โรครากหรือหัวเน่า

โรครากและหัวเน่าเป็นโรคที่มีความสำคัญมาก ทำให้ผลผลิตสูญเสียโดยตรง โดยเฉพาะในแหล่งที่ดินระบายน้ำได้ยาก ฝนตกชุกเกินไปหรือในพื้นที่ที่เคยปลูกกาแฟ ยาง หรือเป็นป่าไม้มาแล้ว

ในบางครั้งสามารถพบได้ในแหล่งที่ดินมีการชะล้างสูง โรคนี้สามารถเกิดได้ทั้งระยะต้นกล้า และระยะที่ลงหัวแล้ว โรครากและหัวเน่าเกิดจากเชื้อราสาเหตุหลายชนิด พบว่า สาเหตุของโรครากเน่ามีเชื้อรา 36 ชนิด บักเตรี 4 ชนิด และ Phytomonas 1 ชนิด ทำให้ยากแก่การวินิจฉัย สำหรับเชื้อราสาเหตุที่สำคัญ คือ เชื้อราในสกุล Fusarium spp. Diplodia spp. Phytophthora sppโดยเฉพาะอย่างยิ่งP. drechsleri และ Pythium spp. ในประเทศไทย เท่าที่สำรวจพบมีอยู่ 3 ชนิด คือ

โรคหัวเน่าและ (Phytophthora Root Rot หรือ Wet Rot)

เชือสาเหตุ Phytophtora drechsleri เชื้อโรคนี้จะเกิดกับมันสำปะหลังทั้งในระยะกล้าและลง

หัวแล้ว มักจะพบในบริเวณที่ดินมีระบบระบายน้ำยาก และอยู่ใกล้กับทางน้ำหรือคลอง โรคนี้อาจความเสียหายถึง 80 เปอร์เซ็นต

ลักษณะอาการ ถ้าเกิดกับต้นยังเล็กอยู่จะทำให้รากเป็นรอยชําสีน้ำตาลและเน่ า ต้นจะเหี่ยวเฉา

ถ้าเกิดกับหัวจะทำให้หัวเน่าอย่างรวดเร็ว และมีกลิ่นเหม็น ใบเหี่ยวแล้วร่วง ถ้าเกิดรุนแรงต้นจะตายมีรายงานในอัฟริกาและอเมริกาใต้ว่า โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Phytophthora ชนิดอื่น ๆ อีกคือ  P.erythoseptica และ P. cryptogea

บทความที่เกี่ยวข้อง

ชุดดินในที่ดอนที่สำคัญ ในภาคกลาง 6. ชุดดินกำแพงแสน (Kamphaeng Saen series : Ks) กลุ่มชุดดินที่ 33 การกำเนิด : เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนเนินตะกอนรูปพัด สภาพพื้นที่ : ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 1-5 % การระบายน้ำ : ดี การซึมผ่านได้ของน้ำ : ปานกลาง
การทำนาเปียกสลับแห้ง จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการทำนา ยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวนาให้ดีขึ้น พร้อมตอบโจทย์การทำนาแบบรักษ์โลก ซึ่งการทำนาเปียกสลับแห้งทำอย่างไร มีข้อดีแบบไหน ศึกษาการเป็นชาวนารักษ์โลกไปพร้อมกับ KAS ได้ในบทความนี้
การเพาะเมล็ดเป็นวิธีการขยายพันธุ์แบบใช้เพศ ซื่งส่วนของเมล็ดนั้นได้มาจากการผสมของเกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมีย เมื่อผสมติดแล้วดอกจะฝ่อและติดเมล็ด รอจนเมล็ดแก่ก็สามารถนำมาเพาะเป็นต้นต่อไปได้ การเพาะเมล็ดทำได้ครั้งละจำนวนมาก และต้นใหม่ที่ได้อาจไม่เหมือนต้นแม่ จึงเหมาะกับความต้องการคัดเลือกสายพันธุ์ใหม่ๆ