การจัดการดินหลังน้ำท่วมในนาข้าว

การเกิดสภาวะน้ำท่วมพื้นที่นาข้าว อาจเกิดได้ 2 กรณี คือจากฝนตกหนักน้ำไหลบ่าท่วมฉับพลัน หรือน้ำท่วมขังเป็นระยะเวลานาน ผลกระทบและความเสียหายที่เกิดขึ้น ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าว ดังนั้นหลังจากน้ำลดลงระดับปกติจึงควรมีการจัดการดินที่เหมาะกับการปลูกข้าว ซึ่งความรุนแรงของความเสียหายขึ้นกับระยะการเจริญเติบโตของข้าว ความลึกของน้ำ และระยะเวลาการท่วมขัง ดังนี้

ความเสียหายของข้าวหลังจากน้ำท่วม

 1. ระยะต้นอ่อนที่อายุน้อยกว่า 30 วัน ถ้าท่วมเกิน 10 วัน ข้าวลอยและแช่น้ำเน่าเสียหายทั้งหมด

2. ระยะแตกกอ น้ำท่วมมิดยอดเกิน 1-2 สัปดาห์ ข้าวแช่น้ำเน่าตาย กรณีข้าวโผล่พ้นผิวน้ำ หลังน้ำลดจะทำให้ต้นข้าวหักล้ม

3. ระยะเกิดช่อดอก ทำให้ชะงักการเกิดช่อดอกเป็นผลให้เมล็ดลีบในระยะหลัง

4. ระยะใกล้ออกดอก รวงจะโผล่ไม่พ้นกาบใบ

5. ระยะออกดอก จะทำให้เมล็ดข้าวลีบ

6. ระยะใกล้เก็บเกี่ยว ถ้าน้ำท่วมขังนาน ข้าวจะล้มและเมล็ดข้าวงอกเน่า

ผลกระทบต่อคุณสมบัติของดินหลังน้ำท่วม

ในขณะที่น้ำท่วมขังในระดับสูง ดินจะอิ่มด้วยน้ำ ทำให้ดินขาดอากาศ และเกิดปฏิกิริยาทางเคมีบางอย่าง ก่อให้เกิดสารประกอบอินทรีย์ เช่น กรดบูทีริก และไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซึ่งเป็นพิษต่อต้นข้าว หลังน้ำลดควรรีบระบายออกแล้วปล่อยให้ดินแห้ง นอกจากนี้ปริมาณอินทรียวัตถุ จุลินทรีย์หน้าดิน และธาตุอาหารจะลดลงจาก

บริเวณที่ถูกกระแสน้ำพัดพาไป แต่จะเพิ่มขึ้นในที่พื้นที่ลุ่มต่ำจึงควรปลูกพืชผัก หรือพืชไร่ในพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากมีธาตุอาหารพืชสะสมอยู่ในตะกอน

แนวทางการจัดการดินในนาหลังน้ำท่วม

1.  นาข้าวระยะแตกกอ 

–  ลดระดับน้ำในแปลงนา โดยระบายน้ำออกให้ยอดโผล่พ้นน้ำ

–  เมื่อน้ำลดสู่สภาวะปกติ ควบคุมระดับน้ำให้เหลือ 5-10 เซนติเมตร

–  ใส่ปุ๋ยตามอัตราแนะนำ พร้อมฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 อัตรา 5 ลิตรต่อไร่

–  เมื่อข้าวอายุ 50 และ 60 วัน ข้าวพันธุ์ไวต่อช่วงแสงที่ปลูกในดินร่วนเหนียวหรือดินเหนียว ใส่ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ใน ระยะกำเนิดช่อ ดอก หรือ 30 วันก่อนข้าวออกรวง

–  สำหรับพันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงใส่ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่

2.  นาข้าวระยะออกรวงเร่งระบายน้ำออก และไม่ควรใส่ปุ๋ยเคมี โดยเฝ้าระวังโรคและแมลง

3.  นาข้าวระยะสุกแก่เก็บเกี่ยวข้าวและตากให้แห้งโดยเร็ว เพื่อลดความชื้นของเมล็ด

4.  นาข้าวที่ได้รับความเสียหายเกือบทั้งหมด

–  เมื่อน้ำลดลงจนแห้ง เตรียมดินปลูกข้าว ในฤดูปลูกถัดไป

–  ไถกลบตอซังข้าวที่เหลืออยู่ในนา เพื่อให้ตอซังข้าวย่อยสลายเป็นปุ๋ยต่อไป

–  กรณีที่ไม่สามารถปลูกข้าวทันตามฤดูกาล แนะนำให้ปลูกพืชปุ๋ยสด เช่น ปอเทือง อัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่ ไถกลบระยะออกดอก เพื่อปรับปรุงดินและเพิ่มธาตุอาหารในดิน หรือผลิตเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองหรือจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้เสริม ต่อไร่ ไถกลบระยะออกดอก เพื่อปรับปรุงดินและเพิ่มธาตุอาหารในดิน หรือผลิตเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองหรือจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้เสริม 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปุ๋ยที่เป็นธาตุอาหารสำหรับพืชแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี ข้อดีของปุ๋ยเคมีคืออุดมไปด้วยสารอาหารที่ครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ต้นไม้ต้องการ แต่ช่วงนี้ปุ๋ยเคมีราคาแพงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรสูงขึ้น ดังนั้นปุ๋ยอินทรีย์จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือก ปุ๋ยอินทรีย์คืออะไร ปุ๋ยอินทรีย์ หมายถึง
“ในชีวิตประจำวันของทุกท่าน ได้รับประทานสมุนไพรบ้างหรือไม่ อ่ะๆ อย่าเพิ่งบอกว่าไม่ เพราะหลายสิ่งรอบตัวที่รับประทานกันทุกวัน ล้วนมีสมุนไพรอยู่มากมาย ตั้งแต่พริก กระเพรา กระเทียม ขิง ข่า ตะไคร้ ไปจนถึง ใบมะกรูด แต่สมุนไพรเหล่านี้เมื่อมนุษย์รับประทานก็จะเป็นผลดีต่อสุขภาพ แต่ตรงกันข้ามหากนำไปใช้กับ