หนอนผีเสื้อหัวกะโหลกในงา

หนอนผีเสื้อหัวกะโหลก (Acherontia styx ; Death’s head hawk month) หรือเกษตรกรมักจะเรียกว่า “หนอนแก้ว” เป็นแมลงศัตรูที่มีพืชอาหารกว้าง พบในถั่วงา มะเขือ ยาสูบ มันเทศ ม่านบาหลี และแตง เป็นต้น

วงจรชีวิตของหนอนผีเสื้อหัวกะโหลกใช้เวลา 49-56 วัน ผีเสื้อเพศเมียหนึ่งตัววางไข่ได้ประมาณ 125-156 ฟอง ระยะไข่ 6-7 วัน ระยะหนอน 19-21 วัน หนอนที่โตเต็มที่มีขนาดลำตัวใหญ่ยาว 10  เซนติเมตร ดักแด้ยาว 5.5 เซนติเมตร กว้าง 1.5 เซนติเมตร ระยะดักแด้ 17-23 วัน จึงเป็นตัวเต็มวัย เพศเมียมีชีวิต 12-14 วัน เพศผู้มีชีวิต 9-10 วัน ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อที่มีสีสันน่ากลัว โดยเฉพาะที่สันหลังอกมีรูปหัวกะโหลกเป็นภาพลวงตาเพื่อข่มขู่ศัตรูในการป้องกันตัวเอง ขนาดของผีเสื้อ เพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้ โดยเพศเมีย มีลำตัวยาว 5.3 เซนติเมตร ปีกคู่หน้ายาว 5.6 เซนติเมตร งวงยาว 1.7 เซนติเมตร กว้าง 0.2 เซนติเมตร และระยะระหว่างปลายปีกสองข้าง 9-12 เซนติเมตร

ลักษณะการทำลาย
 หนอนผีเสื้อหัวกะโหลกเป็นแมลงศัตรูที่สําคัญของงา ทำความเสียหายกับงาอย่างมากและรวดเร็ว เนื่องจากหนอนมีขนาดใหญ่ สามารถกัดกินใบงาจนเหลือแต่ก้านและลำต้น เมื่อกินใบจนหมดต้นก็จะย้ายไปกินต้นอื่น หนอนออกหากินในเวลากลางคืน จะเข้าทำลายตั้งแต่งาเริ่มแตกใบจริงจนกระทั่งติดดอกออกฝัก หนอนชนิดนี้มักชอบหลบอยู่ใต้ใบ ตัวหนอนมีลักษณะสีเขียวคล้ายต้นงา ทําให้สังเกตได้ยาก

การป้องกันกำจัด
1. เก็บหนอนออกไปทำลาย
2. พ่นด้วยเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ทรูริงเจนซิส (บีที) อัตรา 60 กรัมหรือซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
3. การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงชนิดใดชนิดหนึ่ง ดังนี้ อิมาเมกตินเบนโซเอท 5%WG (IRAC กลุ่ม 6) หรือ  อิมาเมกตินเบนโซเอท  1.92 EC (IRAC กลุ่ม 6) หรือ ฟิโปรนิล 5% SC (IRAC กลุ่ม 2)  หรือ เดลทาเมทริน 3% EC (IRAC กลุ่ม 3) หรือ แลมบ์ดาไซฮาโลทริน 2.5% EC (IRAC กลุ่ม 3)

บทความที่เกี่ยวข้อง

สภาวะน้ำขังในแปลงอ้อย หมายถึง สภาพของดินอยู่ในสภาวการณ์ขาดอากาศ (ออกซิเจน) ทำให้รากอ้อยเกิดสภาวการณ์ขาดอากาศเช่นกัน เป็นสาเหตุที่สำคัญทำให้อ้อยชะงักการเจริญเติบโตหรือตายได้ โดยที่อ้อยแสดงอาการทางใบ คือ ใบอ้อยจะค่อย ๆ มีสีเหลืองซีด ๆ เรื่อย ๆ จนกระทั่งอ้อยตาย นอกจากนี้ยังทำให้คุณสมบัติของดิน
เนื่องจากมีความเชื่อผิดๆในการใส่ปุ๋ย: “ยิ่งใส่ปุ๋ย ยิ่งให้ผลผลิตมาก” การใช้ปุ๋ยเกินความจำเป็น โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน นอกจากสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายแล้ว ยังทำให้ต้นข้าวอวบน้ำ ล้มง่าย แมลงสามารถเข้าทําลายได้ง่าย ส่วนปุ๋ยส่วนเกินจะปนเปื้อนแหล่งน้ำใต้ดินและไหลลงสู่แม่น้ำลำคลอง แต่ถ้าใส่ปุ๋ยไม่เพียงพอ
เชื้อสาเหตุ : Erwinia carotovora แบคทีเรีย อาการ : ในระยะแรกอ้อยจะแห้งตายเป็นบางหน่อ ระยะหลังลำอ้อยบริเวณคอเน่าจนคอหักพับ มีกลิ่นเหม็นเน่า เนื้อในอ้อยยุบเป็นโพรงเห็นเนื้อเป็นเส้น วิธีการแพร่ระบาด : ติดไปกับท่อนพันธุ์ ลมและฝนพัดพาเชื้อจากต้นที่เป็นโรคไปติดต้นข้างเคียง วิธีการป้องกันรักษา : พบกอเป็น