ชั้นของดินแต่ละชั้น แตกต่างกันอย่างไร ดินชั้นไหนที่เหมาะแก่การปลูกพืช

ชั้นของดินแต่ละชั้น แตกต่างกันอย่างไร ดินชั้นไหนที่เหมาะแก่การปลูกพืช

ชั้นของดินสำคัญกับการเพาะปลูกมากแค่ไหน ? สำหรับเกษตรกรทั้งหลายรู้หรือไม่ว่าชั้นของดิน
คืออีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยการเพาะปลูกพืชทุกชนิดให้สามารถทำผลผลิตเติบโตได้
อย่างรวดเร็ว เพราะพืชแต่ละชนิดต้องการการปลูกในชั้นของดินที่ไม่เหมือนกัน

ในบทความนี้ KAS หรือ Kubota (Argi) Solutions เลยขอมาอธิบายให้ทุกคนเข้าใจว่าชั้นของดิน
ในแต่ละชั้น แตกต่างกันอย่างไร และดินชั้นไหนที่เหมาะแก่การปลูกพืชชนิดอะไรมากที่สุด

ชั้นของดิน คืออะไร?

ชั้นของดิน คือ ดินที่เกิดจากการสลายตัวของหินและซากพืชซากสัตว์ โดยผ่านกระบวนการทางธรรมชาติเป็นเวลานาน จนสามารถแบ่งออกเป็นชั้น ๆ ตามลักษณะของดิน โครงสร้างของดิน และความลึกจาก
ผิวดิน ซึ่งดินแต่ละชั้นจะแตกต่างกันที่ สี ผิวพื้น โครงสร้าง ความพรุน และปฏิกิริยาของดิน โดยชั้นดิน
ที่พบโดยทั่วไปมีทั้งหมด 5 ชั้น เป็นหลักดังต่อไปนี้

ภาพจาก ck12 foundation

ชั้นของดิน มีชั้นอะไรบ้าง ?

ตามหลักการแบ่งชั้นของดินนั้น ชั้นดินหลักๆ จะมีอยู่ด้วยกัน 5 ชั้น คือ ชั้น O, A, E, B และ C
ซึ่งแต่ละชั้นก็จะมีคุณสมบัติ และพืชที่เจริญเติบโตได้แตกต่างกันออกไป แต่ในบางหน้าตัดดินอาจพบ
ชั้น R ซึ่งเป็นชั้นหินพื้นที่อาจจะมีความเกี่ยวข้องกับชั้นดินหลักตอนบน เราลองมาดูกันว่าชั้นของดิน
ทั้ง 5 ประเภท และ ชั้น R มีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง

ดินชั้น O หรือ ชั้นดินอินทรีย์ 

ดินชั้น O – Organic Layer หรือ ชั้นดินอินทรีย์ เป็นดินที่อยู่บนสุดของหน้าตัดดิน มีเศษใบไม้กิ่งไม้
รวมถึงมีต้นไม้ หญ้า และพืชอื่น ๆ ปกคลุม ซากพืชซากสัตว์ที่ทับถมกันอยู่ เนื้อดินจะมีสีดำคล้ำถึง
น้ำตาลเข้ม ซึ่งเกิดจากการย่อยสลายทั้งสมบูรณ์ และไม่สมบูรณ์ เป็นชั้นของดินที่ประกอบด้วย
อินทรียวัตถุ (ฮิวมัส) เป็นส่วนใหญ่ โดยชั้นดินอินทรีย์หรือชั้น O ถือว่าเป็นชั้นของดินที่มี
ความอุดมสมบูรณ์เหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืช

ดินชั้น A หรือ ชั้นดินบน

ดินชั้น A – Topsoil หรือ ชั้นดินบน นั้นคือดินที่อยู่ใต้ชั้น O เป็นชั้นของดินที่ประกอบด้วยอินทรียวัตถุ
ที่มีการสลายตัวแล้ว จนเกิดการผสมหลอมรวมร่วมกับแร่ธาตุในดิน มีความหนาประมาณ 15-30 ซม.
จากผิวหน้าดิน มักมีสีคล้ำ ดินชั้นนี้มีปริมาณอินทรียวัตถุน้อยกว่าชั้น O แต่ก็ยังสูงกว่าชั้นอื่น ๆ
ดินชั้นนี้เหมาะสำหรับการเพาะปลูกเหมือนกัน เนื่องจากมีโครงสร้างที่ดี โดยเฉพาะเรื่องของการระบายน้ำ
และการหมุนเวียนของอากาศที่ทำได้ดีกว่าชั้นของดินประเภทอื่น ๆ

