การควบคุมแมลงศัตรูอ้อยโดยเชื้อราบิวเวอเรีย (ราขาว)

เชื้อราบิวเวอเรีย (Bauveria bassiana) เป็นเชื้อราในดินที่พบได้ทั่วไป มันเข้าทำลายแมลงทั้งตัวอ่อนและตัวแก่ได้อย่างกว้างขวาง พบว่าเชื้อราขาวเป็นศัตรูกับแมลงศัตรูพืชที่สาคัญๆ เช่น แมลงหวี่ขาว เพลี้ยอ่อน ตั๊กแตน ปลวก ด้วงงวงมันเทศ (Colorado potato beetle) ด้วงถั่วเม็กซิกัน (Mexican bean beetle) ด้วงญี่ปุ่น (Japanese beetle ) lygus bug chinch bug มดคันไฟ หนอนเจาะฝักข้าวโพด (European corn borer ) ผีเสื้อคอร์ดลิ่ง (codling mots) และ ผีเสื้อ Douglas fir tussock เชื้อราชนิดนี้ เกิดขึ้นในดินเป็นพวกที่กินซากที่เน่าเปื่อยผุพังในดิน (saprophyte)

 เชื้อราขาวสามารถผลิตสปอร์ (spores) ที่ต้านทานต่อสภาพแวดล้อมที่อาจรุนแรงได้ และเป็นสปอร์ (spores) ที่อยู่ในระยะที่ทำให้เกิดการติดเชื้อของช่วงวงจรชีวิตของเชื้อราสปอร์  (ที่ในกรณีนี เรียกว่า โคนิเดีย นั้นจะเข้าไปเพาะเชื้อโดยตรงที่ด้านนอกของผิวหนังแมลง   เมื่อสภาพแวดล้อมของความชื้นและอุณหภูมิเหมาะสมจะมีการงอกของสปอร์

ที่รวมเข้ากับผนังคิวติเคิลของแมลงเส้นใยของเชื้อราที่เจริญเติบโตมาจากสปอร์ จะผลิตเอนไซม์ ออกมาโจมตีและละลายผนังลำตัวของแมลงและทำให้เส้นใยแทงผ่านผนังลำตัวของแมลง เข้าไปเจริญเติบโตอยู่ในลำตัวของแมลง เมื่อเข้าไปอยู่ในลำตัวของแมลงแล้ว มันก็จะผลิตพิษที่เรียกว่า ” บิวเวอริซิน” ที่จะไปทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลง จนแมลงตายลง จนในที่สุดภายในตัวแมลงทั้งหมดจะเต็มไปด้วยมวลเส้นใยของเชื้อรา เมื่อสภาวะเหมาะสม เชื้อราก็จะเจริญเติบโตไปจนทั่วส่วนที่อ่อนกว่าของร่างกายแมลง โดยทำการสร้างลักษณะ “ดอกไม้บานสีขาว” ปรากฏให้เห็น จึงจะทำให้เจริญเติบโตออกนอกร่างกายแมลง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ประวัติ ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 84-1 ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ในระหว่างปี พ.ศ.2544-2551 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท เพื่อให้ได้ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมที่มีผลผลิตสูง และมีความเหนียวนุ่ม เกิดจากการผสมระหว่างสายพันธุ์แท้ F4305 กับสายพันธุ์แท้ M80 ผ่านการประเมินผลผลิตพันธุ์ลูกผสมตามขั้นตอนของกรม
การใช้แทรกเตอร์ขนาดเล็กในการบำรุงรักษาไร่อ้อย ด้วยการทำงานที่เต็มประสิทธิภาพสำหรับเกษตรกรไร่อ้อยโดยเฉพาะ ปัจจุบันชาวไร่อ้อยเริ่มมีการนำเครื่องจักรกลการเกษตรมาประยุกต์ใช้ในไร่อ้อยกันมากขึ้น เริ่มตั้งแต่การเตรียมดิน การเพาะปลูก การบำรุงรักษา และการขนส่งเนื่องจากสามารถช่วยลดต้นทุน ทั้งในด้านการประหยัด
ในช่วงนี้เป็นฤดูฝน สภาพอากาศมีความชื้นสูงซึ่งเหมาะสมต่อการเจริญของเชื้อราไฟท๊อปธอร่าสาเหตุโรค ใบร่วงของยางพารา เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงยางพาราอย่างสม่ำเสมอ และเฝ้าระวังการระบาดของโรคใบร่วงจากเชื้อราไฟท๊อปธอร่า เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Phytophthora botryosa chee, Phytophthora palmivora (Butl.)