การใช้แทรกเตอร์ขนาดเล็กในการบำรุงรักษาไร่อ้อย

การใช้แทรกเตอร์ขนาดเล็กในการบำรุงรักษาไร่อ้อย ด้วยการทำงานที่เต็มประสิทธิภาพสำหรับเกษตรกรไร่อ้อยโดยเฉพาะ

ปัจจุบันชาวไร่อ้อยเริ่มมีการนำเครื่องจักรกลการเกษตรมาประยุกต์ใช้ในไร่อ้อยกันมากขึ้น เริ่มตั้งแต่การเตรียมดิน การเพาะปลูก การบำรุงรักษา และการขนส่งเนื่องจากสามารถช่วยลดต้นทุน ทั้งในด้านการประหยัดท่อนพันธุ์และการจ้างแรงงานคน รวมไปถึงได้ผลผลิตที่มีคุณภาพด้วย ซึ่งสอดคล้องกับองค์ความรู้ด้านการเกษตรของสยามคูโบต้า ที่เรียกว่า “KUBOTA (Agri) Solutions เกษตรครบวงจร” ที่ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้เครื่องจักรกลในการทำเกษตรกรรม และใช้เทคนิคการทำการเกษตร เพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตและรายได้ ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทยให้ดีขึ้น

สยามคูโบต้า จึงได้มีการคิดค้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรใหม่ๆ เข้ามาช่วยลดความยากลำบาก ประหยัดเวลา และลดการสูญเสียผลผลิตให้แก่เกษตรกรหลากหลายประเภท โดยเฉพาะแทรกเตอร์ขนาดเล็ก ที่ปัจจุบันได้รับความนิยมจากเกษตรกรชาวไร่อ้อยจำนวนมาก เพราะสามารถเข้าร่องอ้อยได้สะดวก คล่องตัว ทำงานบำรุงรักษาในร่องอ้อยได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ ช่วยลดต้นทุน ประหยัดเวลา และลดปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงานคน

ที่ผ่านมา สยามคูโบต้าได้มีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดองค์ความรู้การใช้แทรกเตอร์ขนาดเล็กในไร่อ้อยมาอย่างต่อเนื่อง ผ่านการสาธิตและจัดทำแปลงทดสอบในพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้คำแนะนำแก่เกษตรกรชาวไร่อ้อยในการเลือกใช้เครื่องจักรกลได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และมีประสิทธิภาพสูงสุด

สำหรับการใช้แทรกเตอร์ขนาดเล็กในไร่อ้อย ยกตัวอย่างในขั้นตอนการพรวนดินกำจัดวัชพืช และขั้นตอนการใส่ปุ๋ย ได้ดังนี้

1.ขั้นตอนการพรวนดินกำจัดวัชพืช ใช้แทรกเตอร์ขนาดเล็กตั้งแต่ 20-27 แรงม้า ติดอุปกรณ์จอบหมุนและโรตารี่ ทำการพรวนดินระหว่างแถวอ้อย โดยตัวใบมีดจะทำหน้าที่สับลงที่ต้นวัชพืชและย่อยวัชพืชให้มีขนาดเล็ก เพื่อให้วัชพืชย่อยสลายได้เร็วและกลายเป็นอินทรียวัตถุในการปรับปรุงดิน  นอกจากนี้ ยังมีการใช้อุปกรณ์ชุดกลบโคนอ้อย ในการกลบโคนอ้อยในช่วงที่ต้นอ้อยแตกกอเต็มที่แล้ว เพื่อให้รากอ้อยถูกฝังดินได้ลึกขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ได้รับความชื้นจากดินมากขึ้น อีกทั้งยังทำให้รากอ้อยมีพื้นที่การเจริญเติบโตได้มากขึ้น และช่วยป้องกันการโค่นล้มเมื่ออ้อยโตเต็มที่

2. ขั้นตอนการใส่ปุ๋ย ได้แบ่งออกเป็น 3 ครั้ง ได้แก่ ครั้งแรก คือ ปุ๋ยรองพื้นใส่ในขั้นตอนการปลูกโดยใช้เครื่องปลูก ครั้งที่ 2 ในขณะที่ต้นอ้อยมีอายุประมาณ 2 – 3 เดือน จะใช้แทรกเตอร์ต่อพ่วงเครื่องฝังปุ๋ย ทดแทนการหว่านปุ๋ย เพื่อลดการสูญเสียปุ๋ยจากความร้อนและการพัดพาของน้ำ ทำให้อ้อยได้รับปุ๋ยอย่างทั่วถึง และครั้งที่ 3 ใส่ปุ๋ยแต่งหน้าในแปลง หรือบริเวณที่อ้อยยังไม่สมบูรณ์ในช่วงอายุประมาณ 4 – 5 เดือน สำหรับอายุอ้อยที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวนั้น ควรมากกว่า 10 เดือนขึ้นไป จึงจะได้ผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพที่ดี และควรมีการดูแลรักษาแปลงที่ดีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการใส่ปุ๋ย เพราะมีส่วนสำคัญในการเพิ่มคุณภาพผลผลิต  

สำหรับการส่งเสริมให้เกษตรกรใช้เครื่องจักรกลการเกษตร นอกจากจะช่วยให้อ้อยมีน้ำหนักลำและผลผลิตที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน อันจะส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพผลผลิต รวมถึงลดต้นทุนการผลิต ทำให้พี่น้องเกษตรกรชาวไร่อ้อยมืออาชีพมีกำไรเพิ่มมากขึ้นด้วย 

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียวเป็นแมลงจำพวกปากดูด ที่พบทำลายต้นข้าวในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ Nephotettix virescens (Distant) และ Nephotettix nigropictus stal
แม้ว่าการปลูกข้าวโพดหวานสามารถทำได้ตลอดปีถ้ามีแหล่งน้ำเพียงพอ อย่างไรก็ตามผลผลิตและคุณภาพข้าวโพดหวานอาจจะแตกต่างไปตามฤดูกาล นอกจากนี้พันธุ์บางพันธุ์อาจตอบสนองต่อฤดูปลูกแตกต่างกัน โดยทั่วไปในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ จะให้ผลผลิตต่ำกว่าในช่วงอื่น ๆ เนื่องจากอากาศเย็น ขณะที่การปลูกในเดือนเมษายน
การดูแลรักษาแปลงอ้อยโดยใช้แทรกเตอร์ขนาดเล็ก อ้อยเป็นพืชที่มีการปลูกเป็นแถว มีระยะห่างระหว่างแถวตั้งแต่ 80 – 180 เซนติเมตร ปลูกได้ทั้งแบบร่องคู่และร่องเดี่ยวขึ้นอยู่กับลักษณะการเจริญเติบโตของแต่ละพันธุ์อ้อยและความอุดมสมบูรณ์ของสภาพดินและน้ำ อีกทั้งเมื่อปลูกแล้วอ้อยยังสามารถเก็บเกี่ยวได้หลายครั้ง