การทำเกษตรไม่เผา ด้วยการบริหารจัดการหลังการเก็บเกี่ยว โดยการใช้เครื่องอัดฟาง

การทำเกษตรแบบดั้งเดิมนั้น ภายหลังจากการเกี่ยวข้าว เกษตรกรบางส่วนจะนิยมเผาตอซังและฟางข้าว เนื่องจากเป็นวิธีกำจัดฟางข้าว เพื่อจัดการพื้นที่นาได้อย่างสะดวกรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม การเผาตอซังและฟางข้าวนั้น กลับส่งผลกระทบหลายด้านด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะปัญหาด้านโครงสร้างของดินที่เปลี่ยนไป เพราะเป็นการทำลายธาตุอาหาร จุลินทรีย์ และแมลงที่เป็นประโยชน์ในดิน รวมไปถึงเป็นการสร้างปัญหามลพิษทางอากาศให้กับพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่อีกด้วย

ดังนั้น สยามคูโบต้า จึงได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรใช้พื้นที่นาให้เกิดประโยชน์สูงสุดและให้เล็งเห็นถึงโอกาสในการสร้างรายได้เพิ่มหลังจากการเก็บเกี่ยว ด้วยการรณรงค์ให้เกษตรกรทำการเกษตรไม่เผา โดยการใช้เครื่องอัดฟาง เพื่อนำฟางก้อนไปใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากทุกวันนี้ตลาดมีความต้องการรับซื้อฟางข้าวจำนวนมาก เพื่อเป็นอาหารเลี้ยงโคนม โคเนื้อ และสัตว์เคี้ยวเอื้องเพื่อการพาณิชย์ ซึ่งสอดคล้องกับในยุคปัจจุบันที่ประเทศไทยต้องการเพิ่มผลผลิตโคนม และช่วยเกษรกรลดต้นทุนสำหรับฟาร์มโคเนื้อ จึงเป็นโอกาสดีที่พี่น้องเกษตรกรจะใช้เครื่องอัดฟางในการสร้างรายได้เสริม เช่นเดียวกับคุณพ่อคำตัน ชาตา เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมวัย 51 ปีที่วิสาหกิจชุมชนทำนาห้วยตาดข่า ต.หนองอ้อ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี  ได้มีการนำเครื่องอัดฟางมาใช้บริหารจัดการพื้นที่นาของตนเองหลังจากการเกี่ยวข้าว

พ่อคำตัน เผยว่า ตนเองมีพื้นที่นาประมาณ 8 ไร่ และมีอาชีพเลี้ยงโคนมอีกกว่า 50 ตัว ซึ่งแต่เดิมตนเองได้ซื้อฟางก้อนจากเกษตรกรในพื้นที่ จ.อุดรธานี และจ.สกลนคร เพื่อนำมาใช้เลี้ยงวัว ประมาณ 70,000 บาท/ปี ซึ่งคิดดูแล้วเป็นจำนวนเงินที่เยอะมาก ตนเองเลยคิดว่า ไหนๆ ก็มีพื้นที่นาและมีแทรกเตอร์คูโบต้า 2 คัน  ทั้งรุ่น 50 แรงม้าและ 47 แรงม้า จึงน่าจะนำมาใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้อีก ประกอบกับมีทีมงานจากสยามคูโบต้าเข้ามาแนะนำให้ซื้อเครื่องอัดฟางสำหรับติดตั้งกับแทรกเตอร์ เพื่อนำมาใช้อัดฟางก้อนในพื้นที่นาของตนเอง เพื่อลดลดต้นทุนค่าอาหารโคนม จึงตัดสินใจซื้อทันที 

“หลังจากที่ใช้เครื่องอัดฟางมากว่า 3 ปี ช่วยให้ผมลดค่าใช้จ่ายลงไปได้เยอะมาก และผมเองยังได้นำเครื่องอัดฟางไปรับจ้างอัดฟางก้อนให้กับเกษตรกรในพื้นที่จ.อุดรธานีและจังหวัดใกล้เคียงด้วยครับ ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วผมจะอัดก้อนฟางได้ประมาณ 10,000 ก้อน/ปี ยิ่งถ้าฟางเหลือเยอะ ผมก็นำไปขายให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมเหมือนกัน ช่วยสร้างรายได้เพิ่มให้ผมอีกปีละแสนกว่าบาท เพราะเครื่องอัดฟางมีคุณภาพ สามารถอัดได้แน่น ก้อนตรง ลดการหลุดร่วง ทำให้ก้อนฟางมีคุณภาพ ขนาดกะทัดรัด และเนื้อฟางมากครับ”

พ่อคำตัน กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับปัญหาจากการเผาฟางข้าวนั้น หากจะให้ลดลงจริงๆ ผมคิดว่าเกษตรกรควรใส่ใจและเล็งเห็นถึงประโยชน์จากฟางข้าวกันมากขึ้น อาจจะนำมาใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ ทำเป็นปุ๋ยหมัก หรือวัสดุปกคลุมดินหลังการหว่านเมล็ดพืช ซึ่งนอกจากจะไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างคุ้มค่าไม่ให้สูญเปล่า หรือท่านใดที่สนใจซื้อเครื่องอัดฟางก็สามารถนำไปใช้เป็นธุรกิจเสริม ช่วยเพิ่มรายได้ ด้วยการอัดฟางขายเหมือนตนเองได้เช่นกัน  และในอนาคต ผมวางแผนจะซื้อเครื่องอัดฟางเพิ่มอีก 1 เครื่องในช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้ เพื่อนำไปเสริมกำลังการรับจ้างได้อย่างเต็มที่

บทความที่เกี่ยวข้อง

ชนิดดิน ดินมันสําปะหลังในประเทศไทย เป็นดินไร่ในที่นาดอนหรือที่ดอนที่มีสภาพพื้นที่ราบเรียบ ลาดชัน หรือมีลักษณะ ลูกคลื่นลอนลาด จําแนกชนิดชั้นดินตามระบบอนุกรมวิธานดินได้ 6 ชั้น ชั้นดินที่นิยมนําข้อมูลดินมาใช้ในการวางแผน การใช้ที่ดินเพื่อการผลิตพืชเศรษฐกิจมากที่สุด คือ ชั้นกลุ่มดิน และชุดดิน ชุดดิน
แตงไทยผลไม้ที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนาน จะกินสดก็ดีนำไปทำของหวานก็อร่อย แต่วิธีปลูกแตงไทยให้ได้ผลเยอะ เนื้อหวาน เป็นที่ต้องการของตลาดนั้น ต้องทำอย่างไร ใช้วิธีการปลูกแตงไทยแบบไหน KUBOTA จะมาแนะนำให้แบบครบถ้วนทุกรายละเอียด
ประวัติ ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 84-1 ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ในระหว่างปี พ.ศ.2544-2551 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท เพื่อให้ได้ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมที่มีผลผลิตสูง และมีความเหนียวนุ่ม เกิดจากการผสมระหว่างสายพันธุ์แท้ F4305 กับสายพันธุ์แท้ M80 ผ่านการประเมินผลผลิตพันธุ์ลูกผสมตามขั้นตอนของกรม