โรคเมล็ดด่าง (Dirty Panicle Disease)

พบมาก : ในนาชลประทาน ภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคใต้สาเหตุเชื้อรา สาเหตุหลัก 6 ชนิดได้แก่  

  •  Curvularia  lunata(Wakk) Boed.
  •  Cercospora oryzaeI.Miyake.
  •  Bipolaris oryzaeBreda de Haan.
  •  Fusarium semitectumBerk & Rav.
  •  Trichoconis padwickiiGanguly. ชื่อเดิมคือAlternaria padwickii(Ganguly) M.B. Ellis
  •  Sarocladium oryzaeSawada.

เชื้อราสาเหตุ

อาการ ในระยะออกรวง พบแผลสีต่างๆ เช่นเป็นจุดสีน้ำตาลหรือดำหรือมีลายสีน้ำตาลดำหรือ  สีเทาปนชมพูที่เมล็ดบนรวงข้าว ทั้งนี้เพราะมีเชื้อราหลายชนิดที่สามารถเข้าทำลายและทำให้เกิดอาการต่างกันไป การเข้าทำลายของเชื้อรามักจะเกิดในช่วงดอกข้าวเริ่มโผล่จากกาบหุ้มรวงจนถึงระยะเมล็ดข้าวเริ่มเป็นน้ำนม และอาการเมล็ดด่าง จะปรากฏเด่นชัดในระยะใกล้เก็บเกี่ยว

อาการโรคเมล็ดด่าง

การแพร่ระบาด เชื้อราสามารถแพร่กระจายไปกับลม ติดไปกับเมล็ด และสามารถแพร่กระจายในยุ้งฉางได้ เชื้อสาเหตุบางชนิดสามารถสร้างสารพิษ (toxin) ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

การป้องกันกำจัด

  • เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูก ควรคัดเลือกจากแปลงที่ไม่เป็นโรค
  • คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซบ ในอัตรา 3 กรัม /เมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม
  • ถ้าพบการระบาดของโรคใบจุดสีน้ำตาล และใบขีดสีน้ำตาล ในระยะต้นข้าวตั้งท้องใกล้ออกรวง ให้ฉีดพ่น  ด้วยสารป้องกัน กำจัดเชื้อรา เช่น โพรพิโคนาโซล โพรพิโคนาโซล+ไดฟีโนโคนาโซล หรือ โพรพิโคนาโซล+โพรคลอราซ หรือ ฟูซิราซอล หรือ ทีบูโคนาโซล หรือ แมนโคเซ็บ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เมื่อพูดถึงการทำไร่อ้อยในช่วงเวลานี้ คงต้องเน้นคุยกันเรื่องการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ แต่ในปัจจุบันการเพิ่มผลผลิตโดยการขยายพื้นที่คงทำได้ยาก มีหลักการง่าย ๆ ที่สามารถเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้โดยไม่ยาก แต่ต้องอาศัยข้อมูลพื้นฐานในพื้นที่ของตนเองประกอบกับเทคนิคต่าง ๆ อันเป็นที่ยอมรับว่าสามารถช่วยเพิ่มผลผลิต
ชุดดินในที่ลุ่มที่สำคัญ ในภาคเหนือ 1. ชุดดินหางดง (Hang Dongseries : Hd) กลุ่มชุดดินที่ 5 การกำเนิด : เกิดจากตะกอนน้ำพาบริเวณที่ราบตะกอนน้ำพาหรือตะพักลำน้ำ สภาพพื้นที่ : ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2 % การระบายน้ำ : เลว การซึมผ่านได้ของน้ำ : ช้า การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : ช้า
การบรรจุภัณฑ์ หมายถึง รูปแบบวัสดุภายนอกที่ห่อหุ้มผลิตภัณฑ์ภายในให้ปลอดภัย สะดวกต่อการขนส่ง เอื้ออำนวยให้เกิดประโยชน์ทางการค้าของผู้ผลิต/ผู้จำหน่ายและการนำไปใช้ของผู้บริโภคการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ มีปัจจัยหลายอย่างที่จะทำให้ผู้บริโภคให้ความสนใจดูจากรูปลักษณ์ภายนอกก็คือ การจับถนัดมือ สีสัน ขนาด