การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วย

เทคโนโลยีทางชีวภาพที่มีการนำมาใช้ในการขยายพันธุ์พืชให้มีปริมาณมากๆ ได้พืชพันธุ์ดีที่ปลอดโรคและให้ผลผลิตสูงก็คือเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชวิธีหนึ่งที่ใช้ชิ้นส่วนของพืช เช่น ลำต้น ตายอดตาข้าง ก้านช่อดอก ใบ ก้านใบ เป็นต้น มาเพาะเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ภายใต้สภาพที่ควบคุมเรื่องความสะอาดแบบปลอดเชื้อ อุณหภูมิ และแสง เมื่อชิ้นส่วนนั้นเจริญและพัฒนาเป็น      ต้นพืชที่สมบูรณ์ มีทั้งส่วนใบ ลำต้นและรากที่ สามารถนำไปปลูกในสภาพธรรมชาติได้

ประโยชน์ของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 

1. สามารถผลิตต้นพันธุ์พืชปริมาณมากในระยะเวลาอันรวดเร็ว 

2. ต้นพืชที่ผลิตได้จะปลอดโรค 

3. ต้นพืชที่ผลิตได้จะมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนต้นแม่คือ มีลักษณะตรงตามพันธุ์ด้วยการใช้เทคนิคของการเลี้ยงจากชิ้นตาพืชให้พัฒนาเป็นต้นโดยตรง 

4. ต้นพืชที่ผลิตได้จะมีขนาดสม่ำเสมอ จึงให้ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ครั้งละมากๆ พร้อมกันหรือในเวลาเดียวกัน

ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

1. คัดเลือกพันธุ์ที่มีลักษณะดี แข็งแรง ปราศจากโรคและแมลง ลูกโตให้หวีต่อเครือมาก

2. ตกแต่งชิ้นส่วนพืช ตัดส่วนที่ไม่ต้องการออก

3. นำชิ้นส่วนพืชจุ่มในแอลกอฮอล์ 95 % เพื่อลดแรงตึงผิวบริเวณนอกชิ้นส่วนพืช

4. นำชิ้นส่วนพืชมาเขย่าในสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่เตรียมไว้นาน 10 –15 นาที

5. ใช้ปากคีบ คีบชิ้นส่วนพืชล้างในน้ำกลั่นที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้ว 3 ครั้ง

6. ตัดชิ้นส่วนพืชตามขนาดที่ต้องการแล้ววางบนอาหารสังเคราะห์

7. หลังจากนั้นจึงเขียนรายละเอียด เช่น ชนิดพืช วันเดือนปี รหัส แล้วนำไปพักในห้องเลี้ยงเนื้อเยื่อต่อไป

สูตรอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียวเป็นแมลงจำพวกปากดูด ที่พบทำลายต้นข้าวในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ Nephotettix virescens (Distant) และ Nephotettix nigropictus stal
เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวข้าว เกษตรกรส่วนใหญ่จะเริ่มทำการเพาะปลูกพืชผัก เพราะในช่วงฤดูหนาวพืชผักจะงอกงามอย่างดี แต่อากาศที่หนาวเย็นบวกกับความแล้ง ที่มีหมอกในตอนเช้า แดดแรงในตอนกลางวัน อากาศเย็นในตอนกลางคืน ระวังโรคพืชที่จะตามมาแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ทำให้ผลผลิตน้อย โตช้า
สภาวะน้ำขังในแปลงอ้อย หมายถึง สภาพของดินอยู่ในสภาวการณ์ขาดอากาศ (ออกซิเจน) ทำให้รากอ้อยเกิดสภาวการณ์ขาดอากาศเช่นกัน เป็นสาเหตุที่สำคัญทำให้อ้อยชะงักการเจริญเติบโตหรือตายได้ โดยที่อ้อยแสดงอาการทางใบ คือ ใบอ้อยจะค่อย ๆ มีสีเหลืองซีด ๆ เรื่อย ๆ จนกระทั่งอ้อยตาย นอกจากนี้ยังทำให้คุณสมบัติของดิน