ศักยภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ในประเทศไทย

ประเทศไทยมีศักยภาพการผลิตข้าวอินทรีย์สูงมาก เพราะมีพื้นที่นา ทรัพยากรน้ำ และปัจจัยแวดล้อมทั่วไปเหมาะแก่การทำนา มีความหลากหลายของพันธุ์ข้าวที่ปลูก เกษตรกรไทยคุ้นเคยกับการผลิตข้าวมาหลายศตวรรษ

การผลิตข้าวของประเทศไทยในสมัยก่อนเป็นระบบการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์เพราะไม่มีการใช้สารเคมีสังเคราะห์ต่อมาในปัจจุบันถึงแม้จะมีการใช้ปุ๋ยและสารเคมีต่างๆ ในนาข้าวแต่ก็ยังมีใช้ในปริมาณน้อย และมีเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการผลิตข้าวอินทรีย์ในภูมิภาคต่างๆ

จากปัจจัยแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ความพร้อมในด้านทรัพยากรบุคคล และเทคโนโลยีที่เหมาะสมการผลิตข้าวอินทรีย์ที่กล่าวมาแล้วแสดงให้เห็นถึงศักยภาพข้าวอินทรีย์ในประเทศ เพื่อเป็นทางเลือกของเกษตรกร นอกจากผลิตเพื่อส่งออกจำหน่ายนำเงินตราเข้าประเทศแล้ว ยังสามารถขยายการผลิตเพื่อใช้บริโภคภายในประเทศ เพื่อสุขอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทยรวมถึงการลดปัญหามลพิษที่กำลังประสบอยู่ในภาวะในปัจจุบันนี้อีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาน้ำเค็มไหลเข้าพื้นที่การเกษตรหลายแห่ง ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ทำการเพาะปลูกพืชมากมาย และส่งผลกระทบต่อพืชโดยตรง เช่น ปลายใบไหม้ ต้นเหี่ยว และใบเหลือง ทำให้ผลผลิตของเกษตรกรลดลง ซึ่งสาเหตุการเกิดน้ำเค็มในแต่ละภาคแตกต่างกันไป เช่น บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้
เตรียมส่วนผสม ขั้นตอนที่ 1: ราบิวเวอเรีย 1 ก้อน ผสมกับกับน้ำ 2 ลิตร และน้ำยาล้างจาน 2 ช้อนชา (10 มิลลิลิตร) ขั้นตอนที่ 2 : ขยี้ให้สปอร์หลุดจากเมล็ดข้าว แล้วกรองผ่านผ้าขาวบาง เทใส่ลงในส่วนผสมในขั้นตอนที่ 1 จะได้สารละลายสีขาวขุ่น ขั้นตอนที่ 3 : เติมน้ำใส่ลงในส่วนผสมให้ครบ 20 ลิตร ขั้นตอนที่ 4