วิธีปลูกขมิ้นชันอย่างไร ให้ได้สารสำคัญสูง ที่มีฤทธิ์ต้าน COVID-19

ขมิ้นชัน จากการศึกษาในหลอดทดลอง พบว่ามีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอในการป้องกันไม่ให้เชื้อเข้าเซลล์ ยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัส และช่วยยับยั้งการหลั่งสารอักเสบ ทั้งนี้จากการจำลองภาพสามมิติในคอมพิวเตอร์ พบว่าสารสำคัญของขมิ้นชัน และ demethoxycurcumine สามารถแย่งจับกับตำแหน่งของไวรัสโควิด-19 ที่มีผลยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสได้ ทำให้เกษตรหลายคนหันมาปลูกขมิ้นชัน แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ซึ่งขมิ้นชันนั้นปลูกง่าย ถึงแม้จะมีแค่เหง้าเดียวก็สามารถขยายพันธุ์และปลูกได้แล้ว 

ลักษณะทั่วไป 

เป็นไม้ล้มลุก มีลำต้นใต้ดินประเภทไรโซม (Rhizome) ลักษณะเป็นเหง้าแง่งค่อนข้างกลม มีแง่งนิ้วแตกออก 2 ข้าง เป็นข้อปล้องสั้น ๆ เหง้าอ่อนสีเหลืองอ่อนออกขาว แก่สีน้ำตาลอมส้ม เลื่อมมัน ดำรงชีวิตอยู่ได้ข้ามปีหรือหลายปี ส่วนลำต้นเหนือดินกลมแบนกาบใบใหญ่หนาเรียงสลับซ้อนทับขึ้นไป และแตกต้นใหม่หลายต้นเป็นกอสูง เจริญได้ดีในฤดูฝนและโทรมแห้งตายในฤดูหนาว ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่อยู่ที่ปลายกาบ ดอกออกมาจากกลางลำต้นสีขาว รากส่วนใหญ่จะหนาแน่นบริเวณโคนลำต้น

พันธุ์ที่นิยมปลูก ;

ขมิ้นสีทอง ขมิ้นด้วง ขมิ้นแดงสยาม พันธุ์ที่กรมวิชาการเกษตร แนะนำได้แก่ พันธุ์ตรัง 1 และพันธุ์ตรัง 2

การปลูก  

เจริญได้ดีในดินร่วนอุดมสมบูรณ์สูงชอบอากาศค่อนข้างร้อนและมีความชุ่มชื้นในเวลากลางคืน ช่วงฤดูการปลูก ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ขยายพันธุ์โดยใช้เหง้าหัวหรือแง่งนิ้วที่มีตา 2 – 3 ตา

วิธีการปลูก

1.การเตรียมดิน

โดยการไถพรวนดิน ตากดินไว้ 1-2 สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยคอก 4 ตันต่อไร่ หากพื้นที่ปลูกเป็นที่ลุ่ม ยกร่องแปลงกว้าง 1-2 เมตร สูง 15-25 เซนติเมตร ระยะระหว่างร่อง 50-80 เซนติเมตร

2.การเตรียมพันธุ์ 

-การปลูกโดยใช้หัวแม่ ให้หัวแม่มีน้ำหนัก 15-50 กรัม ใช้ 1 หัวต่อหลุม หากหัวพันธุ์ มีขนาดใหญ่มาก ให้ตัดเป็นท่อนๆ มีตาติดอยู่ไม่น้อยกว่า 2 ตา 

– การปลูกโดยใช้แง่ง น้ำหนัก 10 กรัม และมีตา 2 – 3 ตาต่อแง่ง โดยใช้ 2 – 3 แง่งต่อหลุม และใช้ใบพลู เปล้าน้อย และต้นตะไคร้หอม บดแห้ง อัตรา 10,000 ppm คลุกกับหัวพันธุ์ก่อนปลูก

3.การปลูก

-โดยขุดหลุมปลูกลึก 10-15 เซนติเมตร รองก้นหลุมปลูกด้วยปุ๋ยคอก 200-300 กรัม และวางหัวพันธุ์ในหลุมปลูก กลบดินหนา 5-10 เซนติเมตร ให้เว้นระยะปลูก 35×50 เซนติเมตร

