5 พืชสมุนไพรถอนพิษ

พืชสมุนไพร เป็นมรดกทางวัฒนธรรมแห่งภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย สมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่า ใช้ประโยชน์ได้จริง และใช้ได้อย่างกว้างขวาง มีสรรพคุณเป็นยาแบ่งออกได้หลายกลุ่ม แต่กลุ่มที่เราจะมาพูดถึงกันวันนี้คือ กลุ่มพืชสมุนไพรถอนพิษ ได้แก่

1. เทียนบ้าน

ต้นเทียนบ้าน หรือ ต้นเทียนดอก เป็นไม้ล้มลุกสูง ลำต้นอวบน้ำ ออกดอกออกผลแล้วต้นจะตาย กลีบดอกมีสีชมพู แดง ม่วง ขาว ผลเป็นผลแห้ง เมื่อแก่จัดจะแตกออก เปลือกผลม้วนขมวดขึ้น และดีดเมล็ดที่ค่อนข้างกลมสีน้ำตาลออกมา เพื่อช่วยกระจายพันธุ์ มีการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและปักชำ ปลูกได้ง่ายโตเร็ว เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยที่มีธาตุอาหารสมบูรณ์ ชอบแสงแดดอ่อน ๆ จึงควรปลูกในที่ร่มรำไร

สรรพคุณ :

  • ใบสด แก้ปวดข้อ ยารักษากลากเกลื้อน แก้ฝีและแผลพุพอง ยากันเล็บถอด
  • ใบแห้ง แก้แผลอักเสบ ฝีหนอง แผลเน่าเปื่อย รักษาแผลเรื้อรัง
  • ยอดสด แก้จมูกอักเสบ บวมแดง
  • ต้นสด แก้แผลงูสวัด
  • รากสด แก้บวมน้ำ ตำพอกแผลที่ถูกเสี้ยนหรือแก้วตำ
  • เมล็ดแห้ง แก้ประจำเดือนไม่มา ขับประจำเดือน

     2. ผักบุ้งทะเล

 ผักบุ้งทะเลเป็นไม้เลื้อยล้มลุก เลื้อยไปตามผิวทรายหรือดิน ชอบขึ้นในพื้นที่ใกล้ทะเล ต้นมีน้ำยางสีขาว  ดอกบานตอนเช้า บ่ายๆ จะหุบเหี่ยว ผล เป็นผลแห้งแตกได้

สรรพคุณ :

  • ใบสด  เป็นยาพอก ต้มอาบรักษาโรคผิวหนัง แก้ปวดไขข้อบวมอักเสบมีหนอง
  • รากสด ขับปัสสาวะในโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แก้โรคเท้าช้าง ปวดฟัน ผดผื่นคันมีน้ำเหลือง
  • ทั้งต้น แก้อาการอักเสบจากพิษแมงกระพรุนไฟ ถอนพิษลมเพลมพัด ต้มอาบแก้โรคคันตามผิวหนัง

3. รางจืด

รางจืด หรือ ว่านรางจืด เป็นไม้เลื้อย/ไม้เถา ดอกมีสีม่วงอมฟ้า ออกเป็นช่อห้อยลง ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบคล้ายรูปหัวใจหรือรูปใบขอบขนานหรือเป็นรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม 

สรรพคุณ : รางจืดที่มีประสิทธิภาพ คือรางจืดชนิดเถาดอกม่วง

  • รากและเถา รับประทานแก้ร้อนใน กระหายน้ำ
  • ใบและราก ใช้ปรุงเป็นยาถอนพิษไข้ เป็นยาพอกบาดแผล น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ทำลายพิษยาฆ่าแมลง พิษจากสตริกนินให้เป็นกลาง พิษจากดื่มเหล้ามากเกินไป หรือยาเบื่อชนิดต่างๆ เข้าสู่ร่างกาย ดินที่ใช้ปลูก ถ้าผสมขี้เถ้าแกลบหรือผงถ่านป่น จะช่วยให้ต้นรางจืดมีตัวยามากขึ้น

 4. เสลดพังพอนตัวเมีย (พญาปล้องทองง)

 เสลดพังพอนตัวเมียเป็นไม้พุ่มเลื้อย ลำต้นและกิ่งก้านสีเขียว กลีบดอกสีแดงส้ม ขึ้นตามป่า หรือปลูกกันตามบ้าน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำหรือแยกเหง้าแขนงไปปลูก เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ชอบดินร่วน ระบายน้ำดี มีแสงแดดจัด

หมายเหตุ : เสลดพังพอนมีชื่อพ้องกัน คือ เสลดพังพอนตัวผู้ และเสลดพังพอนตัวเมีย แต่ต่างกันที่เสลดพังพอนตัวผู้มีหนาม สรรพคุณอ่อนกว่าเสลดพังพอนตัวเมีย เพื่อไม่ให้สับสนจึงเรียกเสลดพังพอนตัวเมียว่า พญายอ และตำรายาไทยนิยมนำมาทำยา

