โรคใบวงสีน้ำตาล (Leaf Scald Disease)

พบในข้าวไร่ภาคเหนือและภาคใต้ และ ข้าวนาสวน (นาปี) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

สาเหตุ : เชื้อรา Rhynocosporium oryzae Hashioka&Yokogi

อาการ : ระยะกล้าข้าวจะแสดงอาการไหม้ที่ปลายใบและมีสีน้ำตาลเข้ม ระยะแตกกออาการส่วนใหญ่จะเกิดบนใบ แต่มักจะเกิดแผลที่ปลายใบมากกว่าบริเวณอื่นๆ ของใบ แผลที่เกิดบนใบในระยะแรกมีลักษณะเป็นรอยช้ำ รูปไข่ยาวๆ แผลสีน้ำตาลปนเทา ขอบแผลสีน้ำตาลอ่อน จากนั้นแผลจะขยายใหญ่ขึ้นเป็นรูปวงรี ติดต่อกัน ทำให้เกิดอาการใบไหม้บริเวณกว้าง และเปลี่ยนเป็นสีฟางข้าว ในที่สุดแผลจะมีลักษณะเป็นวงซ้อนๆ กันลุกลามเข้ามาที่โคนใบ มีผลทำให้ข้าวแห้งก่อนกำหนด

การแพร่ระบาด มีพืชอาศัย เช่น หญ้าชันกาด และหญ้าขน

การป้องกันกำจัด

  • ใช้พันธุ์ข้าวต้านทาน เช่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือใช้ หางยี 71
  • กำจัดพืชอาศัยของเชื้อราสาเหตุโรค
  • ในแหล่งที่เคยมีโรคระบาด หรือพบแผลลักษณะอาการดังที่กล่าวข้างต้นบนใบข้าวจำนวนมาก ในระยะข้าวแตกกอ ควรฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น ไธโอฟาเนทเมทิล  โพรพิโคนาโซล ตามอัตราที่ระบุ

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับการปรับปรุงบำรุงดินทำได้หลากหลายวิธี โดยการใช้อินทรียวัตถุในรูปแบบต่างๆ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยพืชสด การใช้วัสดุคลุมดินหรือการไถกลบตอซังของพืชที่ปลูก แต่หลายๆวิธีการที่กล่าวมานั้นต้องมีการจัดเตรียมหรือจัดหามาจากแหล่งภายนอก บางครั้งต้องเสียค่าใช้จ่าย วิธีการไถกลบ
ข้าวที่ดีที่สุดในโลกคือ ข้าวหอมมะลิ 105 ของไทยไม่มีใครกล้าปฏิเสธ แต่ผลผลิตที่เกษตรกรปลูกได้ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 350-450 กก./ไร่ เท่านั้น แต่มีกลุ่มเกษตรกรบ้านช้างมิ่ง จ.สกลนคร ปลูกข้าวหอมมะลิได้ผลผลิตถึง 700 กก./ไร่ และยังได้ราคาสูงกว่าราคากลางถึง 20% เขามีวิธีการอย่างไรเรามาดูกัน โดยการศึกษาครั้งนี้ผู
ข้าวหอมมะลิ (Thai jasmine rice) (Official name “Thai Hom Mali”) เป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีถิ่นกำเนิดในไทย มีลักษณะกลิ่นหอมคล้ายใบเตย เป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกที่ไหนในโลกไม่ได้คุณภาพดีเท่ากับปลูกในไทย และเป็นพันธุ์ข้าวที่ทำให้ข้าวไทยเป็นสินค้าส่งออกที่รู้จักไปทั่วโลก ประวัติและที่มา เมื่อปี พ.ศ.