ปลูกข้าว ใช้เวลากี่เดือน เก็บเกี่ยวข้าวเดือนไหน ผลผลิตดีที่สุด?

ปลูกข้าว ใช้เวลากี่เดือน เก็บเกี่ยวข้าวเดือนไหน ผลผลิตดีที่สุด?

การปลูกข้าว ใช้เวลากี่เดือน และเก็บเกี่ยวข้าวเดือนไหนจึงจะได้ผลผลิตดีที่สุดนั้น ขึ้นอยู่กับหลาย ๆ
ปัจจัย ทั้งพันธุ์ข้าว การดูแลระหว่างปลูก และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ รวมไปถึงประสิทธิภาพและคุณภาพ
ของเครื่องจักรกลการเกษตรที่ใช้ในการปลูกข้าวเกี่ยวข้าวต่างก็มีผลทั้งสิ้น โดย KUBOTA
จะพาไปดูรายละเอียดที่คุณควรรู้เกี่ยวกับการปลูกข้าวกันในบทความนี้

ปลูกข้าว ใช้เวลากี่เดือน

การปลูกข้าว แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือข้าวไวแสง และ ข้าวไม่ไวแสง ซึ่งทั้ง 2 ประเภท
จะมีลักษณะ ช่วงเวลาที่ปลูก และระยะเวลาที่ปลูกแตกต่างกันออกไป

ภาพจาก Doctorkaset

ปลูกข้าวไวแสง

ข้าวไวแสง (Photosensitive rice) คือข้าวที่ตั้งท้องและออกดอกในช่วงที่กลางวันสั้นกว่ากลางคืน
โดยต้องได้รับชั่วโมงแสงน้อยกว่า 12 ชม. จึงจะตั้งท้องและออกดอก นิยมเพาะปลูกในช่วงนาปี
(พฤษภาคม-สิงหาคม) โดยแบ่งเป็น ข้าวเบา ข้าวกลาง ข้าวหนัก ที่มีระยะเวลาการปลูกแตกต่างกันออกไป ข้าวเบาออกดอกช่วงกันยายน-ตุลาคม ข้าวกลางออกดอกช่วงปลายเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน
ข้าวหนักออกดอกช่วงธันวาคม-กุมภาพันธ์

พันธุ์ข้าวไวแสงที่นิยมปลูกในไทยมีหลัก ๆ 4 พันธุ์ได้แก่

  1. ข้าวขาวดอกมะลิ 105
  2. ข้าวกข15
  3. ข้าวพิษณุโลก 3
  4. ข้าวกข6

ปลูกข้าวไม่ไวแสง

ข้าวไม่ไวแสง (Non-Photosensitive rice) คือข้าวที่ออกดอกตามอายุ ปลูกได้ตลอดปีหากมีน้ำมากพอ ช่วงแสงไม่มีอิทธิพลต่อการสร้างช่อดอก พันธุ์ข้าวนี้จะมีระยะเวลาการออกดอกและเก็บเกี่ยวตามอายุ
ค่อนข้างแน่นอน โดยแบ่งเป็นข้าวเบา ข้าวกลาง ข้าวหนัก เหมือนกับข้าวไวแสง ซึ่งแต่ละสายพันธุ์
มีความต้องการอุณหภูมิไม่เท่ากัน ข้าวไม่ไวต่อแสงมีอายุประมาณ 105-150 วัน โดยตัวอย่าง
ของพันธุ์ข้าวนี้ได้แก่

  1. ข้าวเจ้าชัยนาท 1
  2. ข้าวเจ้าสุพรรณบุรี 1
  3. ข้าวเจ้าสุพรรณบุรี 3(ดอนเจดีย์)
  4. ข้าวเจ้าพิษณุโลก 2
  5. ข้าวเจ้าปทุมธานี 1
  6. ข้าวเจ้ากข29 (ชัยนาท 80)
  7. ข้าวเจ้ากข31 (ปทุมธานี80)
  8. ข้าวเหนียวสันป่าตอง 1

เก็บเกี่ยวข้าวเดือนไหน ถึงจะเหมาะที่สุด

สำหรับการเก็บเกี่ยวข้าวตามชนิดที่แบ่งตามฤดูกาลเพาะปลูก มีหลัก ๆ 2 ชนิดดังนี้

เก็บเกี่ยวข้าวน้ำฝน ข้าวนาปีเดือนไหน

ข้าวน้ำฝน หรือ ข้าวนาปี เป็นข้าวที่ปลูกในฤดูการทำนาปกติ (In-season rice) เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมและเก็บเกี่ยวสิ้นสุดไม่เกินเดือนกุมภาพันธ์ โดยสามารถดูอย่างละเอียดจากปฏิทินการปลูกข้าวนาปีได้โดยตรง

