จอกหูหนูยักษ์ สิ่งที่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติกักพืช เป็นเฟิร์นน้ำต่างถิ่นที่ลอยน้ำอย่างอิสระ ไม่ยึดเกาะกับดิน ลำต้นทอดยาวอยู่ใกล้ผิวน้ำ แต่ละข้อมีใบ 1 คู่ อยู่เหนือผิวน้ำ เมื่อเล็กมีรูปร่างกลม แบน ลอยปิ่มน้ำ เมื่อโตเต็มพื้นที่ใบทั้งคู่จะยกตัวขึ้นปลายใบแยกออกจากกัน ผิวใบด้านบนปกคลุมด้วยขนแข็งสีขาว ที่ช่วงปลายแยกเป็นสี่เส้นและหลอมรวมกันที่ปลายสุดอีกครั้ง คล้ายซี่กรงขนาดเล็ก ช่วยป้องกันไม่ให้ใบเปียก จึงไม่จมน้ำขณะที่ยังสด และทำให้เห็นจอกหูหนูยักษ์เป็นสีขาวนวล ส่วนใบที่สามเปลี่ยนรูปเป็นเส้นยาว สีน้ำตาลคล้ายรากจำนวนมากอยู่ใต้น้ำ ทำหน้าที่พยุงให้ต้นลอยน้ำอยู่ได้และเป็นที่สร้างสปอโรคาร์ป
ในประเทศไทยมีเฟิร์นน้ำที่คล้ายกับจอกหูหนูยักษ์ 2 ชนิด คือ จอกหูหนู และแหนใบมะขาม หรือจอกหูหนูใบมะขาม เป็นวัชพืชที่พบปกคลุมผิวน้ำทั่วไปในแหล่งน้ำจืด แต่เป็นพืชฤดูเดียว ขยายพันธุ์ด้วยสปอร์เท่านั้น
อันตรายอย่างไร ทำไมจึงต้องกำจัด
จอกหูหนูยักษ์ จัดเป็นวัชพืชที่ทำร้านแรงที่สุดชนิดหนึ่งของโลก ขยายพันธุ์และเจริญเติบโตรวดเร็ว ในสภาพที่เหมาะสม มีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์ กระแสน้ำไหลช้าหรือน้ำนิ่ง จะเจริญเติบโตเพิ่มปริมาณ 2 เท่า ได้ในเวลา 2 – 4 วัน เพิ่มมวล 2 เท่า ภายใน 7 – 10 วัน หรือจากหนึ่งต้นจะเจริญเติบโตปกคลุมพพื้นที่ 64.750 ไร่ ในเวลาเพียง 3 เดือน ได้น้ำหนักสดถึง 64 ไร่ ซึ่งใกล้เคียงกับผักตบชวา
จอกหูหนูยักษ์ มีลำต้นบอบบาง หักง่าย ส่วนที่หักและมีใบติดไปด้วยจะสร้างยอดใหม่จากซอกใบ เป็นต้นใหม่เจริญเติบโตเร็ว เมื่อเจริญเติบโตแต็มที่ เบียดกันแน่นเป็นแพขนาดใหญ่ ปกคลุมผิวน้ำ ทำให้แสงแดดส่องไม่ถึงด้านล่าง ออกซิเจนละลายลงสู่แหล่งน้ำได้น้อย พืชน้ำที่อยู่ด้านล่างสังเคราะห์แสงไม่ได้ ทำให้ปริมาณออกซิเจน ลดลงมากจนเป็นอันตรายสัตว์น้ำ ประกอบกับการย่อยสลายของจอกหูหนูยักษ์ที่ตายทับทม ก่อให้ผลกระทบที่รุนแรง ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในแหล่งน้ำจะถูกทำลาย พืชและสัตว์ที่อยู่ใต้การปกคลุมของจอกหูหนูยักษ์อาจสูญพันธุ์ เมื่อสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ตายทับถมลงสู่ท้องน้ำ จะให้ตื้นเขินและเน่าเสีย มนุษย์ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำนั้นได้ ในขณะที่ผักตบชวาไม่เคยทำให้สัตว์น้ำหายไปจากแหล่งน้ำยิ่งไปกว่านั้นผักตบชวาที่เจริญท่ามกลางจอกหูหนูยักษ์ จะมีอาการ ใบซีดจนกลายเป็นสีเหลือง จนถึงสีน้ำตาลเข้ม และตายในที่สุด
จอกหูหนูยักษ์กำจัดยากกว่าผักตบชวา เนื่องจากลำต้นหักง่าย ส่วนที่หักไปสามารถเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ได้ เมื่อหักเป็นหักเป็นหลายท่อนจำนวนต้นก็เพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ ขณะที่ผักตบชวาที่ฉีกขาดไม่สามารถเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ได้
การป้องกันกำจัด
ใบจอกหูหนูยักษ์มีขนรูปร่างคล้ายกระเช้า หรือกรงนก ทำให้น้ำไม่สามารถซึมถึงตัวใบได้ และมีใบที่เปลี่ยนรูปร่างทำหน้าที่แทนราก ทุกข้อใบ ทำให้ลำต้นที่หักหลุดออกไปพร้อมใบสามารถเจริญเป็นต้นใหม่ได้ หากพบควรกำจัดออกทันที โดยเก็บออกจากแหล่งน้ำ ตากให้แห้งในที่น้ำไม่ท่วม มีการป้องกันไม้ให้ปลิว หรือแพร่กระจายออกไป แล้วเผาหรือฝังกลบในพื้นที่ที่ปลอดภัย ไม่มีสัตว์มาขุดค้น
จอกหูหนูยักษ์ที่เหลือติดอยู่ตามตลิ่ง หรืออยู่ใกล้ชายน้ำ ซึ่งเก็บออกได้ยากให้ฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืช พาราควอท อัตรา 100 – 200 กรัม (สารออกฤทธิ์) ต่อไร่ ผสมสารจับใบ ฉีดพ่นให้จอกหูหนูยักษ์โดยตรง สารพาราควอทเมื่อถูกดิน หรือน้ำขุ่น จะถูกอนุภาคดินยึดไว้ ทำให้หมดฤทธิ์ ยกเว้นส่วนที่สัมผัสจอกหูหนูยักษ์ หากใช้ตามอัตราและวิธีการที่แนะนำอย่างถูกต้อง จะไม่เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำและสิ่งแวดล้อม
หลังจากตักหรือช้อนออกแล้ว อาจมีส่วนของจอกหูหนูยักษ์ที่สามารถเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่หลงเหลืออยู่ จำเป็นต้องเก็บออกให้เหลือน้อยที่สุด ควรตรวจสอบเฝ้าระวัง เก็บจอกหูหนูยักษ์ที่เจริญขึ้นมาใหม่ อย่างน้อยเดือนละครั้ง จอกหูหนูยักษ์ที่เริ่มแตกมาจากต้นเดิมอาจปริมาณน้อยและขนาดเล็ก ยากต่อการสังเกต ได้จากรูปร่างและความมันวาวของใบที่ต่างกัน
ดังนั้น จำเป็นต้องเฝ้าระวังต่อไปจนกว่าจะไม่พบเลยติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือน เพื่อป้องกันไม่ให้กลับมาระบาดอีก