วนเกษตร คืออะไร? วิถีเกษตรยั่งยืน ผสานการทำนากับปลูกป่าผสม

วนเกษตร คืออะไร? วิถีเกษตรยั่งยืน
ผสานการทำนากับปลูกป่าผสม

วนเกษตร คืออะไร? วิถีการเกษตรแบบยั่งยืน หรือที่รู้จักกันในนามวิถีการเกษตรแบบใหม่เชิงยั่งยืน
ที่ได้ประโยชน์แบบหมุนเวียนมากขึ้นนั้น ทำไมถึงเป็นที่นิยมมากขึ้นในหมู่เกษตรกรซึ่งวนเกษตรนั้นมีประโยชน์อย่างไร และมี่กี่รูปแบบ คำตอบของทุกคำถามเหล่านี้ KUBOTAได้ทำการสรุปให้เรียบร้อยแล้วในบทความนี้ 

วนเกษตร คืออะไร

วนเกษตร (Agroforestry) คือรูปแบบการทำเกษตรที่จัดสรรพื้นที่ให้ใช้งานได้แบบผสมผสานอย่างเหมาะสมให้ใกล้เคียงกับระบบนิเวศป่าธรรมชาติที่สุด โดยในหนึ่งพื้นที่จะมีการผสมผสานหลายอย่างเข้าด้วยกัน
ทั้งการปลูกพืชผลทางการเกษตร การปลูกไม้ป่า การเลี้ยงสัตว์ การทำประมง และการเลี้ยงสัตว์น้ำ
ที่ไม่ใช่แค่การทำนาหรือปลูกป่าแบบเดี่ยว ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการสร้างความสมดุลต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ ไปจนถึงสังคมในระยะยาว

วนเกษตร มีข้อดีอะไรบ้าง

การทำวนเกษตร มีข้อดีหลัก ๆ ที่ตอบโจทย์และเป็นประโยชน์กับทั้งพืช คน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ดังนี้

1. รักษาสภาพแวดล้อมและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ เนื่องจากวนเกษตร
คือการที่รวมเอาพืชที่หลากหลายและสัตว์ต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน ทำให้เกิดความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ
มากขึ้น

2. เพิ่มปริมาณผลผลิต เพราะการทำเกษตรแบบวนเกษตรจะทำให้เกิดการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
ของธาตุอาหารต่าง ๆ ที่พืชและต้นไม้ต้องการ รวมไปถึงแสงแดดที่ส่องมาถึง และปริมาณน้ำในดิน
ที่เพียงพอ อีกทั้งยังนำมูลสัตว์มาเป็นปุ๋ยได้ เพื่อให้ได้รับสารอาหารและแสงแดดในปริมาณที่พอเหมาะ
ทำให้พืชและต้นไม้เจริญเติบโตได้เต็มที่

3. อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งพันธุ์พืช และสัตว์ เนื่องจากวนเกษตรคือพื้นที่เดียว
ที่รวมพืช ต้นไม้ และสัตว์ต่าง ๆ ไว้ในที่เดียวกัน ทำให้เป็นการอนุรักษ์ทั้งหมดนี้พร้อมกันทีเดียว

4. ลดการบุกรุกป่า พัฒนาพื้นที่ป่ากับการเกษตรให้อยู่ร่วมกันได้ เพราะเมื่อพื้นที่ป่าถูกรวมเข้ากับพื้นที่การเกษตรก็จะทำให้ผู้ที่ตั้งใจมาบุกรุกไม่กล้าลุยเข้าทำลายพื้นที่ที่มีจุดมุ่งหมายในการสร้างผลผลิตและความยั่งยืน

ภาพจาก IFAS

วนเกษตร มีกี่รูปแบบ

การทำวนเกษตรหรือการเกษตรแบบที่รวมเอาพืช ต้นไม้ และสัตว์มาไว้ด้วยกันนั้น สามารถทำได้
หลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละแบบจะมีความแตกต่างกันที่ลักษณะของพื้นที่และสิ่งเอื้ออำนวยต่าง ๆ
ที่ต้องพิจารณาให้ดีก่อนทำวนเกษตร โดยมีหลัก ๆ 5 แบบดังต่อไปนี้

1.    วนเกษตรแบบบ้านสวน

เป็นการปลูกต้นไม้และพืชผลหลายชั้นความสูง โดยเน้นปลูกไม้ผลที่ให้ผลที่กินได้ และไม้สำหรับใช้
ในครัวเรือนเพื่อมาทำเป็นไม้ฟืนและถ่าน พืชสมุนไพร และผักสวนครัว เช่น ชมพู่ น้อยหน่า ตะไคร้ มะรุม มะยม กระถิน ซึ่งวนเกษตรประเภทนี้เหมาะกับพื้นที่ในการทำวนเกษตรแบบมีจำกัด เช่นในสวนหลังบ้าน

2.    วนเกษตรที่มีต้นไม้แทรกในไร่นาหรือทุ่งหญ้า

การทำวนเกษตรแบบมีต้นไม้แทรกในไร่นาหรือทุ่งหญ้า จะเหมาะกับพื้นที่ที่มีลักษณะทั้งสูงและต่ำ โดยจะทำการปลูกต้นไม้เสริมในที่ที่ไม่เหมาะสมกับพืชผล เช่นที่เนิน หรือที่ที่มีน้ำขัง และปลูกพืชในที่ราบหรือ
ที่ที่ไม่สม่ำเสมอ

