โรคใบวงสีน้ำตาล (Leaf Scald Disease)

พบในข้าวไร่ภาคเหนือและภาคใต้ และ ข้าวนาสวน (นาปี) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

สาเหตุ : เชื้อรา Rhynocosporium oryzae Hashioka&Yokogi

อาการ : ระยะกล้าข้าวจะแสดงอาการไหม้ที่ปลายใบและมีสีน้ำตาลเข้ม ระยะแตกกออาการส่วนใหญ่จะเกิดบนใบ แต่มักจะเกิดแผลที่ปลายใบมากกว่าบริเวณอื่นๆ ของใบ แผลที่เกิดบนใบในระยะแรกมีลักษณะเป็นรอยช้ำ รูปไข่ยาวๆ แผลสีน้ำตาลปนเทา ขอบแผลสีน้ำตาลอ่อน จากนั้นแผลจะขยายใหญ่ขึ้นเป็นรูปวงรี ติดต่อกัน ทำให้เกิดอาการใบไหม้บริเวณกว้าง และเปลี่ยนเป็นสีฟางข้าว ในที่สุดแผลจะมีลักษณะเป็นวงซ้อนๆ กันลุกลามเข้ามาที่โคนใบ มีผลทำให้ข้าวแห้งก่อนกำหนด

การแพร่ระบาด มีพืชอาศัย เช่น หญ้าชันกาด และหญ้าขน

การป้องกันกำจัด

  • ใช้พันธุ์ข้าวต้านทาน เช่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือใช้ หางยี 71
  • กำจัดพืชอาศัยของเชื้อราสาเหตุโรค
  • ในแหล่งที่เคยมีโรคระบาด หรือพบแผลลักษณะอาการดังที่กล่าวข้างต้นบนใบข้าวจำนวนมาก ในระยะข้าวแตกกอ ควรฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น ไธโอฟาเนทเมทิล  โพรพิโคนาโซล ตามอัตราที่ระบุ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทำไมยางพาราที่ปลูกภาคอีสานจึงยืนต้นตายตอนหน้าแล้ง คงต้องอธิบายก่อนว่ายางพาราและไม้ยืนต้นอื่นๆ เจริญเติบโตตามความลึกของราก รากยิ่งลึกต้นก็ยิ่งสูง และยิ่งเจริญเติบโตดี แต่ภาคอีสานมีชั้นหน้าดินน้อย ดินดานหรือชั้นทรายแป้งอยู่ในระดับสูง จึงทำให้รากไม่สามารถแทรกลงลึกไปในดินได้ สิ่งที่เห็นก็คือต้นยางพารา
การเลือกพื้นที่ ควรเลือกพื้นที่ ที่มีแหล่งน้ำเพียงพอตลอดฤดูปลูก หลีกเลี่ยงพื้นที่ลุ่มต่ำที่มีการระบายน้ำไม่ดี ฤดูปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา เดือนที่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์คือเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม หรือปลูกทันทีหลังจากเก็บเกี่ยวข้าว เพื่อใช้ประโยชน์จากความชื้นที่เหลืออยู่ในดิน