การปลูกพืชไร่ใช้น้ำน้อยในวิกฤตภัยแล้ง

ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวร้อยละ 50 ของพื้นที่ทำการเกษตร ทำรายได้ปีละประมาณ 2 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตามเกษตรกรในเขตพื้นที่ชลประทานนิยมปลูกข้าวมากกว่า 2 ครั้งต่อปี หรือปลูกข้าวอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันเกิดวิกฤติการขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรงในการปลูกข้าว อีกทั้งการปลูกข้าวอย่างต่อเนื่องกระทบต่อระบบนิเวศน์ เกิดปัญหาดินเสื่อมโทรม พบการระบาดของข้าววัชพืชตลอดจนโรคและแมลงศัตรูอย่างต่อเนื่อง

การปลูกพืชไร่ เพื่อลดปริมาณการใช้น้ำในการปลูกพืช โดยเน้นพืชที่ใช้น้ำน้อยเมื่อเทียบกับการปลูกข้าว หรือการปลูกผัก พืชไร่ นับเป็นพืชที่มีคุณลักษณะที่เหมาะสม คือ อายุเก็บเกี่ยวสั้น ใช้น้ำน้อย และยังเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินได้ แต่การนำพืชไร่ซึ่งโดยธรรมชาติต้องการดินร่วนซุย มีการระบายน้ำดี และมีน้ำขังในบางครั้ง จึงต้องมีการปรับปรุงวิธีการเขตกรรมและการดูแลรักษาให้เหมาะสม

ประโยชน์ของการปลูกพืชไร่ใช้น้ำน้อย

1.ลดการใช้น้ำเมื่อเทียบกับข้าว

พืช                      ปริมาณการใช้น้ำ(ลูกบาศก์เมตร/ไร่)
ข้าวนาปรัง                      1920
ถั่วเขียว                      320-400
ถั่วลิสง                       610
ถั่วเหลือง                      480-560
ข้าวโพดหวาน                     410-500
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์                     720-800

2.ช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำ

  ระบบปลูกพืชไร่หมุนเวียนสลับกับการปลูกข้าวเป็นการอนุรักษ์ดินและน้ำได้ดีกว่าการทำนาปลูกข้าวอย่างต่อเนื่อง โดยพืชไร่ที่สามรถปลูกได้ผลดี มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น ได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดข้าวเหนียว ข้าวโพดฝักอ่อน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

3.ลดการระบาดของแมลงศัตรู

  • เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
  • หอยเชอรี่

ข้อควรปฎิบัติในการปลูกพืชไร่

1.ชนิดของพืชที่ใช้

  • มีอายุสั้นและตรงตามความต้องการของตลาด
  • ผลผลิตได้ราคาดีเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในพื้นที่ปลูก

2.ลักษณะพื้นที่

การปลูกพืชไร่หลังนาจำเป็นต้องอาศัยน้ำชลประทาน ดังนั้นจึงควรปรับพื้นที่ให้เรียบตั้งแต่ตอนทำนาและให้มีความลาดเทเล็กน้อย ควรมีร่องระบายน้ำจะช่วยไม่ให้น้ำขังในแปลง ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงและเสียหาย

3.การเตรียมดิน

ในสภาพดินนาที่ค่อนข้างเป็นดินเหนียว การเตรียมดินต้องคำนึงถึงความชื้นที่เหมาะสม หากเตรียมดินในช่วงที่มีความชื้นมากเกินไปดินจะเป็นก้อนโต หากดินแห้งเกินไปจะเตรียมดินยากและไถได้ไม่ลึก

4.การให้ปุ๋ย

ในพื้นที่ทำนาต่อเนื่องมาตลอดจะมีการทับถมของตะกอนลำน้ำและปุ๋ยเคมีตกค้างจากการใส่ปุ๋ยเคมีในนาข้าว ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยอีกในการปลูกพืชไร่บางชนิด แต่มีพืชบางชนิด เช่น ข้าวโพดฝักสด ซึ่งตอบสนองต่อปุ๋ยจึงควรให้ปุ๋ยโดยเฉพาะไนโตเจนให้เพียงพอต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิต

5.การจัดการวัชพืช

การปลูกพืชไร่หลังนาถ้ามีการให้น้ำ มักพบปัญหาเรื่องข้าววัชพืช ดังนั้นควรเก็บเกี่ยวข้าวในระยะพลับพลึง เพื่อป้องกันการร่วงหล่นของเมล็ดข้าวและใช้สารกำจัดวัชพืชตามความจำเป็น และเหมาะสม

6.การให้น้ำ

ให้น้ำตามความต้องการของพืช โดยเฉพาะในช่วงที่อุณหภูมิสูงไม่ควรปล่อยให้พืชขาดน้ำในระยะออกดอกและติดฝัก เพราะจะทำให้ผลผลิตลดลงอย่างมาก

บทความที่เกี่ยวข้อง

การส่งเสริมให้เกษตรกรมีองค์ความรู้ในการทำเกษตรกรรม ควบคู่ไปกับการเลือกใช้เครื่องจักรกลการเกษตรได้อย่างเหมาะสม เป็นสิ่งที่สยามคูโบต้าได้ดำเนินงานมาโดยตลอด เพราะนอกจากจะช่วยให้พี่น้องเกษตรกรสามารถลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้แล้ว ยังช่วยให้มีการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
พืชทุกชนิดมีความต้องการธาตุอาหารในการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งธาตุอาหารพืช ที่จำเป็น ประกอบด้วย 17 ธาตุ แบบออกเป็น 3 กลุ่ม ยกเว้น คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ได้จากการให้น้ำและอากาศ และธาตุอาหารรอง จุลธาตุส่วนใหญ่มีอยู่ในดินในระดับหนึ่ง โดยแบ่งเป็น 1. กลุ่มธาตุอาหารหลัก