ปลูกอ้อยอย่างไร? ให้ได้ผลิตผลคุ้มค่า ฉบับชาวไร่มืออาชีพ

ปลูกอ้อยอย่างไร? ให้ได้ผลิตผลคุ้มค่า ฉบับชาวไร่มืออาชีพ

‘อ้อย’ เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยมาอย่างยาวนาน โดยอ้อยเป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับ
การนำไปแปรรูปเป็นผลผลิตหลายรูปแบบ เช่น น้ำตาลทราย อาหารสัตว์ ถ่านชีวภาพ ปุ๋ยหมัก
บรรจุภัณฑ์อาหาร เชื้อเพลิง ฯลฯ ที่สร้างรายได้ให้พี่น้องเกษตรกรไทยมาหลายยุค ซึ่งการจะปลูกอ้อย
ให้ได้ผลผลิตดี เกษตรกรจะต้องมีความรู้และพื้นฐานในการเตรียมตัวที่ละเอียด โดยเริ่มศึกษาได้
จากในบทความนี้

เลือกพันธุ์อ้อยอย่างไรให้ได้ผลผลิตที่คุ้มค่า?

ก่อนจะเริ่มทำการปลูกอ้อย แน่นอนว่าขั้นตอนแรกที่สำคัญที่สุดคือต้องรู้วิธีการเลือกพันธุ์อ้อย
ที่จะสร้างผลผลิตที่คุ้มค่าให้กับเราได้มากที่สุด โดยสามารถพิจารณาได้จากปัจจัยดังนี้ 

  • เลือกจากคุณภาพความหวาน โดยที่เฉลี่ยทั้งอ้อยปลูกและอ้อยตอต้องไม่ต่ำกว่า 12 c.c.s.(ซีซีเอส)
  • เลือกที่ทนความแห้งแล้งได้
  • เลือกที่เป็นพันธุ์ที่ลอกกาบใบได้ง่าย ไม่มีขนด้านหลังกาบใบ
  • เลือกที่มีลักษณะอ้อยแน่น ลำตรงยาว อ้อยลำใหญ่ สะอาด เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการโดนทำลาย
    ของแมลงและโรค
  • เลือกที่มีใบสีเขียวสดใส แผ่กว้าง มีความยาวของใบพอประมาณ
  • เลือกพันธุ์ที่ทนโรคใบขาวกับหนอนกอ
  • เลือกพันธุ์ที่ได้ผลผลิตเฉลี่ย 18 ตันต่อไร่

ขั้นตอนการเตรียมปลูกอ้อย มีอะไรบ้าง?

หลังจากทำการเลือกพันธุ์อ้อยได้แล้ว ก็ได้เวลานำมาปลูกตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

เลือกทำเลพื้นที่ปลูกที่อุดมสมบูรณ์

ควรเลือกพื้นที่ระดับสูง (ที่ดอน) ซึ่งไม่มีน้ำขัง สภาพดินร่วนซุย หน้าดินลึกอย่างน้อย 20 นิ้ว แสงแดดดี และเป็นบริเวณที่มีฝนตกเสมอ ไม่แห้งแล้ง

กำจัดวัชพืชที่ปกคลุมดิน

กำจัดวัชพืชอย่างหญ้าแห้วหมู เถาวัลย์วัชพืช หญ้ากกทราย หญ้าปากควาย หญ้าดอกขาว เป็นต้น
โดยการกำจัดวัชพืชในพื้นที่กว้างอย่างพื้นที่สำหรับปลูกอ้อยนั้นจำเป็นต้องอาศัยแรงจากเครื่องจักรกล
ที่เอาไว้ใช้สำหรับการเกษตรโดยเฉพาะ ‘แทรกเตอร์คูโบต้า รุ่น M9808’ ดูแลได้ครบทุกขั้นตอน
ของการปลูกอ้อย ไม่ว่าจะเป็นงาน

  • กำจัดวัชพืช
  • พ่นฮอร์โมน
  • ไถพรวนดิน
  • สับคลุกใบอ้อย
  • ปรับหน้าดิน

และอื่น ๆ อีกมากมาย

การเตรียมวัสดุคลุมหน้าดิน

เตรียมการคลุมดินด้วยวัสดุอย่างใบอ้อย ยอดอ้อย ฯลฯ เพื่อเป็นการลดปริมาณวัชพืช อีกทั้งยังช่วยรักษาระดับความชื้นในดินให้เหมาะสม จากนั้นวัสดุที่ใช้คลุมดินจะค่อย ๆ ย่อยสลายเป็นสารที่มีประโยชน์
กับคุณภาพของดิน

