ชุดดินรือเสาะ

ชุดดินในที่ดอนที่สำคัญ ในภาคใต้

7. ชุดดินรือเสาะ (Rusoseries : Ro)

กลุ่มชุดดินที่ 32

การกำเนิด : เกิดจากตะกอนของน้ำพามาทับถมอยู่บนตะพักลำน้ำหรือสันดินริมน้ำ

สภาพพื้นที่ : ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 1-5 %

การระบายน้ำ : ดี

การซึมผ่านได้ของน้ำ : ปานกลางถึงเร็ว

การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : ปานกลาง

ลักษณะสมบัติของดิน : เป็นดินลึกมาก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนถึงดินร่วนปนดินเหนียว สีน้ำตาลหรือน้ำตาลปนเหลือง ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนดินเหนียวหรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้งมีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลปนเหลือง พบเกล็ดแร่ไมกาตลอด ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดปานกลาง (pH 4.5-6.0) ตลอดหน้าตัดดิน

การแพร่กระจาย : พบกระจายตัวอยู่บริเวณสันดินริมแม่น้ำทุกจังหวัดของภาคใต้ ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ที่ดินในการปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคใต้ ได้แก่ ทุเรียน ลองกอง เงาะ มังคุด ยางพารา และปาล์มน้ำมัน

ปัญหาและข้อจำกัด : ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำและมักขาดน้ำในช่วงที่ฝนทิ้งช่วงนานๆ

ข้อเสนอแนะ : เหมาะสมสำหรับการทำสวนผลไม้ จำเป็นต้องมีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และในบริเวณนี้เป็นแหล่งปลูกผลไม้ที่สำคัญของภาคใต้ ในบางช่วงของปีต้องมีการชลประทานเข้าช่วย

สมบัติทางเคมี :

บทความที่เกี่ยวข้อง

สาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อราในสภาพพื้นที่ ที่มีความชื้นสูงติดต่อกันมากกว่า 2 สัปดาห์ ในพันธุ์มันสำปะหลังที่อ่อนแอ เช่น ระยอง 72 หรือ ระยอง11 ส่วนพันธุ์ที่ค่อนข้างทนทาน ยอดจะเหี่ยวแห้งตายลงมาทำให้เกิดมีการเจริญเติบโตของกิ่งหรือยอดใหม่ น้ำหนักผลผลิตจะลดลงหรือเก็บเกี่ยวล่าช้า ผลผลิตจะเสียหาย 30 – 40%
โรคไหม้ คืออะไร ? สาเหตุเกิดจาก เชื้อรา Pyricularia grisea Sacc. พบมาก ในน้ำฝน ข้าวพันธุ์พื้นเมืองไวต่อช่วงแสง พบส่วนใหญ่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตกและภาคใต้
หลักพิจารณาสภาพพื้นที่ในการสร้างแปลงเพาะกล้ายาง 1. พื้นที่สำหรับสร้างแปลงกล้า – ควรเป็นที่ราบ สามารถระบายน้ำได้ดี อยู่ใกล้แหล่งน้ำ การคมนาคมสะดวก ดินร่วน ดินที่ไม่เหมาะสมคือ ดินทรายจัด และดินเหนียว เพราะการระบายน้ำไม่ดี 2. การเตรียมดิน – ไถพลิกดิน