โรคเมล็ดด่าง (Dirty Panicle Disease)

พบมาก : ในนาชลประทาน ภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคใต้สาเหตุเชื้อรา สาเหตุหลัก 6 ชนิดได้แก่  

  •  Curvularia  lunata(Wakk) Boed.
  •  Cercospora oryzaeI.Miyake.
  •  Bipolaris oryzaeBreda de Haan.
  •  Fusarium semitectumBerk & Rav.
  •  Trichoconis padwickiiGanguly. ชื่อเดิมคือAlternaria padwickii(Ganguly) M.B. Ellis
  •  Sarocladium oryzaeSawada.

เชื้อราสาเหตุ

อาการ ในระยะออกรวง พบแผลสีต่างๆ เช่นเป็นจุดสีน้ำตาลหรือดำหรือมีลายสีน้ำตาลดำหรือ  สีเทาปนชมพูที่เมล็ดบนรวงข้าว ทั้งนี้เพราะมีเชื้อราหลายชนิดที่สามารถเข้าทำลายและทำให้เกิดอาการต่างกันไป การเข้าทำลายของเชื้อรามักจะเกิดในช่วงดอกข้าวเริ่มโผล่จากกาบหุ้มรวงจนถึงระยะเมล็ดข้าวเริ่มเป็นน้ำนม และอาการเมล็ดด่าง จะปรากฏเด่นชัดในระยะใกล้เก็บเกี่ยว

อาการโรคเมล็ดด่าง

การแพร่ระบาด เชื้อราสามารถแพร่กระจายไปกับลม ติดไปกับเมล็ด และสามารถแพร่กระจายในยุ้งฉางได้ เชื้อสาเหตุบางชนิดสามารถสร้างสารพิษ (toxin) ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

การป้องกันกำจัด

  • เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูก ควรคัดเลือกจากแปลงที่ไม่เป็นโรค
  • คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซบ ในอัตรา 3 กรัม /เมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม
  • ถ้าพบการระบาดของโรคใบจุดสีน้ำตาล และใบขีดสีน้ำตาล ในระยะต้นข้าวตั้งท้องใกล้ออกรวง ให้ฉีดพ่น  ด้วยสารป้องกัน กำจัดเชื้อรา เช่น โพรพิโคนาโซล โพรพิโคนาโซล+ไดฟีโนโคนาโซล หรือ โพรพิโคนาโซล+โพรคลอราซ หรือ ฟูซิราซอล หรือ ทีบูโคนาโซล หรือ แมนโคเซ็บ

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคใบด่างมันสำปะหลัง เกิดจากเชื้อไวรัส ในวงศ์ Geminiridae สกุล Begomovirus ปัจจุบันมีรายงานทั้งหมด 10 ชนิด โดยพบในทวีปแอฟริกา 8 ชนิด และในทวีปเอเชีย 2 ชนิด ได้แก่ Indian cassava mosaic virus (ICMV) พบในประเทศอินเดีย และ Sri Lankan cassava mosaic virus (SLCMV) พบในประเทศศรีลังกา อินเดีย เวียดนาม
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์นับว่าเป็นพืชไร่ชนิดหนึ่งที่มีศักยภาพที่จะใช้ปลูกในฤดูแล้งหลังเก็บเกี่ยวข้าว เนื่องจากเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อยกว่าการทำนาประมาณ 2-3 เท่า นอกจากนี้ยังช่วยลดการแพร่ระบาดของแมลง คุณภาพเมล็ดดีปราศจากสารพิษแอฟลาทอกซิน ราคาดีและช่วยเพิ่มปริมาณการผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศโดยเฉพาะ
ในปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมี ซึ่งทำให้เกิดต้นทุนในการผลิตสูง แต่ก็มีเกษตรกรหลายรายหันกลับมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองในนาข้าว โดยอาศัยหลักการพึ่งพากันของธรรมชาติ เกิดองค์ความรู้จากการสังเกตว่า พืชผักใบเขียวในส่วนยอดอ่อนๆ จะมีฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโตอยู่ในปริมาณมาก เมื่อนำมาหมักให้เ