การเลือกชนิดพืชปลูกให้เหมาะสมกับระดับความเค็มของดิน

การปลูกพืชในพื้นที่ดินเค็มควรเลือกชนิดพืชให้เหมาะสม เนื่องจากพืชแต่ละชนิดทนเค็มได้ไม่เท่ากัน สำหรับการจัดการดินเค็มเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจทนเค็ม ควรปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ เช่น แกลบดิบ ขี้เถ้าแกลบ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยพืชสด การให้น้ำควรให้แบบระบบน้ำหยด จะช่วยควบคุมความชื้นดินและความเค็มของดิน หลังปลูกต้องคลุมดินเพื่อรักษาความชื้น และป้องกันการสะสมของเกลือที่ผิวดิน ชนิดพืชที่สามารถปลูกได้ในระดับความเค็มต่างๆของดินดังนี้

1.  ดินเค็มน้อย พืชที่เจริญเติบโตได้ดี เช่น ถั่วฝักยาว คื่นฉ่าย มะเขือ แตงกวา แตงไทย กล้วย มะนาว ส้ม มะม่วง ถั่วเขียว ถั่วลิสง งา เป็นต้น

2.  ดินเค็มปานกลาง พืชเหมาะสมที่จะปลูกได้ เช่น ข้าว หอมแดง พริก ผักกาดหอม ข้าวโพดหวาน หอมใหญ่ น้ำเต้า บวบ บรอคโคลี่ แตงโม ชมพู่ แค และ ทับทิม เป็นต้น

3.  ดินเค็มมาก มีพืชทนเค็มเท่านั้นที่เจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ เช่น มะเขือเทศ ผักโขม ผักกาดหัว  แคนตาลูป ขี้เหล็ก กระถินณรงค์ ฝรั่ง ยูคาลิปตัส หญ้ากินนี เป็นต้น

4.  ดินเค็มจัด พืชทนเค็มจัดบางชนิดที่เจริญเติบโตได้ เช่น หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า กะเพรา มะขาม มะพร้าว มะขามเทศ และ ละมุด

ระดับความเค็มของดินกับการตอบสนองของพืช

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในระหว่างการเก็บเกี่ยว การขนส่ง การเก็บรักษา และการวางจําหน่ายข้าวโพดฝักอ่อน จะเกิดการสูญเสียน้ำมาก ทำให้ฝักเหี่ยวเป็นสีน้ำตาล น้ำหนักลดลง เมื่อเก็บไว้นานความหวานจะลดลง อาการฝักเน่าและบวมจะปรากฏมากขึ้น การปอกเปลือกข้าวโพดฝักอ่อนถ้าไม่มีความชํานาญจะทําให้ฝักอ่อนเกิดบาดแผลหรือ เกิดอาการช้ำได้
ปุ๋ยพืชสด คือ ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ได้จากการไถกลบหรือตัด สับ ต้น ในและส่วนต่างๆ ของพืชในขณะที่ยังสด ปกตินิยมใช้พืชตระกูลถั่ว เพื่อเจริญเติบโตเร็ว ขึ้นได้ในดินหลายชนิด ที่สำคัญคือ พืชตระกูลถั่วสามารถจับหรือตรึงธาตุไนโตรเจน(ที่เป็นธาตุอาหารหลักของพืชจากอากาศได้) โดยไถกลบในช่วงออกดอกซึ่งเป็น