ลดต้นทุนด้วยการปลูกอ้อยน้ำน้อย

การปลูกอ้อยน้ำน้อย เป็นวิธีการปลูกอ้อยที่ทางสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.) ศึกษาดูงานจากต่างประเทศและทำการวิจัยเพื่อปรับให้สามารถใช้งานได้กับสภาพแวดล้อมของประเทศไทย โดยหลักการคือ ต้องการบริหารจัดการน้ำภายในแปลงอ้อยให้เกิดประโยชน์สูงสุด จากข้อมูลสถิติที่ทาง สสนก. ศึกษาพื้นที่ ต.ซับสมบูรณ์  อ. วิเชียรบุรี จ. เพชรบูรณ์ มีปริมาณน้ำต้นทุน (ปริมาณน้ำที่มี ภายในพื้นที่ ทั้งแหล่งน้ำบนดินและใต้ดิน) ซึ่งมีปริมาณมากกว่าปริมาณความต้องการน้ำถึง 1 ล้าน ลบ.ม. ในระยะเวลาตลอดทั้งปี แต่กลับพบว่ามีช่วงเวลาที่ขาดแคลนน้ำติดต่อกัน 5 เดือน จึงเป็นเหตุผลที่ทาง สสนก. ต้องหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการน้ำต้นแบบภายในพื้นที่ต.ซับสมบูรณ์ อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์

หลักการ : ใช้เทคนิคการกักเก็บน้ำภายในแปลงไร่อ้อย โดยใช้การฝังท่อน้ำเพื่อกักเก็บน้ำตามจุดต่างๆ  ในแปลงอ้อย  ซึ่งทำให้ลดการสูญเสียน้ำจากการไหลบ่าและการระเหยจึงทำให้ประหยัดน้ำในการเพาะปลูก

ขั้นตอนการดำเนินงาน 

ขั้นที่ 1 ศึกษาพื้นที่จากแผนที่ เริ่มจากการศึกษาแผนที่ของชุมชน หรือ แผนที่แปลงไร่อ้อย (แผนที่จากดาวเทียม) เพื่อทำการวิเคราะห์หาทางน้ำธรรมชาติ และระดับเส้นชันความสูง (Contour) ของภูมิประเทศ

ขั้นที่ 2 การสำรวจวัดระดับเส้นชันความสูง (Contour) โดยคนเดินสำรวจ และใช้อุปกรณ์สำรวจภาคพื้นดิน เพื่อตรวจเช็คระดับความสูงและความลาดเอียงของพื้นดินแต่ละจุด เพื่อเปรียบเทียบกับแผนที่จากดาวเทียมอีกครั้ง

ขั้นที่ 3 การวางตำแหน่งท่อซีเมนต์กักเก็บน้ำ เมื่อทำการเปรียบเทียบ ค่า Contour จากแผนที่ดาวเทียวกับค่าของการปฏิบัติ จากนั้นวางแผนการติดตั้งตำแหน่งของท่อซีเมนต์กักเก็บน้ำ โดย 1 ไร่ สามารถวางท่อได้ประมาณ 3 – 6 ท่อ ขึ้นอยู่กับความลาดชันและน้ำชั้นใต้ผิวดิน และ พยายามวางตำแหน่งท่อซีเมนต์กักเก็บน้ำและร่องดักน้ำที่ทำจากท่อพีวิซีให้น้ำไหลผ่านท่อพีวีซีและลงมากักเก็บในท่อซีเมนต์ให้มากที่สุด โดยรัศมีการกระจายความชื้นของท่อซีเมนต์จะอยู่ประมาณ 15 เมตรแต่ละท่อจึงวางห่างกันประมาณ 30 เมตร

