น้ำหมักชีวภาพโดยใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.2

น้ำหมักชีวภาพ

เป็นของเหลวซึ่งได้จากการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากพืชหรือสัตว์ที่มีลักษณะสดอวบน้ำหรือมีความชื้นสูงโดยอาศัยกิจกรรมของจุลินทรีย์ ทั้งในสภาพที่มีออกซิเจนและมีออกซิเจนน้อย ทำให้ได้ฮอร์โมนหรือสารเสริมการเจริญเติบโตของพืช เช่น ออกซิน จิบเบอเรลลิน และไซโดไคนิน รวมทั้งกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น กรดแลคติก กรดอะซิติก กรดอะมิโน และกรดฮิวมิก

สารเร่งซุปเปอร์ พด.2

เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติพิเศษคือ เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยโปรตีน ไขมัน ช่วยลดกลิ่นเหม็นระหว่างการหมัก และเพิ่มการละลายธาตุอาหารในการหมักเปลือกไข่ ก้าง และกระดูกสัตว์ในเวลาสั้นและได้คุณภาพ ซึ่งเจริญได้ในสภาพเป็นกรด ประกอบด้วยจุลินทรีย์ 5 สายพันธุ์ ดังนี้

1. ยีสต์ ผลิตแอลกอฮอล์และกรดอินทรีย์

2. แบคทีเรียผลิตกรดแลคติก

3. แบคทีเรียย่อยสลายโปรตีน

4. แบคทีเรียย่อยสลายไขมัน

5. แบคทีเรียละลายอนินทรีย์ฟอสฟอรัส

วัสดุที่ใช้ในการผลิตน้ำหมักชีวภาพจากผักและผลไม้ จำนวน 50 ลิตร (ใช้เวลาในการหมัก 7 วัน)

·  ผักหรือผลไม้ 40 กิโลกรัม

·  กากน้ำตาล 10 กิโลกรัม (หรือน้ำตาลทราย 5 กิโลกรัม)

·  น้ำ 10 ลิตร (หรือให้ท่วมวัสดุหมัก)

·  สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 1 ซอง (25 กรัม)

วิธีการผลิตน้ำหมักชีวภาพ

1. หั่นหรือสับวัสดุพืชให้เป็นชิ้นเล็กๆ

2. ผสมกากน้ำตาลกับน้ำในถังหมักคนให้ส่วนผสมเข้ากัน

3. ใส่สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 จำนวน 1 ซอง ในส่วนผสมของกากน้ำตาลกับน้ำ คนให้เข้ากันนาน 5 นาที

4. นำเศษพืชใส่ลงไปในถังหมัก และคนส่วนผสมให้เข้ากัน

5. ปิดฝาไม่ต้องสนิทและตั้งไว้ในที่ร่ม

6. ในระหว่างหมัก คนหรือกวน 1-2 ครั้งต่อวัน เพื่อระบายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และทำให้ส่วนผสมคลุกเคล้าได้ดียิ่งขึ้น

วิธีการผลิตน้ำหมักชีวภาพโดยวิธีการต่อเชื้อ

นำน้ำหมักชีวภาพที่ใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ที่หมักเป็นเวลา 5-7 วัน ซึ่งจะสังเกตเห็นฝ้าสีขาวที่ผิวหน้าวัสดุหมัก จำนวน 2 ลิตร แทนการใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 จำนวน 1 ซองในการผลิตน้ำหมักชีวภาพ 50 ลิตร และใช้วัสดุหมัก 30-40 กิโลกร้ม

การพิจารณาน้ำหมักชีวภาพที่หมักสมบูรณ์แล้ว

·  การเจริญของจุลินทรีย์น้อยลงโดยคราบเชื้อที่พบในช่วงแรกจะลดลง

·  ไม่พบก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

·  กลิ่นแอลกอฮอล์ลดลง

·  ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 3-4

คุณสมบัติของน้ำหมักชีวภาพ

·  มีฮอร์โมนหรือสารเสริมการเจริญเติบโตหลายชนิด เช่น ออกซิน จิบเบอเรลลิน และไซโตไคนิน

·  มีกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น กรดแลคติก กรดอะซิติก กรดอะมิโน และกรดฮิวมิก

·  มีวิตามินบี เช่น วิตามินบี 2 (ไรโบฟลาวิน) และวิตามินบี 3 (ไนอะซีน)

·  มีความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 3-4

การใช้ประโยชน์น้ำหมักชีวภาพในพื้นที่การเกษตร

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตรวจสอบความชื้นของเมล็ดพันธุ์ข้าว ตรวจสอบความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์ข้าวและสิ่งเจือปน ตรวจสอบปริมาณข้าวแดง และข้าวเหนียวปนในข้าวเจ้าหรือข้าวเจ้าปนในข้าวเหนียว ตรวจสอบความบริสุทธิ์ของพันธุ์ข้าว ข้าวปนหรือเมล็ดพืชอื่นปน ตรวจสอบปริมาณเมล็ดเป็นโรคและแมลงที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ข้าว ตรวจสอบความงอกหรือความม
การใส่ปุ๋ย สูตรปุ๋ยยางพาราที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำให้ใช้ในปัจจุบันมี 6 สูตร แต่ละสูตรจะเหมาะสมกับเนื้อดินและอายุของต้นยางแตกต่างกัน ดังแสดงไว้ในตาราง ตารางแสดงสูตรปุ๋ยที่มีความเหมาะสมกับเนื้อดินและอายุของต้นยาง หมายเหตุ ฟอสฟอรัสในสูตรปุ๋ยเม็ดเป็นค่าของฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ ฟอสฟอรัสใน