มันสำปะหลังคอนโดฯ ผลผลิตมากกว่า 10 ตัน/ไร่ โดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมี

ปีนี้นับได้ว่าเป็นปีทองของมันสำปะหลัง สถานการณ์การผลิตมันสำปะหลังในการเพาะปลูก ปี 2552/2553 นับรวมพื้นที่โดยประมาณได้ 7.2 ล้านไร่ ผลผลิตรวม 26.41 ล้านตัน ซึ่งนับได้ว่าประเทศไทยสามารถผลิตมันสำปะหลังได้เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากประเทศไนจีเรีย และบราซิล

แต่เมื่อเฉลี่ยค่าผลผลิตต่อจำนวนไร่ที่มีอยู่นี้ เท่ากับว่าเกษตรกรมีผลผลิตต่อไร่เพียง 3 ตันเศษเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่ตัวเลขที่หนีห่างคู่แข่งในเอเชียอย่างอินโดนีเซียและเวียดนามที่สามารถปลูกมันสำปะหลังได้ดีไม่แพ้ไทยเลย

คุณทองสุข ศรีษะโคตร เกษตรกรวัย 55 ปี จากจังหวัดชัยภูมิ เป็นผู้ปลูกมันสำปะหลังรายหนึ่งที่ยอมรับว่า ตั้งแต่ปลูกมันสำปะหลังมาตลอดหลายสิบปี ตนและเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงยังไม่เคยปลูกมันสำปะหลังได้ผลผลิตมากกว่า 4 ตัน ต่อไร่ เลย “ผมปลูกมันมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ เรียกได้ว่าผมปลูกมันมาตั้งแต่เกิดเลย ก็ใส่ปุ๋ยเคมีตามไร่คนอื่นเขาใส่อะไรเราก็ใส่ตามเขา ต้นทุนมันก็สูงยิ่งพอปุ๋ยแพงผมกับชาวบ้านก็ไม่ใส่เลย ปรากฏว่าผลผลิตมันก็พอกัน เลยปลูกแบบปล่อยไปอย่างนั้น หัวมันขึ้นได้แค่ไหนก็แค่นั้น” คุณทองสุข เล่าให้เราฟัง

ปีนี้นับได้ว่าเป็นปีทองของมันสำปะหลัง สถานการณ์การผลิตมันสำปะหลังในการเพาะปลูก ปี 2552/2553 นับรวมพื้นที่โดยประมาณได้ 7.2 ล้านไร่ ผลผลิตรวม 26.41 ล้านตัน ซึ่งนับได้ว่าประเทศไทยสามารถผลิตมันสำปะหลังได้เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากประเทศไนจีเรีย และบราซิล

แต่เมื่อเฉลี่ยค่าผลผลิตต่อจำนวนไร่ที่มีอยู่นี้ เท่ากับว่าเกษตรกรมีผลผลิตต่อไร่เพียง 3 ตันเศษเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่ตัวเลขที่หนีห่างคู่แข่งในเอเชียอย่างอินโดนีเซียและเวียดนามที่สามารถปลูกมันสำปะหลังได้ดีไม่แพ้ไทยเลย

     คุณทองสุข ศรีษะโคตร เกษตรกรวัย 55 ปี จากจังหวัดชัยภูมิ เป็นผู้ปลูกมันสำปะหลังรายหนึ่งที่ยอมรับว่า ตั้งแต่ปลูกมันสำปะหลังมาตลอดหลายสิบปี ตนและเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงยังไม่เคยปลูกมันสำปะหลังได้ผลผลิตมากกว่า 4 ตัน ต่อไร่ เลย “ผมปลูกมันมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ เรียกได้ว่าผมปลูกมันมาตั้งแต่เกิดเลย ก็ใส่ปุ๋ยเคมีตามไร่คนอื่นเขาใส่อะไรเราก็ใส่ตามเขา ต้นทุนมันก็สูงยิ่งพอปุ๋ยแพงผมกับชาวบ้านก็ไม่ใส่เลย ปรากฏว่าผลผลิตมันก็พอกัน เลยปลูกแบบปล่อยไปอย่างนั้น หัวมันขึ้นได้แค่ไหนก็แค่นั้น” คุณทองสุข เล่าให้เราฟัง


