ปรับตัวสู้ภัยแล้ง

ในปัจจุบันเกษตรกรประสบปัญหาภัยแล้ง ทำให้ไม่สามารถทำนาในฤดูนาปรังได้ เกษตรกรสามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้โดยการปลูกผักอายุสั้น ซึ่งเป็นทางเลือกในการสร้างรายได้อีกวิธีหนึ่ง โดยผักอายุสั้นที่เกษตรกรนิยมปลูกได้แก่ ผักชี ต้นหอม กะเพรา โหระพา และแตงกวา เป็นต้น  ผักเหล่านี้เป็นผักที่ใช้น้ำน้อยเหมาะสำหรับวิกฤตภัยแล้ง โดยก่อนการเริ่มปลูกนั้นเกษตรต้องทำการปรับสภาพพื้นที่นาให้เหมาะสมสำหรับการปลูกผัก และต้องทำการวางแผนการเพาะปลูกผักให้ตรงกับช่วงฤดูกาลซึ่งจะช่วยให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูง จึงควรพิจารณาการเลือกปลูกผักดังนี้

การเลือกปลูกผักให้ตรงตามฤดูกาลนั้นนอกจากทำให้ได้ผักที่มีคุณภาพดีแล้ว เกษตรกรสามารถลดต้นทุนด้านการผลิตได้อีกทางหนึ่ง เนื่องจากผักที่ปลูกตามฤดูกาลนั้นจะได้รับอุณหภูมิ และน้ำในปริมาณที่พอเหมาะทำให้ผักแข็งแรง ดูแลง่าย และเจริญเติบโตได้ดีโดยไม่ต้องใช้สารเคมีในการเพาะปลูกอีกด้วย 

บทความที่เกี่ยวข้อง

เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยต่างทราบกันดีว่าหากเกิดภัยแล้ง จะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของอ้อยเป็นอย่างมาก จึงทำให้เกษตรกรหลายรายพยายามหาวิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันปัญหาอ้อยขาดน้ำ โดยมีนวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นในการปลูกอ้อย เช่น การใช้แทรกเตอร์พ่วงด้วยแทงค์น้ำทำการรดน้ำหลังการเพาะปลูกอ้อย
การปลูกพืชในพื้นที่ดินเค็มควรเลือกชนิดพืชให้เหมาะสม เนื่องจากพืชแต่ละชนิดทนเค็มได้ไม่เท่ากัน สำหรับการจัดการดินเค็มเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจทนเค็ม ควรปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ เช่น แกลบดิบ ขี้เถ้าแกลบ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยพืชสด การให้น้ำควรให้แบบระบบน้ำหยด จะช่วยควบคุมความชื้นดินและความเค็มของ
ลักษณะของข้าว เป็นลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต และการให้ผลิตผลของต้นข้าว ในท้องที่ ปลูกการทนต่อสภาพแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงเสมอๆ ตลอดถึงคุณภาพของเมล็ดข้าว ฉะนั้น พันธุ์ข้าวที่ดีจะต้องมีลักษณะเหล่านี้ดี และเป็นที่ต้องการของชาวนา และตลาดลักษณะที่สำคัญๆ