การผลิตข้าวโพดฉบับมืออาชีพ

วันนี้ทางสยามคูโบต้าฯ ได้มีโอกาสได้สัมภาษณ์เกษตรกรผู้มากประสบการณ์ในด้านการเพาะปลูกข้าวโพดมานานกว่า 25 ปี ใน อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี นั่นก็คือ คุณอนงค์ วัตวงษ์ ซึ่งทำการเพาะปลูกข้าวโพดบนพื้นที่กว่า 50 ไร่ ให้เป็นเกษตรกรมืออาชีพถึงปัจจุบัน โดยที่เกษตรกรรายอื่นสามารถปฏิบัติตามได้อย่างแน่นอน

ปฏิทินการเพาะปลูกข้าวโพดฉบับคุณอนงค์

แนวทางการเพาะปลูกข้าวโพดให้เป็นเกษตรมืออาชีพ

การเตรียมดินปลูกข้าวโพด เริ่มจากกการไถระเบิดดินดานก่อนปลูก ทำให้เกิดการเปิดหน้าดินน้อยลดการสูญเสียความชื้น และเป็นอีกวิธีที่สามารถกำจัดวัชพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพหลังจากนั้นทำการพักหน้าดินประมาณ 2 เดือนแล้วจึงทำการไถบุกเบิก และไถพรวนเพื่อให้ดินมีความละเอียดเพาะสำหรับการเพาะปลูก

1.  พันธุ์ข้าวโพด ควรคัดเลือกให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศและพื้นที่ในการเพาะปลูก โดยเกษตรกรท่านนี้ใช้ข้าวโพดพันธุ์ NK6253 เนื่องจากมีคุณสมบัติในการทนแล้งและให้น้ำหนักดีผลผลิตสูง

2.  การปลูก เน้นปลูกในช่วงฤดูแล้ง แต่ต้องมีการจัดการน้ำในระบบชลประทานที่ดีซึ่งจะทำการเพาะปลูกทันในช่วงเดือนพฤษภาคม ก่อนการปลูกทุกครั้งควรใส่ปุ่ยรองพื้นสูตร 16-8-8 เนื่องจากจะทำให้ต้นข้าวโพดอวบ และระยะระหว่างแถว-ต้นที่แนะนำ คือ 75×20-25 เซนติเมตร ส่วนความลึกที่เหมาะสม คือ 25 เซนติเมตร

3.  การดูแลรักษา 

หลังปลูก ต้องฉีดยาคุมวัชพืชทันที

หลังข้าวโพดงอก 7 วัน – ข้าวโพดอายุ 1 เดือน แนะนำให้ฉีดพ่นสารป้องกันหนอนกระทู้ โดยให้ฉีดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

วันที่ 25 หลังปลูก ให้เริ่มทำการใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ระหว่างร่องปลูกเพื่อบำรุงต้นอ้อยให้แข็งแรง

วันที่ 45-60 หลังปลูก(ระยะก่อนออกดอก) ควรฉีดพ่นสารทางใบครั้งที่ 1 เพื่อป้องกันโรคและแมลง

วันที่ 90 หลังปลูก ควรฉีดพ่นสารทางใบครั้งที่ 2

4.  การเก็บเกี่ยว  เมื่อข้าวโพดประมาณ 120วันหลังจากการปลูก จึงเริ่มทำการเก็บเกี่ยว

5.  การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวเกษตรท่านนี้แนะนำให้ไถกลบซังข้าวโพดและวัชพืช จะทำให้ดินร่วนซุย ง่ายต่อการเตรียมดินสำหรับปลูก ถ้าทำการเผาซังข้าวโพดจะส่งผลกระทบต่อจุนทรีย์ในดิน ทำให้ดินแห้ง

โดยเทคนิคพิเศษอีกหนึ่งอย่าง คือ จะทำการปลูกข้าวโพดรุ่นที่ 2 ทันทีหลังจากการเก็บเกี่ยวในรุ่นที่ 1 เนื่องจากดินยังคงเหลือความอุดมสมบูรณ์อยู่มากทำให้ประหยัดเวลาในขั้นตอนการเตรียมดินโดยทำเพียงแค่ไถพรวนเท่านั้น และยังสามารถลดต้นทุนของการผลิตได้อีกด้วย จากการไม่ต้องใส่ปุ๋ยรองพื้นก่อนปลูกและใช้น้ำฝนในการเพาะปลูกได้ทันเวลา

หากมีการบริหารจัดการในทุกๆขั้นตอนได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ จะเป็นหัวใจหลักของการนำไปสู่ความสำเร็จได้อย่างเกษตรกรท่านนี้นั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ประวัติ ข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 2 ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ในระหว่างปี พ.ศ.2549-2556 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท เพื่อให้ได้ข้าวโพดหวานลูกผสมที่มีผลผลิตสูง คุณภาพการบริโภคดี และต้านทานต่อโรคใบไหม้แผลใหญ่ เกิดจากการผสมระหว่างสายพันธุ์แท้เบอร์ 75 กับสายพันธุ์แท้เบอร์ 66 ผ่านการประเมินผลผลิตพันธุ์ลูก
ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม ประกอบด้วยแบคทีเรียตระกูลไรโซเบียม (Rhizobiaceae) ที่สามารถเข้าสร้างปมรากกับพืชตระกูลถั่วได้ และเจริญอยู่ภายในปมรากแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (symbiosis) ไรโซเบียมสามารถตรึงไนโตรเจนโดยใช้เอนไซม์ไนโตรจีเนส (nitrogenase) ควบคุมปฏิกิริยาการเปลี่ยนก๊าซไนโตรเจนที่มีอยู่ในบรรยากาศถึง
เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวข้าว เกษตรกรส่วนใหญ่จะเริ่มทำการเพาะปลูกพืชผัก เพราะในช่วงฤดูหนาวพืชผักจะงอกงามอย่างดี แต่อากาศที่หนาวเย็นบวกกับความแล้ง ที่มีหมอกในตอนเช้า แดดแรงในตอนกลางวัน อากาศเย็นในตอนกลางคืน ระวังโรคพืชที่จะตามมาแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ทำให้ผลผลิตน้อย โตช้า