     จนเมื่อปี 2550 คุณทองสุข ได้พบกับเทคนิคการเพิ่มผลผลิตใหม่ หลังจากเข้ารวมกลุ่มกับเพื่อนเกษตรกรเข้าเรียนรู้กับ ส.ป.ก.จังหวัดชัยภูมิ ตามโครงการเพิ่มศักยภาพมันสำปะหลังในเขตปฏิรูปที่ดิน ทำให้คุณทองสุขได้รู้ว่าสามารถเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังของตนเองได้ โดย “วิธีการสับตา” หรือที่เรียกว่า “การปลูกมันแบบคอนโดฯ” และได้เรียนรู้ในเรื่องของการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพใช้เอง  ทำให้ไม่ต้องซื้อปุ๋ยซื้อสารเคมีกำจัดแมลง ประหยัดต้นทุนค่าปุ๋ย ค่าสารเคมี และค่าแรงงานอีกด้วย และที่สำคัญผลผลิตที่เคยปลูกได้ไร่ล่ะ 2 – 3 ตัน เมื่อทำวิธีนี้แล้วได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้นหลายเท่า จนได้ไร่ล่ะ 10 ตันขึ้นไป ในขณะที่ต้นทุนลดลง ทำให้มีกำไรและไม่กลัวว่าราคามันจะเท่าไหร่ ราคากิโลกรัมละ 1 บาท ก็ยังมีกำไร ขณะที่ไร่อื่นๆ ขาดทุน ยิ่งถ้าราคาดีแบบปีนี้ก็หมายความว่าได้กำไรเต็มๆ กิโลกรัมละ 2 – 3 บาทเลยทีเดียว

วิธีการปลูกมันสำปะหลังคอนโดฯ

วิธีการปลูกมันสำปะหลังคอนโดฯ มีด้วยกันหลายวิธีแต่ที่นิยมทำกันแบ่งได้ 3 แบบ คือ

แบบที่ 1 การปลูกให้ออกหัวแบบคอนโดฯ ใช้ท่อนพันธุ์ส่วนที่เป็นลำต้นตัดแบบโคนตรง  ที่มีอายุประมาณ 8- 12 เดือน แต่ที่อายุ 12 เดือนดีที่สุด ตัดให้มีขนาดยาวประมาณ 40 – 50 เซนติเมตร แล้วเฉือนเอาตาข้างท่อนพันธุ์จากด้านล่างออก 5 – 7 ตา เพื่อหวังให้ได้หัวที่เกิดจากฐาน รอบโคน 9 หัว และข้างลำต้นที่เฉือนเอาตาออกอีก 7 หัว เรียงเป็นชั้นคล้ายตึกคอนโดมิเนียม

แบบที่ 2 การปลูกให้ออกหัวแบบคอนโดฯ สามเหลี่ยม ใช้ท่อนพันธุ์ส่วนที่เป็นลำต้นที่มีกิ่งเป็นง่ามติดอยู่ด้วยปลูก กิ่งมีความยาวประมาณ 50 เซนติเมตร โดยเฉือนเอาตาข้างท่อนพันธุ์จากด้านล่างออก 7 ตา และเฉือนเอาตาข้างส่วนที่ เป็นกิ่งออก กิ่งละ 2 ตา เพื่อหวังให้ได้หัวที่เกิดจากตาข้างกิ่งเพิ่มขึ้นอีก 6 หัว เรียงเป็นชั้นคล้ายคอนโดมิเนียม สามเหลี่ยม

แบบที่ 3 การปลูกให้ออกหัวแบบคอนโดฯ พวงร้อย ใช้ท่อนพันธุ์คล้ายกับการปลูกแบบคอนโดฯ สามเหลี่ยม แต่ เป็นลำต้นที่มีกิ่งสามง่ามที่สอง ติดอยู่ด้วยปลูก โดยมีความเชื่อว่าส่วนที่เป็นกิ่งสามง่ามที่สองอยู่ใกล้ยอด เป็นกิ่งที่อ่อนกว่ากิ่งสามง่ามแรกของลำต้นจะเจริญเติบโตได้เร็วและให้ผลผลิตดีกว่า การปลูกทั้งสามแบบใช้ท่อนปลูก ยาว 40 – 50 เซนติเมตร ปลูกปักตรง โดยให้ส่วนที่เฉือนตาออกทั้งส่วนที่อยู่ด้านข้างลำต้นและกิ่งอยู่ใต้ดิน ของท่อน ปลูกมันสำปะหลังจะเกิดขึ้นที่เพอริไซเคิล อยู่บริเวณรอยแผลระหว่างเปลือกกับเนื้อไม้ของท่อนปลูก นอกจากนี้ รากฝอยยังเกิดที่ตาของท่อนปลูกอีกด้วย รากฝอยที่เกิดจากรอยแผลที่โคนของท่อนปลูกมีมากกว่า 50 ราก ส่วน รากฝอยที่เกิดจากรอยแผลที่ตามีน้อยมากเมื่อเปรียบกับรอยแผลที่โคนของท่อนปลูก

