“Plant Factory” ยกระดับการปลูกพืชสู่เกษตรแม่นยำ

“Plant factory” หรือ “โรงงานผลิตพืช” คือผลผลิตของความก้าวหน้าในการนำเทคโนโลยีหลากหลายสาขามาประยุกต์ใช้เพื่อพลิกโฉมการปลูกพืชจากดั้งเดิมที่ต้องพึ่งพาธรรมชาติ มาสู่การปลูกในระบบปิดที่ควบคุมสภาพแวดล้อม ทำให้ปลอดภัยสูง ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง มีปริมาณผลผลิตที่คงที่ และยังสามารถปลูกได้ทั้งปีโดยไม่ขึ้นกับฤดูกาล

ด้วยข้อดีของ “Plant factory” ที่ตอบโจทย์ทั้งด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลต่อการทำการเกษตรทั่วโลก การขาดแคลนแรงงานและความต้องการสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพและปลอดภัยมากขึ้น  ทำให้เทคโนโลยีนี้ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นต้นกำเนิดของเทคโนโลยีและใช้ในการปลูกพืชมาแล้วกว่า 20 ปี

Plant factory เป็นเทคโนโลยีการปลูกพืชในระบบปิดหรือกึ่งปิด ที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมและปัจจัยต่าง ๆ ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชได้อย่างสมบูรณ์ เช่น ช่วงคลื่นแสง ความเข้มแสง อุณหภูมิ ความชื้น แร่ธาตุต่าง ๆรวมถึงปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งแหล่งกำเนิดแสงที่นำมาใช้แทนแสงอาทิตย์ คือ แสงจากหลอดไฟ LED ที่ให้ความร้อนน้อยกว่า และประหยัดไฟมากกว่าหลอดไฟฟลูออเรสเซนซ์ สิ่งที่สำคัญของ Plant factory ก็คือ การเลือกสีและความยาวคลื่นแสงตามความเหมาะสมของชนิดพืชและระยะการเจริญเติบโต ซึ่งจะช่วยให้พืชที่ปลูกให้ผลผลิตสูงและสามารถผลิตสารสำคัญได้ตามต้องการ 

โรงงานผลิตพืชแห่งนี้ได้มีการบูรณาการองค์ความรู้ต่าง ๆ ทั้งด้านพันธุ์พืชสรีรวิทยาพืช การผลิตและวิศวกรรม และการจัดการเทคโนโลยี ให้เหมาะสมกับประเทศไทย ทำให้สามารถปลูกพืชได้ตลอดทั้งปี โดยไม่ขึ้นกับฤดูกาล สามารถปลูกพืชในชั้นปลูกซึ่งซ้อนกันได้สูงสุดถึง 10 ชั้น ทำให้เพิ่มผลผลิตได้มากถึง 10 เท่า ที่สำคัญการปลูกพืชในระบบปิดและมีระบบกรองอากาศทำให้ปราศจากเชื้อโรคและแมลง ไม่ต้องใช้สารเคมีปราบศัตรูพืชทำให้ได้ผลผลิตที่สะอาด ปลอดภัย ไม่มีสารตกค้าง ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพดีและมีราคาสูงกว่าตลาดทั่วไปประมาณ 1.3 เท่า

บทความที่เกี่ยวข้อง

น้ำเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดแต่ความต้องการใช้น้ำกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามจำนวนประชากรและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการใช้น้ำสำหรับผลิตอาหารและพลังงานซึ่งคิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 90 เมื่อเทียบกับปริมาณน้ำสะอาดที่ใช้ในการบริโภคทั้งหมดของโลก แต่ปัจจุบันแหล่งน้ำสะอาด
ในปัจจุบันแนวโน้มการจัดการการเกษตรจะชัดเจนขึ้น โดยการเปลี่ยนวิถีดั้งเดิมของเกษตรกรให้เป็นเกษตรกรที่เต็มไปด้วยองค์ความรู้ ผลิตผลที่มีคุณภาพผ่านการควบคุมสภาพแวดล้อมการเพาะปลูกอย่างใกล้ชิด ด้วยเหตุนี้ทางคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงเริ่มโครงการโรงเรือนอัจฉริยะ (FOA Smart Greenhouse) โดยผู้ใช้สามารถ
อุตสาหกรรมการเกษตรกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายจากความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งสภาพอากาศที่ไม่แน่นอน (Climate Change) ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน แรงงานสูงวัย และต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เกษตรกรต้องพัฒนาศักยภาพในการทำการเกษตรให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพื่อเพิ่มผลผลิตควบคู่กับการลดต้นทุนการผลิต โดยใช้ทรัพยากร