บรรจุภัณฑ์ข้าว

 การบรรจุภัณฑ์ หมายถึง รูปแบบวัสดุภายนอกที่ห่อหุ้มผลิตภัณฑ์ภายในให้ปลอดภัย สะดวกต่อการขนส่ง เอื้ออำนวยให้เกิดประโยชน์ทางการค้าของผู้ผลิต/ผู้จำหน่ายและการนำไปใช้ของผู้บริโภคการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ มีปัจจัยหลายอย่างที่จะทำให้ผู้บริโภคให้ความสนใจดูจากรูปลักษณ์ภายนอกก็คือ การจับถนัดมือ สีสัน ขนาด สิ่งเหล่านี้ดูเหมือนจะเป็นรายละเอียดปลีกย่อย แต่จริงๆ แล้วเป็นสิ่งที่สำคัญและมีผลต่อการซื้อของผู้บริโภคค่อนข้างมาก ซึ่งในปัจจุบันนี้การทำธุรกิจที่จะต้องคำนึงถึงผู้บริโภคเป็นอันดับแรก เนื่องจากมีการแข่งขันกันทางธุรกิจสูง ถ้าหากไม่มีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ดูสวยงามแล้วส่วนแบ่งการตลาดก็จะถูกแบ่งไปอย่างแน่นอน ซึ่งแตกต่างกับการทำธุรกิจเมือสมัย 20-30 ปีที่ผ่านมา จะเห็นว่าในแต่ละปีอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์มีมูลค่า 5 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐของมูลค่าโดยรวมของโลก (วัตถุดิบใช้ทำบรรจุภัณฑ์ 80%, ส่วนประกอบอื่นๆ 12% เครื่องจักรขึ้นรูป 8%) ทั้งนี้เนื่องจากว่าสินค้าที่มีคุณภาพมีบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม จะทำให้สินค้ามีคุณค่าเพิ่มขึ้นนอกจากจะจำหน่ายได้มากขึ้นแล้วยังมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการยกระดับราคา สร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์

ประเภทของบรรจุภัณฑ์

บรรจุภัณฑ์มีความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้าและความต้องการของลูกค้า ตลาดบรรจุภัณฑ์แบ่งออกตามวัสดุหลักที่ใช้ ดังนี้

  • บรรจุภัณฑ์ที่ทำด้วยกระดาษ ประมาณ 36%
  • บรรจุภัณฑ์ที่ทำด้วยพลาสติก 24%
  • บรรจุภัณฑ์ที่ทำด้วยโลหะ 20%
  • บรรจุภัณฑ์ที่ทำด้วยแก้ว 10%

ลักษณะที่ดีของบรรจุภัณฑ์

  1. สะดวกต่อการจัดเก็บและการรักษา
  2. สะดวกต่อการจัดส่งและการเคลื่อนย้าย
  3. สะดวกต่อการแยกประเภทและจัดหมวดหมู่
  4. เป็นสื่อเผยแพร่โฆษณาตัวผลิตภัณฑ์
  5. ยกระดับราคา สร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์
  6. ช่วยดึงดูดความสนใจแก่ลูกค้า
  7. ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม

ด้านผู้บริโภค/ลูกค้า

  1. พกพาเคลื่อนย้ายสะดวก
  2. สามารถรักษาผลิตภัณฑ์ให้มีอายุการใช้งานได้มากขึ้น
  3. ช่วยให้ทราบรายละเอียดแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์
  4. ช่วยสร้างความภูมิใจในการซื้อ
  5. สามารถแปรรูปประยุกต์ใช้งานอื่นได้

บรรจุภัณฑ์ในอนาคต

  • มีตรารับรองคุณภาพสินค้า เช่นตรา Q
  • มีเรื่องราวที่น่าสนใจบนบรรจุภัณฑ์
  • แสดงคุณภาพสินค้าในระบบดิจิตอลหรือ e-packaging

บทบาทของกรมการข้าวต่อการบรรจุภัณฑ์ข้าว

กรมการข้าวโดยสำนักพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว มีกลุ่มงานพัฒนาการเพิ่มมูลค่าสินค้าข้าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนารูปแบบและคุณภาพของบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าข้าว ทั้งในตลาดเฉพาะ (Niche Market) และตลาดทั่วไป โดยเน้นความต้องการของผู้ผลิตและผู้บริโภค ดังนั้นเพื่อให้งานบรรจุภัณฑ์ ได้ขยายตัวมากยิ่งขึ้น จึงได้ดำเนินการจัดทำต้นแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าและเป็นการจุดประกายให้ผู้ประกอบการได้เป็นแนวทางในการนำรูปแบบไปใช้พัฒนาและประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มรายได้ให้สูงขึ้นโดยมีกลุ่มเป้าหมายได้แก่กลุ่มแม่บ้าน อุตสาหกรรมขนาดย่อย นักศึกษาผู้สนใจ บุคคลทั่วไป และภาคเอกชน

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปุ๋ยชีวภาพหมายถึง ปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่สามารถสร้างธาตุอาหารหรือช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืช ประกอบด้วยแบคทีเรียตระกูลไรโซเบียม (Rhizobiaceae) ที่สามารถเข้าสร้างปมรากกับพืชตระกูลถั่วได้ และเจริญอยู่ภายในปมรากแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (Symbiosis) สามารถตรึงไนโตรเจนโดยใช้เอนไซม์ไนโตร
เพลี้ยอ่อนข้าวโพด (Corn leaf aphid : Rhopalosiphum maidis Fitch.) มักจะพบเกาะเป็นกลุ่ม ๆ ดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่าง ๆ ของต้นข้าวโพด เช่น ยอด กาบใบ โคนใบ กาบฝัก และจะพบมากที่สุดบริเวณช่อดอกทำให้บริเวณที่ถูกดูดกินแสดงอาการเป็นจุดสีเหลืองปนแดง ถ้าช่อดอกมีเพลี้ยเกาะกินอยู่มากจะทำให้ช่อดอกไม่บาน
มวนง่าม Tetroda denticulifera (Berg) วงจรชีวิตมี 3 ระยะ คือ ระยะไข่ ระยะตัวอ่อน และระยะตัวเต็มวัย