ขั้นตอนการปลูกก็มีรายระเอียดที่น่าสนใจ โดยพันธุ์ที่คุณทองสุขใช้คือพันธุ์เกษตรศาสตร์ โดยการปลูกเริ่มจากการไถเตรียมดินแบบทั่วไป แล้วทำการยกร่องเป็นแนวยาวโดยไถเป็นร่องลึกประมาณ 1 ฟุต หรือ 30 เซนติเมตร จากนั้นก็วัดระยะต้น 1 x 1 เมตร ปักไม้เป็นเครื่องหมายไว้ นำปุ๋ยหมักที่ทำเตรียมไว้ใส่ลงไปในร่องตามจุดที่วัดไว้ อัตรา 0.8 – 1 กิโลกรัมต่อหลุม แล้วทำการกลบดิน จากนั้นก็สามารถนำท่อนพันธุ์ที่ทำการสับตาไว้มาปลูกได้เลยทันที จากนั้นใช้แรงงานคนปักท่อนพันธุ์ลงบริเวณที่เราปักไม้และใส่ปุ๋ยไว้ โดยการปักต้องปักให้ตั้งตรงโดยไม่ต้องเอียง เพราะถ้าปักเอียงเหมือนเกษตรกรรายอื่นจะทำให้หัวมันออกไม่รอบกิ่งพันธุ์ ในส่วนของการใส่ปุ๋ยเคมีจะไม่มีการใส่อีกแล้วเพราะใส่ปุ๋ยหมักรองก้นหลุมครั้งเดียวก็เพียงพอแล้ว วัชพืชก็ไม่ต้องกำจัดเพราะการที่เราใช้ท่อนพันธุ์ที่มีขนาดยาวทำให้เวลาปลูกสูงและวัชพืชโตไม่ทันมันที่เราปลูก ถ้ามีเพลี้ยแป้งหรือแมลงชนิดอื่นๆระบาดก็ทำการฉีดพ่นด้วยน้ำส้มควันไม้ หรือน้ำหมักชีวภาพ

สูตรการทำปุ๋ยหมักสูตรคุณทองสุข

  • ขี้วัว 200 กิโลกรัม
  • ฟางแห้ง 1,000 กิโลกรัม
  • กากน้ำตาล 10 กิโลกรัม
  • รำ 2 กิโลกรัม
  • ยูเรีย 2 กิโลกรัม
  • เชื้อ พ.ด.1  1  ซอง
  • น้ำสะอาด 50 ลิตร

วิธีการ

  1. นำกากน้ำตาล รำ เชื้อพ.ด.1 และน้ำสะอาดใส่รวมกันในถังน้ำ 100 ลิตร แล้วผสมกวนกันจนเข้ากันดีหมักทิ้งไว้ 1 คืน 
  2. นำฟางมาวางซ้อนกันเป็นชั้นๆ ละประมาณ 30 เซนติเมตร โดยแต่ละชั้นโรยด้วยขี้วัวบางๆ แล้วเอาปุ๋ยยูเรียโรยอีกชั้นหนึ่ง ตักน้ำหมักที่เตรียมไว้มารดลงบนกอง ทำไปเรื่อยจนได้ขนาดกองสูง 11/2 เมตร กว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร โดยประมาณ
  3. หาวัสดุมาคลุมกองปุ๋ยไว้เช่น กระสอบปุ๋ย ทางมะพร้าว หรือผ้าพลาสติก ระหว่างกระบวนการหมักจะเกิดความร้อน ควรกลับกองปุ๋ยหมักทุกๆ 10 วัน และสังเกตดูเสมอมาความชื้นในกองเพียงพอโดยใช้มือจับดู ถ้ายังชื้นเมื่อบีบแล้วจะรู้สึกว่ายังชื้นวัสดุยังจับตัวกัน แต่ถ้าความชื้นไม่พอควรรดน้ำลงไปแต่อย่าให้แฉะ กระบวนการหมักจะใช้เวลาประมาณ 30 – 45 วัน ก็สามารถนำไปใช้ได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น สนับสนุน โครงการบริหารจัดการเชื้อพันธุกรรมข้าวโพด โดยดำเนินการภายใต้ศูนย์วิจัยปรับปรุงพันธ์พืชเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน ซึ่งม รศ.ดร.กมล เลิศรัตน์ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้เก็บ รวบรวมเชื้อพันธุกรรมข้าวโพด เน้นกลุ่มข้าวโพดฝัก
ประวัติ ข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 2 ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ในระหว่างปี พ.ศ.2549-2556 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท เพื่อให้ได้ข้าวโพดหวานลูกผสมที่มีผลผลิตสูง คุณภาพการบริโภคดี และต้านทานต่อโรคใบไหม้แผลใหญ่ เกิดจากการผสมระหว่างสายพันธุ์แท้เบอร์ 75 กับสายพันธุ์แท้เบอร์ 66 ผ่านการประเมินผลผลิตพันธุ์ลูก