น้ำดี ดินดี คนมีความสามัคคี ข้าวดีมีคุณภาพ

“น้ำดี  ดินดี  คนมีความสามัคคี  ข้าวดีมีคุณภาพ ต้องข้าวของศูนย์ข้าวชุมชนหนองปิ้งไก่”

พี่น้องเกษตรกรทุกท่าน เคยประสบปัญหาเหล่านี้บ้างไหม ไม่รู้จะปลูกอะไรดี ปลูกอย่างไร  ใช้วิธีไหนถึงจะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปริมาณมาก เมื่อได้ผลผลิตแล้วจะไปขายที่ไหน ทำไมราคาสินค้าทางการเกษตรจึงไม่แน่นอน ขึ้นน้อยแต่ลงบ่อย เกษตรในกระแสฉบับนี้จะพาทุกท่านไปรู้จักกับกลุ่มเกษตรกรที่พยายามต่อสู้เพื่อให้หลุดพ้นจากปัญหาเหล่านี้ ด้วยวิถีทางของกระบวนการรวมกลุ่มที่เข้มแข็ง

กลุ่มเกษตรกรชุมชนหนองปิ้งไก่ ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นกลุ่มเกษตรกรที่มีการริเริ่มค้นหาที่มาของปัญหา และหาทางออกที่ยั่งยืน โดยเริ่มที่แกนนำกลุ่มที่หัวไว ใจสู้  พี่ทศภาค ตาลาน (ประธานกลุ่ม) พี่ชัยณรงค์  คำภิโร (รองประธาน) และสมาชิกกลุ่มแรกอีก 13 คน ด้วยปณิธานที่ว่า “อยากทำข้าวปลอดภัย เพื่อให้คนทั่วไปได้บริโภค” กลุ่มเกษตรกรหนองปิ้งไก่เค้ามีวิธีดำเนินการอย่างไรเราไปดูกัน

อยากมีกลุ่มที่ดีมีความสามัคคีก็ต้องจัดประชุม การรวมกลุ่มนั้นหากไม่มีการจัดประชุมระดมความคิด ช่วยกันวิเคราะห์ปัญหา หาทางออก การรวมกลุ่มนั้นย่อมไม่ประสบผลสำเร็จ กลุ่มหนองปิ้งไก่เล็งเห็นถึงจุดนี้จึงได้มีการจัดประชุมกันอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่แรกเริ่ม ที่ต้องมีการประชุมระบุข้อตกลงในการรวมกลุ่มให้สมาชิกรับในกติกาของกลุ่มที่ตั้งขึ้นมาร่วมกัน และวางแผนหาแนวทางในการปฏิบัติ จนกระทั่งขั้นตอนการเก็บเกี่ยว และส่งจำหน่าย โดยทุกคนมีสิทธิ์ออกเสียงเห็นชอบเท่าเทียมกัน

รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” เมื่อรู้ว่ากลุ่มของตนเองต้องการอะไร ขาดอะไร วิธีการที่ดีที่สุดที่จะเติมเต็มคือ ต้องไปดูกลุ่มที่ประสบความสำเร็จมาก่อน และศึกษารวบรวมข้อมูลหลายๆ ด้าน ด้วยเหตุนี้ทางกลุ่มจึงได้ไปศึกษาดูงานในหลายๆ พื้นที่ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใกล้ที่สุดคือ กลุ่มผู้ผลิตข้าวหอมนิลหนองโสน จ.พิจิตร ทำให้ได้ข้อมูลในการผลิตข้าวหอมนิล ซึ่งได้รับความรู้ทั้งวิธีการผลิต แปรรูป และสถานที่จัดจำหน่าย

ศึกษามามากมายไฉนเลยจะสู้ลงมือทำ” เมื่อกลุ่มพร้อม ข้อมูลความรู้พร้อม ก็ต้องลงมือทำ โดยได้รับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมนิล และข้าวนิลมณี จากกลุ่มตัวอย่างหนองโสน และได้ใช้วิทยาการเครื่องจักรกลการเกษตรเข้ามาช่วยทั้งขั้นตอนการเตรียมดิน ก็ได้ใช้แทรกเตอร์ และการดำนาก็ได้มีการลงแขกดำนาด้วยรถดำนาของคูโบต้า ทำให้ทำงานได้รวดเร็ว เป็นระเบียบ ข้าวเจริญเติบโตได้ดี อีกทั้งยังมีเจ้าหน้าที่ของบริษัทสยามคูโบต้า มาให้ความรู้ทั้งในด้านการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะ คุณสุภชัย ปิติวุฒิ ผู้ช่วยผู้จัดการส่วนสำนักงานขายภาคเหนือบริษัทสยามคูโบต้าฯ ได้มาส่งเสริมและให้ความรู้เรื่องการใช้เทคนิคเปียกสลับแห้งแกล้งข้าวสู้เพลี้ยกระโดด การใช้แหนแดงเพิ่มในแปลงนาเพื่อเพิ่มปุ๋ยให้ข้าว การใช้ท่อวัดระดับน้ำในพื้นนาเพื่อลดการเกิดนาหล่ม และเทคนิคดีๆ อีกมากมายที่ทำให้ได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น