ดินชั้น E หรือ ชั้นชะล้าง

ดินชั้น E – Eluviation Layer หรือ ชั้นชะล้างเป็นชั้นดินที่เกิดจากการชะล้างของดิน  ชั้นบน ที่ละลายจากชั้น A มักมีสีจางกว่าชั้น A ดินชั้นนี้มีปริมาณอินทรียวัตถุต่ำ เนื้อดินหยาบ เป็นชั้นที่มีการสะสมของตะกอน และแร่ธาตุต่าง ๆ อยู่มากเช่น แร่ดินเหนียว อะลูมิเนียมคาร์บอเนต เหล็กออกไซด์ โดยดินชั้น B
จะมีสีน้ำตาลปนแดง โดยแร่ธาตุส่วนใหญ่ในชั้นนี้มักถูกชะล้างลงไปชั้นดินล่าง จึงทำให้ชั้นดินนี้
มีธาตุอาหารต่ำจึงไม่เหมาะกับการนำไปเพาะปลูก

ดินชั้น B หรือ ชั้นดินล่าง

ดินชั้น B – Subsoil หรือ ชั้นดินล่าง เป็นชั้นของดินที่เกิดจากการสะสมแร่ธาตุต่างที่ถูกชะล้างลงมา
ที่เกิดจากการสะสมของวัสดุต่าง ๆ เช่น อนุภาคดินเหนียว เหล็กออกไซด์ ที่มากกว่าชั้น E โดยดินชั้นนี้
จะมีสีเข้มและคล้ำกว่าชั้น E ด้วยเช่นกันดินชั้นนี้มีเนื้อดินแน่น อยู่ติดกันเป็นก้อน ระบายน้ำไม่ดี เนื่องจาก
เป็นชั้นที่มีการสะสมอนุภาคทรายแป้งไว้เยอะที่สุดทำให้ไปอุดช่องว่างอนุภาคเม็ดดิน ทำให้ถ่ายเทอากาศไม่ดี
จึงไม่เหมาะกับการปลูกพืชเกือบทุกชนิด (ชั้นดินมักเริ่มต้นเกิดขึ้นที่ชั้นนี้ และสะสมขึ้นไปสู่ชั้นดิน
ที่อยู่เหนือกว่าไปเรื่อยๆ)

ดินชั้น C หรือ ชั้นวัตถุต้นกำเนิดดิน

ดินชั้น C – Parent Rock หรือ ชั้นวัตถุต้นกำเนิดดิน เป็นชั้นของดินที่อยู่ในตำแหน่งลึกที่สุด
เกิดจากการผุพังของหิน มักมีสีอ่อนกว่าชั้นอื่น ๆ ดินชั้นนี้มีเนื้อดินหยาบ ไม่มีการตกตะกอน
ของวัสดุดินจากการชะล้าง และไม่มีการสะสมของอินทรียวัตถุจึงทำให้ไม่สามารถปลูกพืชด้วยชั้นดินนี้ได้เลย

ดินชั้น R หรือ ชั้นหินพื้น

ดินชั้น R – Base Rock หรือ ชั้นหินพื้น เป็นชั้นของดินที่อยู่ในตำแหน่งลึกที่สุด เป็นชั้นหินแข็ง
ที่ยังไม่ผุพังสลายตัว อาจจะมีหรือไม่มีในหน้าตัดดินก็ได้ เช่น แกรนิตหิน, บะซอลต์ และควอตซ์
ที่ยังไม่ผุพังสลายตัว

ภาพจาก ScienceFact.net

ชั้นของดินชั้นไหนที่เหมาะกับการเพาะปลูกมากที่สุด ?

ชั้นของดินที่เหมาะกับการปลูกพืชมากที่สุดคือ ดินชั้น O, A หรือชั้นดินอินทรีย์ และดินชั้นบน
ซึ่งเป็นชั้นดินที่ทับถมและมีปริมาณธาตุอาหาร และ อินทรียวัตถุที่สลายตัว และกำลังสลายตัวแล้วผสม
คลุกเคล้าอยู่กับแร่ธาตุในดิน มักมีสีคล้ำ ดินชั้นนี้มีปริมาณอินทรียวัตถุสูงกว่าชั้นอื่น ๆ  เป็นชั้นของดิน
ที่มีความสำคัญต่อการเพาะปลูกพืชมาก เนื่องจากรากของพืชส่วนมากจะชอนไชหาอาหาร ที่ดินชั้นนี้
ดินชั้นบนเป็นชั้นที่มีอินทรียวัตถุสูงกว่าชั้นอื่น ปกติดินชั้นบนจะมีสีเข้ม หรือคล้ำกว่าชั้นอื่น ๆ ใช้สำหรับการทำการเพาะปลูกพืชทั่ว ๆ ไป โดยมีความหนาตั้งแต่ 0-15 ซม.

