่ติดตั้งบน รถแทรกเตอร์หรือเครื่องจักร

1.1 หน้าจอและเสารับสัญญาณดาวเทียม ทำหน้าที่รับข้อมูลจากสัญญาณดาวเทียมเพื่อประมวลผลแสดงตำแหน่งและทิศทางที่ รถแทรกเตอร์เคลื่อนที่ กำหนดรูปแบบการทำงาน เช่น การสร้างขอบเขตแปลงและคำนวณพื้นที่ การกำหนดระยะห่างแนวปลูก ผู้ใช้สามารถบันทึกข้อมูลเพื่อใช้ในการทำงานขั้นตอนต่อไปได้

1.2 ระบบควบคุมทิศทางการเคลื่อนที่ ทำหน้าที่ควบคุมทิศทางการเคลื่อนที่ของ รถแทรกเตอร์อัตโนมัติ เช่น เคลื่อนที่เป็นแนวเส้นตรง เป็นแนวเส้นโค้ง หรือเป็นแนววงกลม ระยะห่างระหว่างแถวปลูกสม่ำเสมอ สามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่สูงสุด ช่วยให้ผู้ใช้ทำงานสะดวกสบายอย่างมีคุณภาพ อีกทั้งยังช่วยขยายเวลาการทำงานต่อวันได้มากขึ้น เช่น การทำงานในช่วงเวลารุ่งสางหรือพลบค่ำ

2. สถานีภาคพื้นดิน RTK-Real Time Kinematic

สถานีภาคพื้นดินทำหน้าที่รับสัญญาณดาวเทียมแบบจลน์ได้ค่าพิกัดทันที ณ เวลาทำการรังวัดซึ่งมีตำแหน่งคงที่ รถแทรกเตอร์หรือเครื่องจักรจะรับสัญญาณสถานีภาคพื้นดินระบุตำแหน่งคงที่พร้อมกับสัญญาณดาวเทียม แล้วนำมาคำนวณพิกัดที่มีความแม่นยำสูง

3. โปรแกรมการออกแบบและการจัดการ 

ประโยชน์ที่สำคัญของการใช้งานระบบนำทางด้วยดาวเทียมนอกจากการควบคุมเครื่องจักรกลในไร่ คือ การนำข้อมูลมาใช้ในการประเมินและวิเคราะห์คุณภาพการทำงาน เพื่อการวางแผนและบริหารจัดการเครื่องจักรกลให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

กราฟแสดงผลการทำงาน

บทความที่เกี่ยวข้อง

การปรับระดับดินนา โดยเครื่องจักรกลปรับระดับดินนาด้วยแสงเลเซอร์ (Laser land leveling) เครื่องจักรกลปรับระดับดินนาด้วยแสงเลเซอร์ มีการพัฒนามาแล้วกว่า 30 ปี ในการปรับระดับดิน เพื่อการจัดการน้ำให้กระจายทั่วถึงทั้งแปลงและระบายออก โดยเครื่องมือในการปรับระดับดินนาด้วยแสงเลเซอร์ มีองค์ประกอบหลัก คือ
ภัยแล้งเป็นหนึ่งในปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมของประเทศไทย โดยปัญหาภัยแล้งเกิดจากหลายสาเหตุทั้งสาเหตุโดยธรรมชาติ เช่น การเปลี่ยนแปลงฤดูกาล และสาเหตุจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า ผลกระทบของภัยแล้งทำให้พืชขาดน้ำ การเจริญเติบโตหยุดชะงัก ปริมาณและคุณภาพผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ สร้างความ
ในที่สุดช่วงเวลาที่ทุกคนรอคอยก็มาถึง นั้นก็คือช่วงเวลาของการเก็บผลผลิตมะเขือเทศในแปลงปลูก ของเรานั้นเอง มะเขือเทศที่เราเฝ้าดูแลมานานหลายเดือนตั้งแต่เพาะเมล็ด ผลิดอกแรก จนถึงเก็บเกี่ยว เพื่อให้ ได้มะเขือเทศช่อสวย สีแดงสด ผลเต่งตึง รสชาติหวานอร่อย ถ้าใครได้ลองแล้วรับรองติดใจ ต้องกลับมาขอซื้อ ซ้ํากันเลย