เก็บเกี่ยวข้าวนาปรังเดือนไหน

ข้าวนาปรังเป็นข้าวที่ปลูกนอกฤดูการทำนาปกติ (Off-season rice) คือไม่ได้รอช่วงหน้าฝน โดยเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม โดยจะนิยมปลูกในพื้นที่ที่มีการชลประทานที่ดี เช่น ภาคกลาง

ปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อการปลูกข้าว เก็บเกี่ยวข้าวในแต่ละเดือน

ในการปลูกข้าว เก็บเกี่ยวข้าว ปัจจัยอื่น ๆ อย่างปัจจัยภายใน (ลักษณะทางพันธุกรรมของข้าวที่ปลูก) และปัจจัยภายนอก (สภาพแวดล้อมที่ปลูก) ก็มีผลเช่นกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้

สายพันธุ์ข้าวที่ปลูก

พันธุกรรมของข้าวแต่ละพันธุ์จะส่งผลให้ข้าวมีอัตราการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่แตกต่างกัน
ทั้งในเรื่องการเจริญเติบโต การตอบสนองต่อแร่ธาตุต่าง ๆ ความต้านทานโรคแมลง ประสิทธิภาพ
การแตกกอ ขนาดเมล็ด น้ำหนักเมล็ด ฯลฯ  

ภาพจาก Kasetnumchok

สภาพดินฟ้าอากาศ

เช่น แสงสว่าง ดิน อากาศ น้ำ เนื่องจากพืชต้องการแสงสว่างที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสง
และสร้างอาหาร ต้องการที่ยึดเหนี่ยวที่แข็งแรงเพื่อให้ลำต้นและรากคงอยู่ในองศาและลักษณะที่เหมาะสม ต้องการอากาศที่เพียงพอ เพื่อให้ได้รับคาร์บอนไดออกไซด์ในการสังเคราะห์แสง และต้องการน้ำ
ในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อดูดและลำเลียงแร่ธาตุอาหาร

วัชพืช แมลงต่าง ๆ

สิ่งที่เป็นอันตรายทั้งหลายเช่นโรค และแมลงศัตรูพืช สัตว์ศัตรูพืช วัชพืช และสารที่เป็นพิษ
เป็นสิ่งที่ไม่ควรมีเลย เพราะเป็นภัยต่อการเจริญเติบโตของข้าวโดยตรง

ภาพจาก Unilife

อุณหภูมิสะสม

แต่ละระยะเวลาการเติบโตของต้นข้าว มีอุณหภูมิเหมาะสมที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

  • เมล็ดงอก 18-40°C
  • ต้นอ่อน 25-30°C
  • ราก 25-28°C
  • ใบขยายตัว 31°C
  • ผสมพันธุ์ 30-33°C
  • เมล็ดสุกแก่ 20-29°C
ภาพจาก Tools.in.th

การจัดการ

หรือการดูแลต้นข้าวด้วยวิธีการต่าง ๆ ของเกษตรกร เช่น ระบบการปลูก ระยะการปลูก วิธีการปลูก จำนวนต้น ความลึกที่ปัก ตลอดจนถึงการดูแลในแต่ละระยะการเจริญเติบโต ต่างมีผลต่อการปลูกข้าว
ทั้งสิ้น

ภาพจาก Refarmers

เครื่องจักรกลการเกษตรที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บเกี่ยวข้าว

คูโบต้าขอแนะนำรถเกี่ยวนวดข้าว 2 รุ่นมาแรง ที่ช่วยให้เกี่ยวข้าวได้อย่างคล่องตัว และช่วยให้เกษตรกรทำงานได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

1.    รถเกี่ยวนวดข้าวรุ่น DC-70G PRO Cabin

  • กำลังเครื่องยนต์ 69 แรงม้า
  • เครื่องยนต์ไดเร็คอินเจ็คชั่น 4 สูบ 4 จังหวะ สูบตั้ง
  • หน้าเกี่ยวกว้าง 2.08 เมตร
  • ถังบรรจุข้าวขนาด 1 ตัน
  • ระบบปรับอากาศ ขนาด 20,000 บีทียู
  • ห้องโดยสารขนาดใหญ่
  • ไฟส่องสว่าง
  • อีกทั้งยังรองรับน้ำมัน B20 ที่ช่วยให้ผู้ใช้ทั้งประหยัดน้ำมันและช่วยลดมลพิษ
  • ราคา 1,259,000บาท