4.การดูแลรักษา

การใส่ปุ๋ย หากปลูกขมิ้นชัน 2 ปีใส่ปุ๋ยคอก 300 – 500 กรัมต่อหลุม โดยใส่รอบโคนต้น

การให้น้ำ ในระยะแรก ให้น้ำอย่าง สม่ำเสมอจนกว่าพืช จะตั้งตัวได้ จากนั้นให้น้ำน้อยลงจนถึงระยะหัวเริ่มแก่  และงดให้น้ำในระยะเก็บเกี่ยว

5.ศัตรูพืชที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

 โรคเหี่ยว ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ต้นมีอาการใบเหลือง ต้นเหี่ยว หัวเน่าและมีเมือก สีขาวข้น ซึมออกมาตรงรอยแผล ป้องกันกำจัดโดยใช้หัวพันธุ์ที่ปลอดโรค การปลูกพืชหมุนเวียน เช่น ข้าว ข้าวโพด การขุดต้นที่เป็ นโรคเผาทำลาย และโรยปูนขาวบริเวณหลุมปลูกที่ขุด 

– เพลี้ยแป้ง โดยตัวอ่อนจะดูดน้ำเลี้ยง เข้าทำลายตามรากและแง่งในระดับผิวดิน ทำให้บริเวณที่ถูกทำลายจะเห็นเป็นผงแป้งเกาะติดอยู่ ป้องกันกำจัดโดยใช้แมลงช้างปีกใส อัตรา 200 –500 ตัวต่อไร่และฉีดพ่นด้วยสารสะเดา2

6.การเก็บเกี่ยว

ระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมและมีสารสำคัญสูงเมื่ออายุ 9 – 10 เดือนขึ้นไป โดยจะสังเกตเห็นลำต้นเหนือดินแสดงอาการเหี่ยวแห้งสนิท หลีกเลี่ยงการเก็บในระยะที่ขมิ้นชันเริ่มแตกหน่อ เพราะจะทำให้มีสาร curcumin ต่ำ

การใช้ประโยชน์ 

ใช้เป็นเครื่องเทศปรุงอาหาร แต่งสี กลั่นน้ำมันหอมระเหยเพื่อประกอบเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สปา เป็นส่วนผสมหลักในลูกประคบ ทำสีย้อมผ้า ในทางการเกษตรใช้ไล่และกำจัดแมลง

สารสำคัญและสรรพคุณ

เหง้าขมิ้นมีองค์ประกอบหลักที่สำคัญอยู่ 2 ชนิด คือ น้ำมันหอมระเหย หรือ termeric oil และสารที่ให้สีเหลือง curcuminoid ซึ่งขมิ้นชันที่ดี ต้องมีปริมาณเคอร์คูมินอยด์ คำนวณเป็นเคอร์คูมิน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก และน้ำมันหอมระเหยไม่น้อยกว่าร้อยละ 6 โดยปริมาตรต่อน้ำหนัก ตามมาตรฐานของตำรับยาสมุนไพรไทย หรือไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 และร้อยละ 4 ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก

บทความที่เกี่ยวข้อง

การปลูกพืชในพื้นที่ดินเค็มควรเลือกชนิดพืชให้เหมาะสม เนื่องจากพืชแต่ละชนิดทนเค็มได้ไม่เท่ากัน สำหรับการจัดการดินเค็มเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจทนเค็ม ควรปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ เช่น แกลบดิบ ขี้เถ้าแกลบ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยพืชสด การให้น้ำควรให้แบบระบบน้ำหยด จะช่วยควบคุมความชื้นดินและความเค็มของ
การพัฒนาพันธุ์มันสำปะหลัง (ข้าว) เหนียวของไทย สำหรับอุตสาหกรรมแป้งและเพื่อการส่งออก การพัฒนาพันธุ์มันสำปะหลัง(ข้าว) เหนียวของไทย สำหรับอุตสาหกรรมแป้งและเพื่อการส่งออก จากปริมาณความต้องการและคุณสมบัติของแป้ง ประกอบกับศักยภาพของวิทยาศาสตร์เกษตรในปัจจุบัน นักวิชาการจาก International Center for Tropical
ชุดดินในที่ลุ่มที่สำคัญ ในภาคกลาง 2. ชุดดินนครปฐม (Nakhon Pathom series : Np) กลุ่มชุดดินที่ 7 การกำเนิด : เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนที่ราบตะกอนน้ำพาหรือตะพักลำน้ำ สภาพพื้นที่ : ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2 % การระบายน้ำ : ค่อนข้างเลว การซึมผ่านได้ของน้ำ : ช้า การไหลบ่าของน้ำ