ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 3

ประวัติ

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 3 เดิมชื่อรหัส เอ็น เอส เอ็กซ์ 042029 เป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมเดี่ยว เกิดจากการผสมข้ามระหว่างสายพันธุ์แท้พันธุ์ตากฟ้า 1 (พันธุ์แม่) และสายพันธุ์แท้ตากฟ้า 3 (พันธุ์พ่อ) ซึ่งสร้างและพัฒนาโดยศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์และดำเนินการประเมินผลผลิตตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ฯ ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตฯ ตลอดจนในไร่เกษตรกรจังหวัดต่าง ๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 จนถึง พ.ศ. 2551

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 3 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,106 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 72 ร้อยละ 20 และนครสวรรค์ 2 ร้อยละ 4 ให้ผลผลิตใกล้เคียงกับพันธุ์ลูกผสมการค้า มีความทนทานแล้งและเก็บเกี่ยวด้วยมือง่าย

ลักษณะเด่น

  • ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 1,106 กิโลกรัมต่อไร่
  • มีความทนทานแล้งในระยะออกดอกให้ผลผลิตเฉลี่ย 836 กิโลกรัมต่อไร่
  • มีความต้านทานโรคราน้ำค้างและโรคราสนิม
  • เก็บเกี่ยวด้วยมือง่าย

ลักษณะประจำพันธุ์

คำแนะนำการปลูก

สภาพพื้นที่ : ข้าวโพดจะเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ดอน ดินมีความอุดมสมบูรณ์ มีการระบายน้ำดี สภาพดินไม่เป็นกรดหรือด่างมากเกินไป

ฤดูปลูก  : ปลูกได้ทั้งต้นฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน และปลายฤดูฝนระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ปลูกในช่วงระยะเวลาใดเกษตรกรควรคำนึงถึงช่วงที่ข้าวโพดออกดอก ประมาณ 50 วันหลังปลูก ต้องมีน้ำเพียงพอและช่วงเก็บเกี่ยวไม่ควรตรงกับช่วงฝนตกชุก

การเตรียมดิน : ควรมีการไถ 2 ครั้ง ระยะห่างกันประมาณ 1 สัปดาห์ ครั้งแรกไถดะหรือไถบุกเบิก (ผาล 3) ครั้งที่ 2 เป็นการไถพรวน (ผาล 7)

ระยะปลูกที่เหมาะสม : ระยะระหว่างแถว 75 ซม. และระหว่างหลุม 20-25 ซม. หลุมละ 1 ต้น โดยใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 3 กิโลกรัมต่อไร่

การใส่ปุ๋ย : ควรใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน หรือใส่ปุ๋ย 1-2 ครั้ง ขึ้นอยู่กับชนิดของดิน

  • ดินเหนียวสีแดง ใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ พร้อมปลูก และเมื่อข้าวโพดมีอายุประมาณ 1 เดือน ใส่ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่
  • ดินเหนียวสีดำ ใส่ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อข้าวโพดมีอายุประมาณ 1 เดือน
  • ดินทราย ดินร่วนทราย ใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ พร้อมปลูก และเมื่อข้าวโพดมีอายุ 20-25 วัน ใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับปรุงบำรุงดินทุก ๆ 3-4 ปี โดยใส่อัตรา 500-1,000 กิโลกรัมต่อไร่

การกำจัดวัชพืช : ควรกำจัดวัชพืช 1-2 ครั้ง ครั้งแรกใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชอาทราซิน 80 % ชนิดผงอัตรา 300-500 กรัมต่อไร่ หรืออะลาคลอร์ 48 % ชนิดน้ำ อัตรา 500-600 ซีซี.ต่อไร่ ฉีดพ่นหลังปลูกขณะดินมีความชื้นและเมื่อข้าวโพดอายุประมาณ 1 เดือน ทำการกำจัดวัชพืชอีกครั้ง โดยใช้แรงงานคนหรือเครื่องจักรกล พร้อมกับใส่ปุ๋ยครั้งที่สอง

ข้อควรระวังหรือข้อจำกัด : ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 3 เป็นพันธุ์ข้าวโพดลูกผสม ไม่แนะนำให้เกษตรกรเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ปลูกในรุ่นต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

ช่วงหน้าฝนแบบนี้สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยคือปริมาณน้าที่มากขึ้น และความชื้นในอากาศที่สูงขึ้น หากฝนตกติดต่อกันเกินกว่า 2-3 วัน ควรมีการวางแผนที่ดี เพื่อป้องกันและกาจัดโรคพืชที่ตามมาในหน้าฝน ซึ่งเชื้อราเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทาให้เกิดโรคพืชมากที่สุด พืชหลายชนิดเป็นเชื้อราได้ง่าย และมีการระบาดได้อย่างรวดเร็ว
เกษตรทฤษฎีใหม่ แนวคิดการเกษตรตามรอยพระราชดำริ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่จะช่วยให้เกษตรกรไทยทำงานน้อยลงแต่ได้ผลลัพธ์มากขึ้น พออยู่ พอกิน ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งบทความนี้ KAS (KUBOTA (Agri) Solutions) จะมาอธิบายเกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ว่าคืออะไร ต้องทำแบบไหน มีข้อดีอย่างไร จะมีอะไรที่น่าสนใจบ้าง ไปดูกันเลย
เปิดมุมมองการลงทุน PFAL ในวันที่สภาพอากาศไม่เป็นใจต่อการเพาะปลูก เพราะ PFAL สามารถควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ในการเพาะปลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถปลูกพืชได้ตลอดทั้งปี