เตรียมดิน ปรับสภาพดิน

ควรเริ่มเตรียมดินในขณะที่ดินมีความชื้นที่พอเหมาะ โดยสามารถตรวจสอบได้โดยการกำดินแล้วแบมือออก หากดินมีความชื้นที่พอเหมาะ ดินจะจับกันเป็นก้อนในลักษณะที่เมื่อมีอะไรมากระทบก็แตกออกได้ไม่ยาก
แต่ดินที่แห้งเกินไปจะจับกันเป็นก้อนที่หนาแน่นมาก

ทำการไถ

ควรไถไร่อย่างน้อย 2 ครั้งหรือมากกว่านั้น และควรไถให้มีความลึกอย่างน้อย 30-40 ซม.
หรือเพื่อให้เหมาะสมกับอ้อยที่จะปลูก

เตรียมแหล่งน้ำให้เพียงพอ

เกษตรกรจำเป็นต้องคำนวณปริมาณการให้น้ำพืชอ้อยในช่วงฝนทิ้งช่วง เดือนมกราคม – เมษายน
ว่าต้องการปริมาณเท่าไหร่ แล้วจัดหาแหล่งน้ำในพื้นที่ของตนเองให้เพียงพอ เช่น การขุดสระน้ำ
การขุดบ่อบาดาล เป็นต้น นอกจากนี้ การให้น้ำด้วยระบบน้ำหยดจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้น้ำสูงขึ้น
ซึ่งจะช่วยลดเงินลงทุนการจัดหาแหล่งน้ำอีกด้วย

ดูแลอ้อยหลังการปลูกอย่างไรให้อ้อยเจริญเติบโตเต็มที่?

การรดน้ำ

ควรรดน้ำให้พอดีต่อการเจริญเติบโตของต้นอ้อย โดยมีข้อควรระวังคือหากทำการปลูกอ้อยในช่วง
หน้าฝน ต้องติดตามสภาพอากาศอย่างใกล้ชิดที่สุด เพราะในกรณีที่อ้อยได้รับน้ำในปริมาณที่มากเกินไป
จะทำให้ส่งผลโดยตรงต่อความหวานของอ้อยได้

การใส่ปุ๋ย

อาจใช้นวัตกรรมทางการเกษตรอย่างโดรนเพื่อการเกษตร ในการเข้ามาช่วยเพื่อให้การหว่านปุ๋ยเป็นไปอย่างรวดเร็ว แม่นยำ ในปริมาณที่ถูกต้อง และใช้เวลาน้อยลง โดยหว่านปุ๋ยในช่วงอายุ 9-10 เดือน
ซึ่งเป็นช่วงที่ต้นอ้อยต้องการเพิ่มน้ำหนักจากการหว่านปุ๋ยยูเรีย ซึ่งการใช้โดรนจะเป็นการช่วยลด
ค่าแรงงานคนลงอีกด้วย

การกำจัดวัชพืชในไร่

การกำจัดวัชพืชในไร่อ้อยมีหลายวิธีการ เช่น การใช้คนตัดหญ้า หรือการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช แต่หากพูดถึงวิธีที่นิยมกันมากที่สุดในสมัยนี้ เกษตรกรมักนิยมใช้แทรกเตอร์ในการกำจัดวัชพืชในร่องอ้อย
เพราะสะดวก รวดเร็วและประหยัดเวลา อย่าง ‘แทรกเตอร์คูโบต้า รุ่น B2440S-B

เทคนิคการปลูกอ้อย ให้ได้ผลผลิตที่คุ้มค่า

ปรับปรุงดินด้วยปอเทือง

ปอเทืองถือเป็นพืชตระกูลถั่วที่มีคุณสมบัติในการบำรุงดิน และมีรูปลักษณ์ที่สวยงาม ซึ่งเมื่อถึงเวลา
เก็บเกี่ยว ปอเทืองจะแปรสภาพเป็นปุ๋ยพืชแบบสด ๆ จากการไถกลบ ทำให้เกษตรกรได้ปุ๋ยคุณภาพ
ที่เทียบเท่ากับปุ๋ยเคมี