สามารถดูรายละเอียดทั้งหมดได้ที่ https://www.siamkubota.co.th/combine_harvester/dc-70gprocabin/

2.    รถเกี่ยวนวดข้าวรุ่น DC-93G KIS

  • กำลังเครื่องยนต์ 93 แรงม้า
  • เครื่องยนต์รุ่นใหม่ V3800DI-TE2 เครื่องแรงเต็มกำลัง
  • น้ำหนักตัวรถเบา เพียง 3,875 กก. ลดปัญหาพื้นนาเสียหาย
  • หน้าเกี่ยวกว้าง 2.18 ม.
  • ความจุถังน้ำมัน 120 ลิตร
  • ถังบรรจุเมล็ดข้าว 1,100 กก.
  • ชุดล้อโน้มปรับขึ้น-ลงได้และนิ้วเกี่ยวแบบคอยล์สปริง ช่วยลดปริมาณข้าวร่วงหล่นในขณะเกี่ยว
  • ตะแกรงคัดแยก 5 ระดับ คัดแยดพันธุ์ข้าวแต่ละชนิดได้อย่างสะอาด
  • ราคา 1,430,000 บาท

สามารถดูรายละเอียดทั้งหมดได้ที่ https://www.siamkubota.co.th/combine_harvester/dc-93-kis/

สรุปทั้งหมดเกี่ยวกับช่วงเวลาการปลูกข้าว และควรเก็บเกี่ยวข้าวเดือนไหน

สำหรับคำถามที่ว่าปลูกข้าว ใช้เวลากี่เดือน และเก็บเกี่ยวข้าวเดือนไหน ผลผลิตดีที่สุด คำตอบก็คือ
ขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย ทั้งชนิดของข้าว สภาพแวดล้อม วิธีการปลูก ฯลฯ ซึ่งหากเกษตรกร
จะเริ่มปลูกข้าว ก็สามารถศึกษาข้อมูลได้จากบทความนี้ และที่สำคัญอย่างมากอีกอย่างก็คือการมีเครื่องจักรกลการเกษตรที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกข้าวและเก็บเกี่ยวข้าว อย่างรถเกี่ยวนวดข้าวรุ่น DC-70G PRO Cabin และ DC-93G KIS จาก KUBOTA นั่นเอง

หากคุณต้องการติดต่อสอบถามเพิ่มเติม / สั่งซื้อ สามารถติดต่อเราได้ตามช่องทางด้านล่างนี้

  • KUBOTA CONNECT ติดต่อกับเราที่เบอร์ 02-029-1747
  • Facebook Fanpage: Siam Kubota และ Kubota Drone Club – คูโบต้าโดรนคลับ
  • ดูสินค้าทั้งหมดผ่านเว็บไซต์: SiamKubota
  • อัปเดตสิทธิพิเศษ หรือติดต่อผ่านทาง LINE OA: @siamkubota
  • รับชมวีดีโอการใช้งานเครื่องจักรกลทางการเกษตรที่: SIAMKUBOTA

อ้างอิงข้อมูล: กองวิจัยการพัฒนาข้าว กรมข้าว  กรมส่งเสริมการเกษตร , สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง, chaipattana

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

ความจำเป็นที่ต้องใช้เครื่องปักดำ นาหว่าน มีปัญหาข้าวดีด,หญ้าวัชพืชและผลผลิตต่ำ ในการขาดแคลนแรงงานคนในช่วงเวลาปักดำ รวมทั้งมีค่าจ้างแรงงานสูง เป็นปัญหาที่สำคัญในการปลูกข้าว โดยเฉพาะในท้องที่ที่ยังคงปลูกข้าวด้วยวิธีปักดำ การใช้รถดำนาจึงเป็นวิธีที่ช่วยแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาดังกล่าวได้เป็นอย่างดี
ประเทศไทยมีศักยภาพการผลิตข้าวอินทรีย์สูงมาก เพราะมีพื้นที่นา ทรัพยากรน้ำ และปัจจัยแวดล้อมทั่วไปเหมาะแก่การทำนา มีความหลากหลายของพันธุ์ข้าวที่ปลูก เกษตรกรไทยคุ้นเคยกับการผลิตข้าวมาหลายศตวรรษ การผลิตข้าวของประเทศไทยในสมัยก่อนเป็นระบบการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์เพราะไม่มีการใช้สารเคมีสังเคราะห์ต่อมาในปัจจุบัน