วิธีแขวนผลเมล่อนสำหรับนักปลูกมือใหม่

การปลูกเมล่อนในโรงเรือน เราจะพันต้นเมล่อนที่เชือกขึ้นตามแนวดิ่ง จุดสำคัญที่ต้องระวัง คือการแขวนผลเมล่อนที่ถูกต้อง เพราะหากดำเนินการผิดเมื่อผลเมล่อนมีน้ำหนักมากขึ้น จะทำให้ไปดึงให้กิ่งแขนงที่ติดอยู่กับลูกพับลงหรือฉีกขาดได้ สารอาหารที่จะไปเลี้ยงผลก็ส่งไปไม่สะดวก ผิวผลเมล่อนก็อาจจะไปถูกับลำต้น ทำให้ผิวผลเมล่อนของเราไม่สวย การแขวนผลเมล่อนที่ถูกวิธีทำให้ผลได้รับแสง ห่างไกลโรค ผลสมบูรณ์ ผิวสวยงาม และสามารถจำหน่ายได้ราคาอีกด้วย

วิธีการแขวนผล และการคัดเลือก

ก่อนที่เราจะทำการแขวนผลเมล่อน เราต้องคัดเลือกผลเมล่อน โดยเราจะคัดผลที่ผิวสวย ไม่มีโรค และแมลง รูปทรงไข่ เป็นผลสมบูรณ์ที่สุดในต้น ส่วนมากผลที่เราคัดเลือกจะอยู่ระหว่างข้อที่ 9-10 เมื่อคัดได้ผลที่ดีที่สุดแล้ว ควรตัดที่เหลือทิ้งให้เหลือเพียงแค่ผลเดียวเท่านั้น เพื่อให้ผลเจริญเติบโตได้เต็มที่ และ   ง่ายต่อการจัดการดูแลรักษา

1. ให้เลือกผลที่มีรูปทรงรีคลายไข่ไก่ เป็นผลที่สมบูรณ์ มีขนาดใหญ่ และไร้รอยขีดข่วน

2. ทำการผูกโยงเชือกสำหรับแขวนผลกับค้างให้แน่นโดยใช้เชือกที่ยาวเท่ากับเชือกโยงต้น ขนาดเชือกแขวนผลควรมีขนาดไม้น้อยกว่า 3 มิลลิเมตร และใช้เชือกคล้องที่ขั้วผลเพื่อรองรับน้ำหนัก โดยสามารถใช้การผูกเชือกเป็นห่วง หรือใช้ตัวคล้องผลพลาสติกก็ได้

3. การแขวนผล ควรแขวนให้ผลตั้งฉากกับลำต้นเมล่อนเพื่อป้องกันการหักพับหรือฉีกขาดของก้านผล และทำให้สารอาหารเคลื่อนย้ายได้สะดวก มีความสวยงาม ระดับความสูงการแขวนลูกให้เสมอกับข้อที่ติดลูก

4. ใบที่สมดุลต่อการเลี้ยงผล 1 ผล คือประมาณ 20-25 ใบ (ในฤดูร้อน) ส่วนในฤดูฝน ฤดูหนาว ควรไว้ใบ 25-30 ใบ เนื่องจากแสงแดดฤดูหนาวจะน้อยกว่าฤดูร้อน เมื่อใบมีมากพอตามความต้องการก็ให้ตัดปลายยอดของต้นเมล่อนทิ้งไป เพื่อหยุดการเจริญเติบโตส่วนบน และใบด้านล่างควรตัดออกประมาณ 3-5 ใบ เพื่อความโปร่งและไม่เป็นที่สะสมของเชื้อโรค แมลงต่างๆ

5. ภายหลังที่ผสมเกสร 18 วัน ควรเพิ่มความเข้มข้นของปุ๋ยและปริมาณน้ำ เพื่อให้ผลเจริญเติบโตได้เต็มที่ และเสริมด้วยการฉีดพ่นธาตุแคลเซียม โบรอน เพื่อช่วยส่งเสริมความแข็งแรงเซลล์พืช สามารถป้องกันไม่ให้ผล เถา และผลเมล่อนแตกได้ง่าย อัตรา 1-2 ซีซีต่อน้ำ 1 ลิตร รวมกับสารจับใบที่มีประสิทธิภาพ พ่นทุกๆ 5-7 วัน จนครบอายุช่วงก่อนจะทำหวาน

การจัดการเมล่อน มีความละเอียด และต้องใส่ใจในทุกๆ ขั้นตอน เพื่อให้เกิดผลผลิตที่มีคุณภาพ ส่งเสริมให้สามารถจำหน่ายได้ในราคาที่สูง คุ้มค่ากับการลงทุน 

บทความที่เกี่ยวข้อง

จากสถานการณ์น้ำแล้ง ดร.โอภาส ตรีทวีศักดิ์ นักวิจัยศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์จึงได้มีแนวคิดพัฒนาเครื่องวัดความชื้นดินขึ้น เพื่อใช้ตรวจวัดความชื้นของดินเพื่อประเมินปริมาณการให้น้ำพืชได้อย่างเหมาะสม ตามความต้องการของพืชได้อย่างแม่นยำ พืชต้องการน้ำแต่ละช่วงการเจริญเติบโตไม่เท่ากัน พืชแต่ละชนิด
ปรับขยายแปลงนา ได้พื้นที่นาปลูกข้าวเพิ่มขึ้นจากคันนาที่หายไป ประหยัดเวลาทำงาน ลดค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิง อีกทั้งยังช่วยลดการสึกหรอของเครื่องจักรกลการเกษตรได้อีกด้วย พี่ลีณวัฒน์ คำภาเกะ นักปรับนามืออาชีพ ปรับมาแล้วกว่า 3,000 ไร่ บอกว่า การปรับขยายแปลงนานั้นใครๆ ก็ทำได้เพียงแค่มีแทรกเตอร์ แต่ทำได้ดี
ดินลูกรัง (Skeletal soils)หมายถึง ดินที่พบชั้นลูกรัง ชั้นกรวด ชั้นเศษหิน หรือชั้นหินพื้นในระดับตื้นกว่า 50 เซนติเมตร จากผิวดิน เนื้อดินบนเป็นดินทรายปนดินร่วนถึงดินร่วนปนทราย อาจพบกรวด หินมนเล็ก หรือเศษหินปะปน จึงทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของพืช ดินลูกรังเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