ข้าวโพดหวาน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zea mays var. rugosa

ชื่อสามัญ : Sweet corn

วงศ์ : Poaceae

ข้าวโพด เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ปลูกฤดูเดียว ลักษณะลำต้นเป็นปล้องสีเขียวจำนวน 8 – 20 ปล้อง  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 – 4 ซม. สูงประมาณ 150 – 220 ซม. ใบมีสีเขียวลักษณะเรียว ขนาดของใบแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ โดยทั่วไปดอกตัวผู้ จะบานก่อนดอกตัวเมียและพร้อมจะผสมภายใน 1 – 3 วัน และทยอยบานทีละคู่ใช้เวลา 2 – 14 วัน ดอกตัวเมียมีลักษณะเป็นฝัก จากแขนงสั้นๆ บนข้อที่มีใบใหญ่สุด แขนงดังกล่าวประกอบด้วยใบ 8 – 13  ใบ เจริญเป็นกาบหุ้มส่วนของดอกตัวเมียและหุ้มฝัก (husk) ก้านเกสรตัวเมียมีลักษณะคล้ายเส้นไหม เจริญออกมาด้านส่วนปลายฝัก ประกอบด้วยเมือกเหนียวเพื่อดักจับละอองเกสร

การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร ข้าวโพดหวานจัดเป็นพืชที่ให้พลังงานสูง และมีปริมาณโปรตีนรองจากถั่วลันเตา ถั่วแขก และกระเทียม นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วยธาตุอาหารที่สูง เช่น  ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และไทอามีน นอกจากนี้พันธุ์ที่มีสีเหลืองมากๆ จะมีวิตามินเอสูง เป็นต้น

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

ข้าวโพดหวาน เป็นพืชที่ต้องการอากาศอบอุ่น อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกและการเจริญเติบโตควรอยู่ระหว่าง 21 – 30 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตามอุณหภูมิที่ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพควรอยู่ในช่วง 16 – 24 องศาเซลเซียส

การเตรียมดิน

1. ไถบุกเบิก โดยตากดินอย่างน้อย 7 วัน เพื่อกำจัดเชื้อโรคพืชและแมลงในดิน

2. หากสามารถตรวจเช็คค่า pH ของดินได้จะช่วยในด้านการเติบโตของข้าวโพด โดยค่า pH ควรอยู่ในช่วง 6 – 6.5 หากสภาพดินเป็นกรดคือต่ำกว่า 6 ให้เติมปูนขาวหรือดินโดโลไมค์ ในอัตรา 100 กก./ไร่ เพื่อปรับสภาพดิน หลังจากนั้นควรใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกช่วยปรับสภาพดินในอัตรา 2 – 5 กก./ตร.ม. ทั้งนี้ขึ้นกับสภาพดินและผสมปุ๋ยเคมี สูตร 16 – 20 – 0 อัตรา 25 – 50 กก./ไร่ หากสภาพดินเป็นดินทราย ควรจะใช้ปุ๋ย สูตร 15 – 15 – 15 แทนปุ๋ย16 – 20 – 0

การเตรียมกล้า

1. เพาะกล้าในถาดหลุมเมื่อมีอายุ 7 วัน แล้วจึงย้ายการปลูก

2. หากเพาะกล้าในแปลงเพาะโดยการหว่านเมล็ดในแปลงเพาะแล้วใช้แกลบดำกลบ ควรมีวัสดุคลุมแปลงเพื่อเพิ่มความชื้นและลดความร้อนในช่วงกลางวัน

3. การหยอดเมล็ดในแปลงปลูก ควรบ่มเมล็ดก่อนโดยการใช้ผ้าชุบน้ำให้เปียกและห่อเมล็ดไว้  1 คืนให้รากเริ่มงอก แล้วนำไปหยอดในแปลงปลูกลึกประมาณ 1 ซม. และรดน้ำให้ชุ่ม

การปลูก

1. ระยะปลูก (ต้น x แถว) 25 x 75 ซม. (5.3 ต้น/ตร.ม)

– ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 ใช้ 2 สูตร 21 – 0 – 0 หรือ 15 – 15 – 15 อัตรา 50 กก./ไร่ โดยการละลายในน้ำ 80 ลิตร  รดบริเวณโคนต้นหรือใช้วิธีการหยอดที่โคนต้น

– ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 เมื่อปลูกได้ 20 – 25 วัน พร้อมทั้งกำจัดวัชพืช และทำการคลุมโคน โดยหลังจากนี้เป็นช่วงที่มีความสำคัญมาก เพราะข้าวโพดกำลังเริ่มสร้างช่อดอกเกสรตัวผู้ภายในลำต้นและระบบรากกำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วไม่ควรที่จะรบกวนระบบรากมากนักอาจจะทำให้ต้นเหี่ยวและชะงักการเติบโตได้

2. เมื่อข้าวโพดมีอายุได้ 30 – 40 วัน ต้นจะมีการแตกแขนง ให้เด็ดหน่อข้างลำต้นออก ให้เหลือฝักบนเพียง 1 ฝัก และควรตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เพราะอาจมีการเข้าทำลายของโรคราน้ำค้าง  ราสนิมและการเข้าทำลายของหนอนเจาะลำต้นและฝัก

3. เมื่อมีอายุได้ 45 – 50 วัน ใส่ปุ๋ยครั้งสุดท้าย และให้น้ำอย่างต่อเนื่อง เพราะหากขาดน้ำ ต้นข้าวโพดจะหยุดการสร้างฝักเมล็ดส่วนปลายฝักจะฝ่อทันที

การเก็บเกี่ยว

ช่วงเก็บเกี่ยว โดยทั่วไปจะเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวานเมื่อมีอายุ 16 – 20 วันหลังจากที่ข้าวโพดผสมเกสร  ลักษณะเปลือกเมล็ดไม่หนาเกินไป การเก็บเกี่ยวก่อนกำหนดจะทำให้ข้าวโพดหวานอ่อนเกินไปและมีน้ำหนักฝักน้อย ในขณะที่การเก็บอายุมากเกินไป ถึงแม้จะได้น้ำหนักฝักมากขึ้น  แต่เปลือกเมล็ดจะหนา และข้าวโพดเสียคุณภาพ

ดังนั้นเกษตรกรผู้ปลูกจะต้องทำการนับวันที่ข้าวโพดออกไหม แล้วถึงทำการกำหนดวันเก็บเกี่ยว โดยนับจากวันออกไหม 16 – 20 วัน ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของข้าวโพดหวาน จะพบว่าพันธุ์ลูกผสมมีช่วงการออกดอกสม่ำเสมอจะทำให้เกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เสร็จสิ้นภายในครั้งเดียว เมื่อถึงกำหนดการเก็บเกี่ยวในช่วงเวลาที่เหมาะสมจะสัมพันธ์กับความอ่อน – แก่ ขนาด รูปร่าง รสชาติและน้ำหนักของข้าวโพดหวาน  ส่วนการเก็บก่อนการจำหน่ายฝักสด หรือก่อนการแปรรูปในโรงงานอุตสาหกรรมจะเป็นตัวแปรสำคัญต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ข้าวโพด

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัจจุบันนี้ ได้มีเกษตรกรบางส่วนเริ่มเปลี่ยนพื้นที่จากการปลูกข้าวมาเป็นอ้อยในหลายพื้นที่ เนื่องจากเล็งเห็นโอกาสที่มั่นคงของ “อ้อย” เพราะเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความต้องการของตลาดจำนวนมาก และที่สำคัญ มีการกำหนดราคาที่ชัดเจน แต่ด้วยเกษตรกรบางราย ไม่กล้าตัดสินใจที่จะเปลี่ยนพื้นที่จากการทำนามาเป็น
สภาวะน้ำขังในแปลงอ้อย หมายถึง สภาพของดินอยู่ในสภาวการณ์ขาดอากาศ (ออกซิเจน) ทำให้รากอ้อยเกิดสภาวการณ์ขาดอากาศเช่นกัน เป็นสาเหตุที่สำคัญทำให้อ้อยชะงักการเจริญเติบโตหรือตายได้ โดยที่อ้อยแสดงอาการทางใบ คือ ใบอ้อยจะค่อย ๆ มีสีเหลืองซีด ๆ เรื่อย ๆ จนกระทั่งอ้อยตาย นอกจากนี้ยังทำให้คุณสมบัติของดิน