การเก็บมะเขือเทศ ให้ได้คุณภาพ

ในที่สุดช่วงเวลาที่ทุกคนรอคอยก็มาถึง นั้นก็คือช่วงเวลาของการเก็บผลผลิตมะเขือเทศในแปลงปลูก ของเรานั้นเอง มะเขือเทศที่เราเฝ้าดูแลมานานหลายเดือนตั้งแต่เพาะเมล็ด ผลิดอกแรก จนถึงเก็บเกี่ยว เพื่อให้ ได้มะเขือเทศช่อสวย สีแดงสด ผลเต่งตึง รสชาติหวานอร่อย ถ้าใครได้ลองแล้วรับรองติดใจ ต้องกลับมาขอซื้อ ซ้ํากันเลยทีเดียว

การเก็บเกี่ยวมะเขือเทศขึ้นอยู่กับพันธุ์ โดยเฉลี่ยแล้วเมื่อปลูกได้ประมาณ 30-45 วัน มะเขือเทศจะเริ่มออกดอก และจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุประมาณ 70-90 วัน ซึ่งเราเก็บผลผลิตได้ต่อเนื่อง 2-3 เดือนระยะเวลารวมตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงช่วงเก็บเกี่ยวจะใช้ระยะเวลาประมาณ 4-5 เดือน อีกทั้งอายุในการเก็บเกี่ยวนั้นก็จะขึ้นอยู่กับการปลูกและการดูแลรักษามะเขือเทศของเราด้วย

วิธีการเก็บมะเขือเทศ

  • เก็บผลผลิตมะเขือเทศที่มีผลขนาดใหญ่ ผลมีขนาดสม่ำเสมอ ผิวเรียบ ผลไม่แตก สีผลเมื่อสุกเต็มที่แดงสม่ำเสมอ และมีขั้วผลติด หากส่งขายหรือตามตลาดสด จะต้องเก็บในช่วงที่ผลผลิตไม่แก่จนเกินไป อาจจะเก็บในช่วงที่ผลผลิตกำลังเปลี่ยนเป็นสีแดง หรือเริ่มเป็นสีชมพูเรื่อ เมื่อผลผลิตถึงตลาดสดและถึงมือผู้บริโภค ผลผลิตก็จะสุกเต็มที่โดยมีสีแดงสดพอดี
  • สุ่มวัดความเปรี้ยวและความหวานของผลมะเขือเทศ โดยใช้กระดาษลิตมัส สำหรับการตรวจสอบค่าความเป็นกรดหรือด่าง (เบส) มะเขือเทศในแปลงปลูก ได้ค่า total acidity เท่ากับ 5 และใช้เครื่องวัด Brix Refractometer แบบดิจิตอล วัดความหวานจากมะเขือเทศ วัดค่าได้ 11 %Brix แสดงว่ามะเขือเทศในแปลงที่เราปลูกมีกรดมากและน้ำตาลมาก มะเขือเทศจะมีรสจัด

  • วางมะเขือเทศในภาชนะที่สะอาด และภายหลังการเก็บเกี่ยวรีบนำเข้าที่ร่ม
  • นำมาตัดแต่งผลที่มีขนาดเล็กและผลที่มีสีเขียวออก คัดขนาดตามมาตรฐานของผู้รับซื้อ
  • เช็ดทำความสะอาดผล นำมาบรรจุใส่กล่อง และเก็บรักษาผลผลิตในตู้เย็น ซึ่งจะเก็บได้ในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิประมาณ 4-10องศาเซลเซียส

เพียงเท่านี้การเก็บผลผลิตมะเขือเทศที่เรารอคอยมานานก็สำเร็จ สามารถนำไปขายหรือนำไปแจกเป็นของขวัญก็ดูดีไม่แพ้ของขวัญชิ้นแพงๆที่ไหนเลย เพราะมะเขือเทศกล่องนี้มาจากการดูแลเอาใจใส่ ความอดทนพยายาม และไม่ยอมแพ้กับปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นกับมะเขือเทศในแปลงของเรา จนได้มะเขือเทศกล่องนี้มา

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดินลูกรัง (Skeletal soils)หมายถึง ดินที่พบชั้นลูกรัง ชั้นกรวด ชั้นเศษหิน หรือชั้นหินพื้นในระดับตื้นกว่า 50 เซนติเมตร จากผิวดิน เนื้อดินบนเป็นดินทรายปนดินร่วนถึงดินร่วนปนทราย อาจพบกรวด หินมนเล็ก หรือเศษหินปะปน จึงทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของพืช ดินลูกรังเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
การให้นํ้าแบบหยด (Drip or Trickle Irrigation) การให้นํ้าแบบหยด นับเป็นวิธีการให้นํ้าที่คิดค้นขึ้นมาหลังการให้นํ้าแบบอื่นๆ และกําลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน ทั้งในเขตแห้งแล้งและเขตที่มีลักษณะดินเป็นดินทราย เพราะระบบการให้นํ้าแบบนี้มีการสูญเสียนํ้าน้อยมาก วิธีการให้นํ้าแบบหยดเป็นการให้นํ้าแก่พืชเป็นจุดๆ
หลังจากทำการผสมเกสรเมล่อนเสร็จแล้ว ผลเมล่อนจะค่อยๆขยายขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งปัญหาที่พบมากสำหรับการปลูกเมล่อนในช่วงฤดูฝนประการที่สำคัญคือ ปัญหาผลแตกระหว่างการเลี้ยงลูกให้โต เนื่องจากในฤดูฝนมีความชื้นสูง ทั้งความชื้นในอากาศ ความชื้นในวัสดุปลูก และความชื้นจากการให้น้ำกับต้นเมล่อน สาเหตุที่ผลเมล่อนมัก