ชุดดินท่าใหม่

9. ชุดดินท่าใหม่ (Tha Mai series : Ti)

กลุ่มชุดดินที่ 27

การกำเนิด : เกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่หรือเคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางไม่ไกลนักของหินบะซอลต์ บริเวณพื้นที่ที่เหลือค้างจากการกัดกร่อนของหินบะซอลต์

สภาพพื้นที่ : ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนลาด มีความลาดชัน 2-12 %

การระบายน้ำ : ดี

การซึมผ่านได้ของน้ำ : เร็ว

การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : ปานกลาง

ลักษณะสมบัติของดิน : เป็นดินลึกมาก ดินบนเป็นดินร่วนปนดินเหนียว ดินเหนียวปนทรายแป้งหรือ ดินเหนียว มีสีน้ำตาลปนแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง (pH 6.0-7.0) ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียว มีสีน้ำตาลปนแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด (pH 4.5-5.5)

การแพร่กระจาย : พบมากบริเวณจังหวัดจันทบุรี เป็นแหล่งปลูกไม้ผลที่สำคัญของภาคตะวันออก ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง และกล้วย เป็นต้น

ปัญหาและข้อจำกัด : ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ และดินกักเก็บความชื้นได้น้อย

ข้อเสนอแนะ : เหมาะสมสำหรับกับปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น จำเป็นต้องมีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ควรมีการปลูกพืชคลุมดิน เพื่อช่วยรักษาความชื้นในดิน จัดหาแหล่งน้ำให้เพียงพอ

สมบัติทางเคมี :

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียวเป็นแมลงจำพวกปากดูด ที่พบทำลายต้นข้าวในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ Nephotettix virescens (Distant) และ Nephotettix nigropictus stal
พันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกควรมีคุณสมบัติด้านการเจริญเติบโตเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในพื้นที่ปลูก และให้ผลผลิตดีแม้ในสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