ปรับเวลาปลูกเลี่ยงวัชพืช

โดยช่วงที่เหมาะสมคือ ช่วงเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ เพราะเป็นช่วงที่ดินมีความชื้น ซึ่งดินแบบนี้จะทำให้อ้อยเจริญเติบโตเร็ว และวัชพืชจะน้อยมาก ๆ เนื่องจากต้นอ้อยสูงคลุมวัชพืช ทำให้มีแสงส่องผ่านไปที่ดินน้อย แถมความชื้นในดินเริ่มแห้ง จึงทำให้วัชพืชงอกน้อยมาก

เลิกเผาใบอ้อย

ถ้าตัดอ้อยสดแล้วเอาใบไว้คลุมดิน จะทำให้ลดความสูญเสียความชื้นในดิน ซึ่งจะส่งผลให้อ้อยเจริญเติบโตได้ดี และมีผลผลิตที่สูงขึ้น

แนะนำแทรกเตอร์คูโบต้า และอุปกรณ์ต่อพ่วงรุ่นที่เหมาะกับการทำ
ไร่อ้อย

แทรกเตอร์คูโบต้า รุ่น M9808

แรง ทรงพลัง พร้อมลุยงานหนัก กำลังเครื่องยนต์สูงถึง 98 แรงม้า

แทรกเตอร์คูโบต้า รุ่น M9808

แทรกเตอร์คูโบต้า รุ่น B2440S-B

ขนาดคล่องตัว ตอบโจทย์งานบำรุงรักษา พร้อมกำลังเครื่องยนต์ 24 แรงม้า

แทรกเตอร์คูโบต้า รุ่น B2440S-B

โดยทั้ง 2 รุ่น สามารถต่อพ่วงกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการทำไร่ปลูกอ้อย ตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มปลูกตัวอย่างเช่น

  • เครื่องปลูกอ้อยแบบลำ (SP420/SP621/SP920) ที่ตอบสนองทั้งแบบลำและแบบท่อน
    เหมาะสำหรับชาวไร่อ้อยที่ใช้ท่อนพันธุ์ทั้งลำในการปลูก ซึ่งเครื่องปลูกอ้อยจะช่วยในการ
    ตัดวางท่อนพันธุ์และกลบดินในขั้นตอนเดียว
  • เครื่องปลูกอ้อยแบบท่อน (SBP100) ออกแบบมาให้ทำงานคู่กับเครื่องลำเลียงท่อนพันธุ์ LD100 ช่วยให้คุณทำงานได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้อ้อยท่อนจากรถตัดอ้อยในการปลูกได้ทันที
  • เครื่องตัดหญ้า (SX160)
  • ผานบุกเบิก (DP264L / DP263J)
  • ใบมีดดันดิน (FD220L)
  • ผานพรวน (DH266JW / DH267L)
  • เครื่องสางใบอ้อย (SLR100) ช่วยสางใบอ้อยได้สะอาด ไม่ทำลายลำอ้อย สามารถทำงานได้สูงสุด 15 ไร่ต่อวัน ช่วยให้คุณมีรายได้เพิ่มจากการเก็บเกี่ยวอ้อยสด
  • เครื่องคีบอ้อย (SGB470) คีบได้เต็มประประสิทธิภาพ ด้วยการออกแบบให้สามารถทำงานร่วมกับรถอีแต๋น และรถหกล้อได้อย่างคล่องตัว รวมไปถึงการออกแบบให้มีสกีปากคีบ สปริงซับแรง
    ในกระบอกไฮดรอลิก ช่วยให้ควบคุมการคีบได้ง่าย และลดการเจือปนของดิน
  • โครงกันอ้อย (SG270 / SG270S) ปกป้องผู้ขับขี่ไม่ให้ได้รับบาดเจ็บ
  • เครื่องไถระเบิดดินดาน (SS3 หรือ SS5) ระเบิดดินดานได้ลึกและทั่วพื้นที่
  • หางไถบุกเบิกแบบไม่เผาใบอ้อย (CHP262) ไถบุกเบิกพร้อมตัดและกลบใบอ้อยได้ในขั้นตอนเดียว เพิ่มคุณภาพอ้อยในพื้นที่ที่ปลูกใหม่
  • เครื่องพ่นอเนกประสงค์ (BS350) พ่นละอองละเอียดและต่อเนื่อง ครอบคลุมสม่ำเสมอทั่วพื้นที่ ช่วยบำรุงรักษาอ้อยหลังจากปลูกอ้อย
  • เครื่องฝังปุ๋ย (SF440 / SD440 PRO / SF940 / SF940 PRO) ช่วยคุณเพิ่มอาหารให้กับพืช เพราะเครื่องสามารถฝังปุ๋ยได้ลึก และสม่ำเสมอ เนื่องจากมุมการเปิดหัวร่องที่เหมาะสม แหวกดินได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
  • จอบหมุน (RX80A / RX80B) ที่โดดเด่นด้วยขนาดหน้ากว้าง 85 ซม. และใบมีดชุบแข็งพิเศษ
    นำเข้าจากประเทศสเปน สามารถตีดินได้ละเอียด น้ำหนักเบา และประหยัดน้ำมัน
  • พวงมาลัยแบบพาวเวอร์ เลี้ยวสะดวก ควบคุมง่ายแม้ในที่แคบซึ่งเหมาะสำหรับไร่อ้อยที่แต่ละแถว
    ค่อนข้างแคบ

