การใช้ยิปซัมแก้ปัญหาดินเค็ม

ดินเค็ม เป็นหนึ่งในปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่การเพาะปลูก เนื่องจากมีปริมาณเกลือที่ละลายได้อยู่ในดินมากเกินไปจนส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช ดินเค็มที่มีปริมาณโซเดียมมากเกินไป ได้แก่ ดินโซดิก และดินเค็มโซดิก จะทาให้สมบัติทางกายภาพของดินเสีย อนุภาคดินไม่เกาะตัว เกิดการฟุ้งกระจายได้ง่าย ดินแน่นทึบ น้าซึมผ่านได้ยาก ทาให้เกิดปัญหาต่อการระบายน้า และการชะล้างเกลือออกจากดิน โดยการระบายน้าจะทาได้ง่ายในครั้งแรกแต่เมื่อทาการชะล้างเกลือไปได้ 2- 3 ครั้ง เกลือที่ละลายน้าได้ง่าย (เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม) ในดินจะลดลง แต่ยังคงเหลือปริมาณเกลือโซเดียมสูง ทาให้การชะล้างเกลือด้วยการระบายน้าเป็นไปได้ยากขึ้น

การแก้ไขปัญหาดินประเภทนี้จึงจาเป็นต้องใส่สารปรับปรุงดิน เพื่อให้เข้าไปแทนที่โซเดียมที่ดินดูดยึดไว้ทาให้เม็ดดินเกาะตัวกันมากขึ้น และเพิ่มความสามารถในการระบายน้าและถ่ายเทอากาศ โดยสารปรับปรุงดินที่นิยมใช้ ได้แก่ ยิปซัม

         ยิปซัม สามารถพบได้ตามธรรมชาติจากการตกตะกอนเป็นชั้นของยิปซัมในพื้นที่ทะเลเก่าที่เป็นแอ่งใหญ่ และได้จากการสังเคราะห์ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลาปาง โครงสร้างหลักประกอบด้วย แคลเซียม ซัลเฟต และโมเลกุลของน้า ซึ่งสามารถนามาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ เช่น นามาปรับสภาพดินเค็ม ลดความแน่นทึบและการชะล้างพังทลายของดิน ลดการสูญเสียธาตุอาหารพืช รวมถึงเป็นธาตุอาหารที่สาคัญ ทาให้ดินเหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรมากขึ้น ยิปซัมที่นามาใช้ปรับปรุงดินทางการเกษตรควรมีค่าความเป็นพิษของโลหะหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานปัจจัยการผลิต ทางการเกษตรตามระเบียบของกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ข้อดีของยิปซัมในการปรับปรุงดิน

1. ลดปัญหาความเค็มของดิน โดยแคลเซียมจากยิปซัมจะเข้าไปแทนที่โซเดียมในดินเค็ม ทาให้โซเดียมถูก ชะล้างออกจากดินได้โดยง่าย ส่งผลให้ระดับความเค็มของดินลดลง

2. ลดปัญหาการแน่นทึบหรือการจับตัวเป็นก้อนของดิน หรือการเกิดแผ่นแข็งของดิน โดยยิปซัมสามารถละลายน้าและแทรกซึมลงสู่ดินชั้นล่างได้ง่าย ทาให้ดินมีความโปร่ง ร่วนซุย น้าและอากาศแทรกซึมลงไปในดินได้ดี ส่งผลให้ความสามารถในการระบายน้าและอากาศดีขึ้น

3. ลดการกร่อนหรือการชะล้างพังทลายของหน้าดิน จากการไหลบ่าของน้าหน้าดิน เนื่องจากโครงสร้างดินที่ดีขึ้น เม็ดดินมีเสถียรภาพมากขึ้น ทาให้ความสามารถในการแทรกซึมน้าจากผิวดินลงสู่ดินชั้นล่างมากขึ้น ช่วยลดปัญหาการเกิดการไหลบ่าของน้าและการกร่อนดินได้

4. ลดอัตราการสูญเสียธาตุอาหารพืช ได้แก่ ฟอสฟอรัส แอมโมเนียมไนโตรเจน และไนโตรเจน

5. มีธาตุอาหารรองที่สาคัญ 2 ชนิด ได้แก่ แคลเซียม ช่วยในการแบ่งเซลล์และใช้ในกระบวนการภายในเซลล์ เสริมสร้างการเจริญเติบโต ตั้งแต่ระดับรากพืชในการดูดธาตุอาหารไปจนถึงการแตกกิ่งก้านและหน่อ สาหรับ กามะถัน ช่วยในการสังเคราะห์โปรตีน และสร้างคลอโรฟิลล์ที่ใช้สังเคราะห์แสง หากขาดกามะถันจะทาให้ใบมีสีเหลืองซีด

          การใส่ยิปซัม เพื่อปรับปรุงสภาพดินให้ดีขึ้น จากนั้นจึงทาการไถพรวนด้วยรถแทรกเตอร์รุ่น M และอุปกรณ์ต่อพ่วงผานพรวน เพื่อย่อยสลายเศษวัชพืชในแปลง และเป็นการพลิกหน้าดินเพื่อทาการเกษตรกรรมต่อไป

ข้าว การปลูกข้าวนาปรัง ใช้กล้าข้าว อายุ 20-25 วัน ปักดาข้าวจานวน 2 ต้น ต่อกอ ใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ ดินร่วมกับยิปซัม อัตรา 50 กิโลกรัม ต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง เมื่ออายุ 20 และ 60 วัน ให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น 670 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตข้าวสูงสุด 1,170 กิโลกรัมต่อไร่

มันสาปะหลังการใส่ยิปซัมอัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่ ปรับปรุงดินเค็มโซดิกที่ ดอนเพื่อปลูกมันสาปะหลัง และใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อมันสาประหลังอายุ 2 และ 4 เดือน ให้ผลผลิตหัวมันสาปะหลังสดเพิ่มขึ้น 500 กิโลกรัมต่อไร่ ในปีที่ 2 ของการปลูก

การใช้ยิปซัมเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยบรรเทาปัญหาดินเค็มที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ทางการเกษตรทั้ง กายภาพและทางเคมี ช่วยทาให้ดินมีคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกมากขึ้น พืชสามารถเจริญเติบโตได้ดี ให้ผลผลิตทางการ เกษตรเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การพัฒนาและใช้ประโยชน์พื้นที่ดินเค็มสาหรับการทาเกษตรกรรมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ถั่วลิสงเป็นพืชตระกูลถั่วที่ให้ประโยชน์ทั้งเป็นพืชบำรุงดิน และขายเป็นรายได้สำหรับเกษตรกร นำมาปลูกหลังเก็บเกี่ยวข้าวได้ทั้งในพื้นที่อาศัยน้ำชลประทานและไม่อาศัยน้ำชลประทาน แต่การปลูกถั่วลิสงหลังเก็บเกี่ยวข้าวโดยไม่อาศัยน้ำชลประทานสามารถทำได้ในบางพื้นที่เท่านั้น 1. การเลือกพื้นที่ปลูก พื้นที่ทำนา
พืชทุกชนิดมีความต้องการธาตุอาหารในการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งธาตุอาหารพืช ที่จำเป็น ประกอบด้วย 17 ธาตุ แบบออกเป็น 3 กลุ่ม ยกเว้น คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ได้จากการให้น้ำและอากาศ และธาตุอาหารรอง จุลธาตุส่วนใหญ่มีอยู่ในดินในระดับหนึ่ง โดยแบ่งเป็น 1. กลุ่มธาตุอาหารหลัก