ดินชั้นนี้จึงเหมาะสำหรับการเพาะปลูก เนื่องจากมีโครงสร้างที่ดี ระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้ดี รากพืชสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินชั้นนี้

ชั้นดิน O และ A หรือดินชั้นอินทรีย์ และดินชั้นบน มีข้อดีที่เหมาะกับการเพาะปลูกดังนี้

  • มีปริมาณอินทรียวัตถุสูง อินทรียวัตถุจะช่วยเพิ่มความร่วนซุยให้กับดิน ทำให้ดินสามารถระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้ดี
  • มีปริมาณแร่ธาตุที่จำเป็นต่อพืชสูง แร่ธาตุเหล่านี้จะช่วยในการเจริญเติบโตของพืช
  • มีโครงสร้างที่ดี โครงสร้างที่ดีของดินจะช่วยให้รากพืชสามารถเจริญเติบโตได้ดี

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : รู้หรือไม่? ดินแต่ละชั้นแตกต่างกันอย่างไร?

สรุปทั้งหมดจากเรื่องชั้นของดิน

สรุปแล้วลักษณะของดินแต่ละชั้นนั้นแตกต่างกันไปตามปัจจัยต่าง ๆ เช่น สภาพภูมิอากาศ ชนิดของหิน
ต้นกำเนิด ระยะเวลาในการก่อตัว และกิจกรรมของสิ่งมีชีวิต ความแตกต่างของชั้นดินเหล่านี้ส่งผลต่อคุณสมบัติของดินในด้านต่าง ๆ เช่น การระบายน้ำ การถ่ายเทอากาศ ความอุดมสมบูรณ์ของดิน เป็นต้น

สำหรับเกษตรกรท่านใดที่ต้องการทราบข้อมูลความรู้ที่จำเป็นต่อการทำการเพาะปลูกและการทำเกษตร
ให้ได้ผลลัพธ์ที่ยั่งยืน ต้องอย่าลืมติดตามความรู้ด้านการเกษตรยุคใหม่ได้ทุกสัปดาห์ที่เว็บไซต์
KAS Kubota (Argi) Solution คลังความรู้เพื่อเกษตรกรไทยทุกคน 

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

การเลือกพื้นที่ ควรเลือกพื้นที่ ที่มีแหล่งน้ำเพียงพอตลอดฤดูปลูก หลีกเลี่ยงพื้นที่ลุ่มต่ำที่มีการระบายน้ำไม่ดี ฤดูปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา เดือนที่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์คือเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม หรือปลูกทันทีหลังจากเก็บเกี่ยวข้าว เพื่อใช้ประโยชน์จากความชื้นที่เหลืออยู่ในดิน
ในระหว่างการเก็บเกี่ยว การขนส่ง การเก็บรักษา และการวางจําหน่ายข้าวโพดฝักอ่อน จะเกิดการสูญเสียน้ำมาก ทำให้ฝักเหี่ยวเป็นสีน้ำตาล น้ำหนักลดลง เมื่อเก็บไว้นานความหวานจะลดลง อาการฝักเน่าและบวมจะปรากฏมากขึ้น การปอกเปลือกข้าวโพดฝักอ่อนถ้าไม่มีความชํานาญจะทําให้ฝักอ่อนเกิดบาดแผลหรือ เกิดอาการช้ำได้
เกษตรกรไม่ต้องกังวลใจเรื่องปุ๋ยยูเรียแพงแล้วนะ เพราะเราสามารถใช้แหนแดงแทนปุ๋ยยูเรียได้ โดยข้อมูลจากกรมวิชาการการเกษตรระบุไว้ว่าหากปลูกแหนแดง 1 ไร่ จะได้แหนแดง 3 ตัน มีธาตุอาหารเทียบเท่าปุ๋ยยูเรีย 7-10 กิโลกรัม เลยทีเดียว แต่ก่อนจะใช้แหนแดงทดแทนปุ๋ย เรามารู้จักคุณสมบัติ และวิธีการใช้แหนแดงกันก่อน