แทรกเตอร์คูโบต้า รุ่น M9808

ราคาเริ่มต้น 1,391,000 บาท

สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อสั่งซื้อ คลิก https://www.siamkubota.co.th/tractor/m9808/#content-order-2

และสามารถเลือกชมรถแทรกเตอร์ M-Series แบบอื่น ๆ ได้ที่ https://www.siamkubota.co.th/tractor/?series=462

แทรกเตอร์คูโบต้า รุ่น B2440S-B

ราคาเริ่มต้น 328,000 บาท

สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อสั่งซื้อ คลิก https://www.siamkubota.co.th/en/tractor/b2440s-b/#content-order-2

และสามารถเลือกชมรถแทรกเตอร์ B-Series แบบอื่น ๆ ได้ที่ https://www.siamkubota.co.th/en/tractor/?series=460

สรุปทั้งหมด

โดยสรุป การปลูกอ้อยให้ได้ผลผลิตที่คุ้มค่า นอกจากจำเป็นที่จะต้องรู้วิธีการที่ถูกต้องตั้งแต่การเลือกพันธุ์อ้อย ขั้นตอนการปลูก ไปจนถึงการดูแล และหากมีอุปกรณ์การเกษตรที่เหมาะสำหรับการปลูกอ้อยโดยเฉพาะอย่างอุปกรณ์จากคูโบต้าที่สามารถทุ่นแรงได้เป็นอย่างดี ก็จะยิ่งส่งผลให้ผลผลิตทั้งประสิทธิภาพสูงและคุ้มค่ามากขึ้น

หากคุณต้องการติดต่อสอบถามเพิ่มเติม สามารถติดต่อเราได้ตามช่องทางด้านล่างนี้

  • KUBOTA CONNECT ติดต่อกับเราที่เบอร์ 02-029-1747
  • Facebook Fanpage: Siam Kubota และ Kubota Drone Club – คูโบต้าโดรนคลับ
  • ดูสินค้าทั้งหมดผ่านเว็บไซต์: SiamKubota
  • อัปเดตสิทธิพิเศษ หรือติดต่อผ่านทาง LINE OA: @siamkubota
  • รับชมวีดีโอการใช้งานเครื่องจักรกลทางการเกษตรที่: SIAMKUBOTA

source:

banphue

puimongkut

mitrpholmodernfarm

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

ประเทศไทยพบโรคใบด่างมันสําปะหลังครั้งแรกในปี พ.ศ. 2561 โดยมีพื้นที่ระบาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลเสียหายอย่างมากต่อเกษตรกรและอุตสาหกรรมมันสําปะหลังของประเทศ เนื่องจากโรคใบด่างมันสําปะหลังส่งผลให้ผลผลิตมันสําปะหลังลดลง 20 – 80 เปอร์เซ็นต์ โดยการควบคุมโรคใบด่างมันสําปะหลังสามารถทําได้ ดังนี้
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zea mays var. rugosa ชื่อสามัญ : Sweet corn วงศ์ : Poaceae ข้าวโพด เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ปลูกฤดูเดียว ลักษณะลำต้นเป็นปล้องสีเขียวจำนวน 8 – 20 ปล้อง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 – 4 ซม. สูงประมาณ 150 – 220 ซม. ใบมีสีเขียวลักษณะเรียว ขนาดของใบแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์