ขั้นที่ 4 การติดตั้งระบบเติมน้ำใต้ดิน

1. ขุดหลุมเพื่อฝังท่อวงซีเมนต์ ความลึกประมาณ 2 เมตร  และใช้หินกรวดรองพื้น 

2. ทำการวางท่อวงซีเมนต์ โดยวางท่อพลาสติกขนาด  6/8 นิ้วคั่นท่อวงซีเมนต์ในแต่วง และช่องว่างต้องไม่ใหญ่เกินไปจนตะกอนดินไหลเข้ามาในท่อซีเมนต์ 

3. ทำการขุดร่องเพื่อดักน้ำให้ไหลลงท่อวงซีเมนต์ ขนาดร่องประมาณ 6 – 8 นิ้วและวางท่อพีวีซีเพื่อดักน้ำเข้าท่อวงซีเมนต์ โดยก่อนน้ำจะเข้าท่อวงซีเมนต์จะต้องมีท่อพีวีซีงอ 90 องศา เพื่อกักตะกอนดินไม่ให้ไหลเข้าท่อซีเมนต์มากเกินไป

ส่วนประกอบของระบบประกอบด้วย

1. กรวดหรือหินหนาหรือเศษอิฐหัก

2. ท่อวงซีเมนต์เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร

3. ท่อพลาสติก 6/8 นิ้ว

4. ฝาปิดท่อ ซีเมนต์

5. ท่อ PVC ตรงและงอ 90 องศา ขนาด 6 – 8 นิ้ว

สรุป

ระบบเติมน้ำใต้ดินในแปลงไร่อ้อยเป็นระบบที่ช่วยให้มีการบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเกษตรกรลงทุนครั้งเดียว สามารถใช้ระบบนี้ได้นาน 5 – 10 ปี ถ้าไม่มีอุบัติเหตุจากแทรกเตอร์ชนขอบท่อซีเมนต์ และการบำรุงรักษาระบบเติมน้ำใต้ดินก็น้อยมาก มีแค่ค่าลอกตะกอนออกจากท่อซีเมนต์กักเก็บน้ำเท่านั้น แต่การวิจัยนี้ยังอยู่ในช่วงการกระจายทดสอบในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ หากอนาคตได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ก็จะทำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อย ลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้นอย่างแน่นอน

บทความที่เกี่ยวข้อง

การใช้แหนแดงแห้งทดแทนปุ๋ยเคมีในแปลงพืชผัก ให้ธาตุไนโตรเจนสูงกว่าพืชตระกูลถั่ว ตอบโจทย์ด้านเกษตรครบวงจร เข้าทางเกษตรอินทรีย์ นำไปผสมกับวัสดุปลูกช่วยต้นกล้าโตไว แถมเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดีเหมาะเป็นอาหารสัตว์ช่วงแล้งขาดแคลนหญ้า แหนแดง เป็นเฟิร์นชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในการผลิตพืช
มันสำปะหลังเป็นพืชหัว ส่วนของผลผลิตที่เก็บเกี่ยวคือ ส่วนของหัวที่เกิดจากการขยายใหญ่ของราก ดังนั้น การเตรียมดินที่ดีโดยการไถให้ลึก และพรวนดินให้ร่วนซุย นอกจากจะช่วยทำลายวัชพืชในแปลงปลูกเดิมให้หมดสิ้นแล้ว ยังช่วยให้ดินมีการระบายน้ำได้ดี และมีผลทำให้ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังที่ปลูกสัมผัสกับดินได้มาก
ถั่วเขียวผิวดำ หรือ ถั่วแขก หรือถั่วเม็ดนุ่น เป็นชื่อเรียกที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ มีลักษณะต้น ใบ กิ่งก้าน ฝัก และเมล็ดใกล้เคียงกับถั่วเขียวธรรมดา ฝักอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสด ส่วนเปลือกถั่วและซากลำต้นใช้เป็นอาหารสัตว์ ยังสามารถปลูกไว้เพื่อใช้ทำปุ๋ยพืชสดได้ ปัจจุบันผลผลิตของถั่วเขียวผิวดำตลาดของ