ผลผลิตที่ดีก็ต้องมีวิธีการจำหน่ายให้ได้ราคา” การจำหน่ายข้าวเป็นข้าวเปลือกให้แก่โรงสีนั้นไม่สามารถทำให้ข้าวที่ผลิตอย่างพิถีพิถันนั้นได้ราคาสูงได้ วิธีการแก้ปัญหาของกลุ่มหนองปิ้งไก่คือ ผลิตข้าวเป็นข้าวพันธุ์หลักให้กับศูนย์ขยายพันธุ์ข้าว และยังมีการผลิตข้าวหอมนิล และข้าวนิลมณี ส่งให้แก่กลุ่มผู้ผลิตข้าวหนองโสนด้วย แต่ทางกลุ่มยังคงหาลู่ทางการจำหน่ายผลผลิตข้าวในรูปแบบอื่นๆ เพื่อให้ได้ราคาสูงที่สุด เช่น การนำข้าวสารหอมนิล และผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ ของกลุ่มไปเปิดตัวจำหน่ายในที่ต่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตของกลุ่มอีกด้วย โดยในอนาคตทางกลุ่มมีความหวังว่าข้าวที่กลุ่มของตนผลิตจะสามารถจำหน่ายถึงผู้บริโภคได้โดยตรง ให้สมกับความคาดหวังว่า “อยากทำข้าวปลอดภัย เพื่อให้คนทั่วไปได้บริโภค” 

นี่คือตัวอย่างกลุ่มเกษตรกรต้นแบบสยามคูโบต้าที่ใฝ่หาความพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มองเห็นทางออกของปัญหา ด้วยปัญญา และการรวมกลุ่ม ทำให้เกิดพลังขับเคลื่อน กลุ่มเกษตรกรหนองปิ้งไก่ คงเป็นตัวอย่างที่ดีของการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ร่วมกันเดินไปสู่จุดมุ่งหมายที่ได้วางไว้ร่วมกัน  “ไม่มีปัญหาใดที่ยากเกินไป หากเราร่วมมือ ร่วมใจ ฝ่าฟันไปด้วยกัน”

บทความที่เกี่ยวข้อง

ประโยชน์ของดินทรายมีอะไรบ้าง ดินทรายเหมาะกับการปลูกพืชอะไร คำถามที่เกษตรกรไทยหลาย ๆ ท่านอาจกำลังต้องการคำตอบ เพราะดินทรายนั้นมีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่หากนำไปใช้ปลูกพืชอาจมีความยากลำบากพอสมควร แต่ถ้าเราค้นหาให้ลึกมากขึ้น จะพบว่าดินทรายก็มีประโยชน์อยู่ไม่น้อย ประโยชน์ของดินทรายและพืชที่ควรปลูกมีอะไรบ้าง KUBOTA (Agri) Solutions มาสรุปให้กับคุณแล้ว
การเลือกพื้นที่ ควรเลือกพื้นที่ ที่มีแหล่งน้ำเพียงพอตลอดฤดูปลูก หลีกเลี่ยงพื้นที่ลุ่มต่ำที่มีการระบายน้ำไม่ดี ฤดูปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา เดือนที่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์คือเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม หรือปลูกทันทีหลังจากเก็บเกี่ยวข้าว เพื่อใช้ประโยชน์จากความชื้นที่เหลืออยู่ในดิน
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น สนับสนุน โครงการบริหารจัดการเชื้อพันธุกรรมข้าวโพด โดยดำเนินการภายใต้ศูนย์วิจัยปรับปรุงพันธ์พืชเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน ซึ่งม รศ.ดร.กมล เลิศรัตน์ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้เก็บ รวบรวมเชื้อพันธุกรรมข้าวโพด เน้นกลุ่มข้าวโพดฝัก