ชาวสวนปาล์ม ระวังด้วงแรดบุกสวน

ช่วงนี้ฝนตกต่อเนื่อง และฝนตกหนักในหลายพื้นที่ เกษตรกรปลูกปาล์มระวังด้วงแรดบุกสวน  โดยตัวเต็มวัยเข้าทำลายพืช บินขึ้นไปกัดเจาะบริเวณโคนทางใบหรือยอดอ่อนของปาล์ม รวมทั้งเจาะทำลายยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่ ทำให้ใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์ มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้ว ๆ คล้ายรูปสามเหลี่ยม ถ้ารุนแรงจะทำให้ต้นตายได้

ด้วงแรด

การป้องกันกำจัด

1. วิธีเขตกรรม ทำความสะอาดบริเวณสวนปาล์มเพื่อกำจัดแหล่งขยายพันธุ์ถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด ซึ่งแหล่งขยายพันธุ์ได้แก่ ซากเน่ำเปื่อยของลำต้น ตอของต้นปาล์ม ซากชิ้นส่วนของพืชที่เน่าเปื่อย กองปุ๋ยหมัก กองปุ๋ยคอก ซากทะลายปาล์มน้ำมันและกองขยะ เป็นต้นโดยเป็นที่อยู่ของไข่ หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย ควรกำจัดออกไปจากบริเวณสวน ถ้าปล่อยให้ผุสลายจะล่อให้ด้วงแรดมาวางไข่ โดยด้วงแรดวางไข่ตามตอปาล์มที่อยู่ติดกับพื้นดินเพราะมีความชื้นสูงและผุเร็ว ดังนั้นตอปาล์มที่เหลือ ให้ใช้น้ำมันราดให้ทั่วตอเพื่อป้องกันการวางไข่

2. การใช้ชีววิธี ใช้เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม (Metarhiziumsp.) ใส่ไว้ตามกองขยะ กองปุ๋ยคอก หรือท่อนปาล์มที่มีหนอนด้วงแรดอาศัยอยู่ โดยเกลี่ยเชื้อให้กระจายทั่วกอง เพื่อให้เชื้อมีโอกาสสัมผัสกับตัวหนอนให้มากที่สุด รดน้ำให้ความชื้น หาใบมะพร้าวคลุมกองไว้ เพื่อรักษาความชื้นและป้องกันแสงแดด เชื้อราเมตาไรเซียมจะทำลายด้วงแรดทุกระยะการเจริญเติบโต

หนอนด้วงแรดถูกเชื้อราเมตาไรเซียมเข้าทำลาย

3. การใช้สารเคมี

3.1 ต้นปาล์มอายุ 3 – 5 ปี ใช้ลูกเหม็นใส่บริเวณโคนทางใบรอบ ๆ ยอดอ่อน ทางละ 2 เม็ด ต้นละ 6 – 8 เม็ด กลิ่นของลูกเหม็นจะไล่ไม่ให้ด้วงแรดมะพร้าวบินเข้าไปทำลายคอมะพร้าว

3.2 ใช้สารกำจัดแมลงไดอะซินอน 60% อีซี อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์โบซัลแฟน 20 % อีซี อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ราดบริเวณคอปาล์มตั้งแต่โคนยอดอ่อนลงมา โดยใช้ปริมาณ 1 – 1.5 ลิตรต่อต้น ทุก 15 – 20 วัน ควรใช้ 1 – 2 ครั้ง ในช่วงระบาด

บทความที่เกี่ยวข้อง

พบมาก : ในนาชลประทาน ภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคใต้สาเหตุเชื้อรา สาเหตุหลัก 6 ชนิดได้แก่ Curvularia lunata(Wakk) Boed. Cercospora oryzaeI.Miyake. Bipolaris oryzaeBreda de Haan. Fusarium semitectumBerk & Rav.
อ้อย เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย โดยปัจจุบัน อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล โอกาสที่จะขยายตัวอีกมาก สืบเนื่องจากนโยบายการบริหารพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning) ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่การเพาะปลูก ไปสู่การเพาะปลูกอ้อยโรงงาน โดยเมื่อปี 59/60 ประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกอ้อยรวมทั้งประเทศกว่า 10 ล้านไร่
เมื่อพูดถึงการทำไร่อ้อยในช่วงเวลานี้ คงต้องเน้นคุยกันเรื่องการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ แต่ในปัจจุบันการเพิ่มผลผลิตโดยการขยายพื้นที่คงทำได้ยาก มีหลักการง่าย ๆ ที่สามารถเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้โดยไม่ยาก แต่ต้องอาศัยข้อมูลพื้นฐานในพื้นที่ของตนเองประกอบกับเทคนิคต่าง ๆ อันเป็นที่ยอมรับว่าสามารถช่วยเพิ่มผลผลิต