สรรพคุณ :

  • ส่วนทั้ง 5 ใช้ถอนพิษ โดยเฉพาะพิษแมลงสัตว์กัดต่อย ตะขาบ แมลงป่อง รักษาอาการอักเสบ งูสวัด ลมพิษ แผลน้ำร้อนลวก
  • ใบ นำมาสกัดทำทิงเจอร์และกรีเซอรีน ใช้รักษาแผลผิวหนังชนิดเริ่ม Herpes และรักษาแผลร้อนในในปาก  แก้แผลน้ำร้อนลวก
  • ราก  ปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ ขับประจำเดือน แก้ปวดเมื่อยบั้นเอว

5. เสลดพังพอนตัวผู้ (ซองระอา)

ต้นเสลดพังพอนตัวผู้ เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 1 เมตร มีหนามแหลมยาว ก้านใบสีน้ำตาลแดง ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นรูปรียาว ปลายใบแหลม พื้นใบเป็นสีเขียวเข้มและเป็นมัน เส้นใบและก้านเป็นสีแดง  กลีบดอกสีส้ม ผลเป็นฝักรูปไข่ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุยและมีความชุ่มชื้น ในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วไป

สรรพคุณ :

  • ราก  แก้ตาเหลือง หน้าเหลือง เมื่อยตัว กินข้าวไม่ได้ แก้ผิดอาหาร ถอนพิษงู พิษแมลงสัตว์กัดต่อย 
  • ใบ ถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้ลมพิษ รักษาเม็ดผื่นคันตามผิวหนัง แก้ปวดแผล แก้โรคฝีต่างๆ รักษาโรคคางทูม แก้โรคไฟลามทุ่ง แก้โรคงูสวัด รักษาโรคเริม ถอนพิษจากเม็ดตุ่มฝีดาษ รักษาโรคฝีดาษ ถอนพิษไข้ แก้ริดสีดวงทวาร แก้พิษไฟลวกน้ำร้อนลวก แก้ปวดจากปลาดุกแทง
  • ส่วนทั้ง 5  ใช้เหมือนเสลดพังพอนตัวเมีย และใช้แทนเสลดพังพอนตัวเมียได้ แต่ใบเสลดพังพอน   ตัวเมียมีรสจืด ใบเสลดพังพอนตัวผู้มีรสขมมาก และเสลดพังพอนตัวผู้มีฤทธิ์อ่อนกว่าเสลดพังพอนตัวเมีย

บทความที่เกี่ยวข้อง

สภาวะน้ำขังในแปลงอ้อย หมายถึง สภาพของดินอยู่ในสภาวการณ์ขาดอากาศ (ออกซิเจน) ทำให้รากอ้อยเกิดสภาวการณ์ขาดอากาศเช่นกัน เป็นสาเหตุที่สำคัญทำให้อ้อยชะงักการเจริญเติบโตหรือตายได้ โดยที่อ้อยแสดงอาการทางใบ คือ ใบอ้อยจะค่อย ๆ มีสีเหลืองซีด ๆ เรื่อย ๆ จนกระทั่งอ้อยตาย นอกจากนี้ยังทำให้คุณสมบัติของดิน
หนอนกออ้อย (Sugarcane Borer) อาจจะเรียกว่าหนอนเจาะหน่ออ้อย หรือหนอนเจาะลำต้นอ้อย หมายถึง แมลงในระยะตัวอ่อนที่อาศัยกัดกินอยู่ภายในหน่ออ้อยหรือลำต้นอ้อย ทำให้ไส้กลวงหรือเกิดเป็นแผลภายใน หากมองจากด้านนอกจะเห็นว่ายอดเหี่ยวและแห้งตาย ในประเทศไทยมีหนอนกออ้อยอยู่ 5 ชนิด คือ 1. หนอนกอลายจุด
การระบาดของแมลงศัตรูอ้อยในช่วงเดือนต่างๆ ได้แก่ หนอนกอลายจุดเล็ก หนอนกอลายจุดใหญ่ หนอนกอลายใหญ่ หนอนกอลายแถบแดง หนอนกอสีชมพู หนอนกอสีขาว แมลงหวี่ขาวอ้อย เพลี้ยกระโดดอ้อย เพลี้ยจักจั่นสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นงวง เพลี้ยกระโดดดำ เพลี้ยหอยอ้อย เพลี้ยอ่อนสำลี เพลี้ยแป้งสีชมพู มวนอ้อย ไรแมงมุมอ้อย ด้วงหนวดยาวอ้อย แมลงนูนหลวง ปลวกอ้อย แมลงค่อมทอง ด้วงขี้ควาย ด้วงดำ ด้วงงวงอ้อย ตั๊กแตนไฮโรไกรฟัส ตั๊กแตนโลกัสต้า ตั๊กแตนปาทังก้า และหนอนบุ้ง