เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการจัดการดินเปรี้ยวเพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน

การเตรียมกล้าพันธุ์ปาล์มน้ำมัน :

ควรเลือกต้นกล้าปาล์มน้ำมันที่แข็งแรง สมบูรณ์ มีอายุประมาณ 12-14 เดือน ทำการขนย้ายด้วยความระมัดระวังและนำไปปลูกในพื้นที่ที่เตรียมไว้

การปลูกปาล์มน้ำมัน :

กำหนดระยะปลูกปาล์มน้ำมัน ถ้าคันดินปลูกปาล์มกว้าง 5-6 เมตร แนะนำให้ปลูกแถวเดียวตรงกลางร่อง มีระยะปลูก 8×8 ตารางเมตร หรือ 9×9 ตารางเมตร และถ้าคันดินปลูกปาล์มกว้าง 8 เมตร แนะนำให้ปลูกแถวคู่สลับฟันปลา มีระยะปลูก 8×8 ตารางเมตร หรือ 9×9 ตารางเมตร เช่นเดียวกัน

ขั้นตอนการปลูกปาล์มน้ำมัน :

  • ใส่ปุ๋ยรองก้นหลุมเพื่อเป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน โดยรองก้นหลุมด้วยร็อกฟอสเฟตในอัตรา 250-500 กรัมต่อหลุม หลังจากที่ใส่โดโลไมท์และปุ๋ยหมักลงในหลุมประมาณ 2 ใน 3
  •  คลุกเคล้าดินกับปุ๋ยเพื่อป้องกันการสัมผัสของรากโดยตรง
  • คลุมดินด้วยฟางข้าวหรือใบหญ้าแฝก หรือปลูกพืชตระกูลถั่ว คลุมบริเวณโคนต้น ช่วยรักษาความชื้นในดินและรดน้ำให้ชุ่ม
  • การตรวจแปลงหลังจากการปลูก เพื่อให้แน่ใจว่าต้นกล้าอยู่ในสภาพเดิม ต้นใดที่ยังอัดดินไม่แน่นหรือถูกลมพัดโยก ต้องทำหลักแล้วผูกให้แน่น
  • การปลูกซ่อม ควรเตรียมต้นกล้าปาล์มน้ำมันสำรองไว้ประมาณ 5% ของต้นกล้าทั้งหมด การซ่อมควรทำภายในระยะเวลา 1 เดือน

การดูแลรักษา :

กำจัดวัชพืช โดยเครื่องตัดหญ้าและแรงงานคน

ควบคุมระดับน้ำในร่องให้มีความสม่ำเสมอ ให้น้ำทุกวันในช่วงแรกปลูก โดยให้น้ำระบบสปริงเกลอร์หรือให้น้ำแบบใช้เรือพ่น

การให้น้ำสปริงเกลอร์นั้น ต้องมีสระน้ำขนาดใหญ่เก็บไว้ในช่วงฤดูแล้งโดยต่อท่อวางระบบให้น้ำแบบสปริงเกลอร์ โดยใช้หัวฉีด 1 หัวในช่วงแรกของการเจริญเติบโตปีที่ 1-2 และใช้หัวฉีด 2 หัวต่อต้นในปีที่ 3 เนื่องจากปาล์มน้ำมันเจริญเติบโตเต็มที่เริ่มให้ผลผลิต มีความต้องการน้ำปริมาณมาก

การใช้ทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันไปคลุมดินบริเวณโคนต้นปาล์ม เมื่อย่อยสลายจะช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน และช่วยรักษาความชื้นของดินได้อีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

การผลิตอ้อยมีหลายกิจกรรมที่ใช้แรงงานมาก และเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีนั้นจำเป็นต้องบริหารจัดการแต่ละกิจกรรมให้ทันเวลา แต่ปัจจุบันปัญหาการขาดแคลนแรงงานไร่อ้อยทวีความรุนแรงมากขึ้น หากจะบริหารจัดการในไร่อ้อยให้มีประสิทธิภาพจะใช้แต่แรงงานคนนั้นอาจไม่ทันเวลา เครื่องจักรกลการเกษตรจึงเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งที่
ระยะการเจริญเติบโตของข้าว มีกี่ระยะ? คำถามคู่เกษตรกรปลูกข้าวมือใหม่ เพราะการปลูกข้าวไม่ใช่เพียงแค่หว่านแล้วจบ แต่จำเป็นต้องศึกษาระยะการเจริญเติบโตของข้าวให้ครบถ้วน เพื่อให้ได้ต้นข้าวคุณภาพดีที่พร้อมเก็บเกี่ยวได้ตามระยะเวลาที่กำหนด ถ้าอยากรู้แล้วว่าระยะการเจริญเติบโตของข้าว มีกี่ระยะ KUBOTA (Agri) Solutions สรุปมาให้แล้วในบทความนี้
ชุดดินในที่ดอนที่สำคัญ ในภาคกลาง 6. ชุดดินกำแพงแสน (Kamphaeng Saen series : Ks) กลุ่มชุดดินที่ 33 การกำเนิด : เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนเนินตะกอนรูปพัด สภาพพื้นที่ : ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 1-5 % การระบายน้ำ : ดี การซึมผ่านได้ของน้ำ : ปานกลาง