3.    วนเกษตรที่มีต้นไม้ล้อมไร่นา

คือวนเกษตรที่มีต้นไม้ล้อมไร่บริเวณพื้นที่ราบลุ่ม หรือการปลูกต้นไม้ล้อมพื้นที่นาข้าว ซึ่งเป็นที่ที่มีลมแรงและพืชผลมีโอกาสได้รับความเสียหายจากลมพายุโดยตรง การปลูกต้นไม้โตเร็วยืนต้นล้อมรอบคันนา
จะเพิ่มความชุ่มชื้น บังแดด บังลมให้กับนาข้าวนั่นเอง โดยต้องระวังไม่ให้ต้นไม้แต่ละต้นที่ล้อมรอบชิดกัน
มากเกินไป

4.    วนเกษตรที่มีแถบต้นไม้และพืชผลสลับกัน

คือวนเกษตรที่เหมาะกับพื้นที่ที่มีความลาดชันเป็นแนวยาว มีน้ำไหลเซาะดินมาก โดยทำแถบต้นไม้ซึ่งปลูกไว้สองถึงสามแถวสลับกับพืชผลเป็นช่วง ๆ ปลูกขวางความลาดชัน เพื่อช่วยรักษาหน้าดินและในอนาคต
จะทำให้เกิดขั้นบันไดดินแบบธรรมชาติให้กับพื้นที่ไปยาว ๆ

5.    วนเกษตรใช้พื้นที่หมุนเวียนปลูกไม้ยืนต้น พืชผล และเลี้ยงสัตว์

เป็นการทำวนเกษตรที่เหมาะกับพื้นที่ที่มีขนาดกลาง-ขนาดใหญ่ ซึ่งมีพื้นที่พอสำหรับทั้งปลูกพืชผล
เป็นแปลงหมุนเวียน มีแปลงไม้ยืนต้น และมีการเลี้ยงสัตว์แบบหมุนเวียนเพื่อฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์
ให้กับระบบนิเวศและผืนดินแบบครบสูตร

วนเกษตรเหมาะกับใครบ้าง

วนเกษตร คือการทำการเกษตรที่เหมาะสำหรับทุกคนที่มีพื้นที่ทำการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ที่มีขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ก็สามารถเริ่มทำได้ทั้งนั้น โดยสามารถเลือกวิธีทำวนเกษตรให้เหมาะสมกับลักษณะและพื้นที่ของตนเอง ซึ่งใครก็สามารถทำได้ ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร เจ้าของฟาร์ม เจ้าของที่ดิน ฯลฯ โดยการทำ
วนเกษตรจะช่วยเพิ่มความหลากหลายให้กับผลผลิต และสร้างกำไรจากพื้นที่ที่ตนเป็นเจ้าของได้มากขึ้น
อีกด้วย

สรุปทั้งหมด เกี่ยวกับวนเกษตร

วนเกษตร คือการสร้างความยั่งยืนในระยะยาวที่มีประโยชน์กับทั้งธรรมชาติ สิ่งมีชีวิต พืชและต้นไม้ต่าง ๆ รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมและสังคม เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับเกษตรกรยุคใหม่ ที่สามารถทำได้หลายรูปแบบ
ทั้งในพื้นที่จำกัด พื้นที่กว้าง พื้นที่ที่มีหน้าดินเรียบ และพื้นที่ที่เป็นที่ลาด โดยมีขั้นตอนที่แตกต่างกัน
ที่ต้องศึกษาให้ละเอียดก่อนลงมือทำนั่นเอง

สำหรับเกษตรกรท่านใดที่ต้องการทราบข้อมูลความรู้ที่จำเป็นต่อการทำการเพาะปลูกและการทำเกษตร
ให้ได้ผลลัพธ์ที่ยั่งยืน ต้องอย่าลืมติดตามความรู้ด้านการเกษตรยุคใหม่ได้ทุกสัปดาห์ที่เว็บไซต์ KAS Kubota (Argi) Solution คลังความรู้เพื่อเกษตรกรไทยทุกคน หรือหากต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องจักรกลการเกษตรที่จะช่วยทุ่นแรงการทำวนเกษตรของคุณ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่
คลิกเลย

อ้างอิงข้อมูล: ม.เกษตรศาสตร์, สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้, ม.อุบลราชธานี, USDA, Bio100, ATSAP

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

จากการสำรวจพื้นที่ และหาข้อมูลประกอบด้านต่าง ๆ จึงกำหนดขนาดสระที่จะดำเนินการขุด ด้วยรถขุดคูโบต้า รุ่น KX080-3 ขนาด 8 ตัน ให้มีพื้นที่กักเก็บน้ำขนาด 40x20x2.5 เมตร ความสูงของคันดินขอบสระ 1.5 เมตร ความกว้าง 5 เมตร และความจุสระประมาณ 1,350 ลูกบาศก์เมตร สภาพพื้นที่เป็นที่ลุ่มสุดของ
ศูนย์การเรียนรู้อีกแห่งที่เราอยากแนะนำก็คือ ศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ข้าว) ซึ่งอยู่ใกล้แค่จังหวัดสุพรรณบุรีนี่เอง ที่เกิดจากความตั้งใจของคุณสุกรรณ์ สังข์วรรณะ ที่นี่ได้เปิดพื้นที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ทางการเกษตรผสมผสานตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้แก่เกษตรกรทั่วไปรวมถึง
เราจะพาทุกคนร่วมเดินทางไปเรียนรู้การทำเกษตรแบบอินทรีย์ ณ ไร่รื่นรมย์ ตำบลงิ้ว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย พื้นที่ที่โอบล้อมด้วยขุนเขา มีการทำเกษตรอินทรีย์ทั่วพื้นที่ และเรียนรู้ที่จะอยู่กับชุมชนด้วยความเข้าใจ เติบโตไปกับชุมชน ผ่านการออกแบบพื้นที่ พัฒนาและต่อยอดสินค้าเกษตรต่างๆ มากมาย หัวใจของการทำเกษตร