ไตรโคเดอร์มาป้องกันโรคราแป้งในเมล่อน

เมล่อน เป็นพืชที่มีความอ่อนแอต่อศัตรูพืช ทั้งโรคและแมลง มีโรคหลายชนิดที่พบทั่วไปในการปลูก เมล่อน ทาให้ผลผลิตเสียหาย ไม่ได้คุณภาพผลตามที่ตลาดต้องการ ดังนั้นการปลูกเมล่อนจึงต้องดูแลละเอียด ตลอดฤดูปลูก ทาให้มีต้นทุนการผลิตสูงกว่าพืชอื่น เราจึงต้องให้ความสาคัญในการรู้จักโรคและการป้องกันกาจัดโรคที่เกิดในแปลงปลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นประเด็นหลักที่เราทาการยกตัวอย่างโรคราแป้งในเมล่อน นามาวิเคราะห์หาสาเหตุ แนะนาวิธีการป้องกันกาจัด ตลอดจนวิธีการขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มา เพื่อให้เกษตรกรสามารถนาไปใช้เป็นหลักการในการแก้ปัญหา ต่อไปจึงจะทาให้มีความคุ้มค่ากับการลงทุนของเกษตรกร

โรคราแป้ง (powdery mildew)

เชื้อสาเหตุ เกิดจากเชื้อรา : Erysiphe cichoracearum De candolle , Sphaerotheca fuliginea

         ลักษณะอาการ ราสร้างสปอร์เป็นผงสีขาวๆ คล้ายผงแป้ง มักพบอาการบนใบแก่และเป็นในระยะต้นพืชติดผลเกิดกระจายทั่วบนใบ หลังจากนั้นใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมน้าตาล ม้วนงอและเหี่ยวแห้ง

การแพร่กระจาย แพร่กระจายโดยทางลม ระบาดได้ดีในช่วงที่สภาพอากาศแห้งและเย็น

การป้องกันและการกาจัด

  1. การใช้สายพันธุ์ต้านทานโรค
  2. ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า พ่นเพื่อป้องกัน ให้ฉีดพ่นในอัตราเชื้อสด 1 กิโลกรัม ต่อน้า 200 ลิตร พ่นในเวลาเย็น 2-3 ครั้ง ห่างกัน 5-7 วัน
  3. ใช้เชื้อแบคทีเรีย บาซีลัส ซับทีลิส พ่นเมื่อพบการระบาดไม่รุนแรง ให้ฉีดพ่นเวลาเย็น ใช้อัตรา 30 กรัม ต่อน้า 20 ลิตร เริ่มพ่นเมื่อพบการระบาดของโรค และพ่นซ้าทุก 7 วัน ควรพ่นในเวลาเช้าตรู่หรือเวลาเย็น
  4. เมื่อไตรโคเดอร์ม่า และบาซีลัส ซับทีลิส ไม่สามารถหยุดการแพร่ระบาดเชื้อราได้ ให้ฉีดพ่นด้วยกามะถัน ชนิดละลายน้าอัตรา 30-40 กรัม ต่อน้า 20 ลิตร ฉีดในสภาพอุณหภูมิต่า ถ้าฉีดพ่นที่อุณหภูมิสูงจะมีผลให้ใบของเมล่อนไหม้
  5. หากพ่นกามะถันแล้วยังควบคุมไม่ได้ จึงใช้สารเคมีป้องกันกาจัดโรคพืช เช่น เบนโนมิล ไตรโฟลีน โพรฟิเนบ ไพราโซฟอส และคาร์เบนดาร์ซิม เป็นต้น อัตราการใช้ตามฉลาก ซึ่งเส้นใยของเชื้อราเจริญอยู่ด้านบนใบ ดังนั้นในการฉีดพ่นสารป้องกันกาจัดโรคพืชให้ได้ผลดี ต้องพยายามพ่นให้ถูกส่วนด้านบนใบให้มากที่สุด ซึ่งในวันนี้เรามาแบ่งปันความรู้เรื่อง การขยายเชื้อราไตรโคเดอร์ มาใช้ในแปลงปลูกเมล่อนเพื่อให้ เมล่อนของเรารอดพ้นจากเชื้อราแป้งและราอื่นๆ ที่จะทาให้ผลผลิตเมล่อนเสียหาย ไม่ได้คุณภาพผลตามที่ตลาดต้องการ ก่อนจะเริ่มทาการขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มา เรามาทาความรู้จักเชื้อราไตรโคเดอร์มากันก่อนว่าคืออะไร เชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma spp.) จัดเป็นเชื้อราชั้นสูงที่เจริญได้ดีในดินเศษซากพืชซากของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ รวมทั้งจุลินทรีย์ และวัสดุอินทรีย์ตามธรรมชาติ เป็นเชื้อราที่ปฏิปักษ์ต่อเชื้อราอื่นที่เป็นสาเหตุของโรคพืชหลายชนิด เชื้อไตรโคเดอร์มาจะใช้วิธีแทงรากเข้าสู่ภายในเส้นใยของเชื้อราชนิดอื่นแล้วแย่งกินอาหารของเชื้อราอื่นๆ รวมถึงการปล่อยเอนไซม์หรือสารปฏิชีวนะเพื่อทาลายและกินเชื้อราอื่นเป็นอาหาร นอกจากนี้พบว่าเชื้อราไตรโคเดอร์มา สามารถชักนาให้ต้นพืชสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคและโรคพืชต่าง ๆ ได้ดีขึ้นอีกด้วย

การผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด

วัสดุและอุปกรณ์ :

  1. หม้อหุงข้าวไฟฟ้าอัตโนมัติ
  2. น้าสะอาด
  3. ทัพพีตักข้าว
  4. ถุงพลาสติกใสทนร้อน ขนาด 8 X 12 นิ้ว
  5. ข้าวสาร
  6. ยางวง 
  7. เข็มเย็บผ้า หรือเข็มหมุด
  8. หัวเชื้อรา

วิธีการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มา

1. หุงข้าว ใช้ข้าวสาร 2 ส่วน และน้า 1 ส่วน ถอดปลั๊กทันทีเมื่อสวิตช์หม้อข้าวดีด จะได้ข้าวกึ่งสุกกึ่งดิบ ข้างนอก

เมล็ดปริ ส่วนข้างในเป็นไตสีขาว ซุยข้าวให้เมล็ดข้าวร่วน

2. ตักข้าวใส่ถุงพลาสติกขณะยังร้อน ถุงละ 250 กรัม

(ข้าว 1 กิโลกรัม ใส่ได้ 4 ถุง)

3. พับปากถุงลงด้านล่าง ปล่อยทิ้งไว้ให้ข้าวอุ่น (เกือบเย็น)

4. เหยาะหัวเชื้อใส่ลงบนข้าว 4-6 เหยาะ

5. รัดยางตรงปลายปากถุงให้แน่น โดยให้มีพื้นที่ว่างในถุงมากกว่าพื้นที่ใส่ข้าว

6. ขยาหรือบีบข้าวในถุงเบา ๆ เพื่อให้ถุงเชื้อกระจายอย่างทั่วถึง (เห็นผงเชื้อสีดากระจายในเนื้อข้าว)

7. เจาะรูใต้ยางที่มัดถุง โดยใช้เข็มสะอาดเจาะประมาณ 20-30 ครั้ง

8. วางถุงข้าวในลักษณะแบนราบให้ข้าวแผ่กระจายทั่วถุง และไม่วางถุงข้าวซ้อนทับกัน ควรวางบริเวณที่มีแสงสว่าง อากาศถ่ายเท ไม่มีมดและสัตว์อื่น ๆ ประมาณ 5 – 7 วันเชื้อราจะเจริญปกคลุมเมล็ดข้าว

9. เมื่อบ่มครบ 2 วัน ขยาข้าวในถุงเบา ๆ ให้ข้าวเกิดการคลุกเคล้าอีกครั้ง เพื่อช่วยให้เส้นใยกระจายตัว กดข้าวให้แผ่แบนราบเช่นเดิม แล้วดึงกลางถุงให้โป่งขึ้น

10. บ่มเชื้อต่ออีก 4 – 5 วัน จะเห็นเชื้อสีเขียวปกคลุมเมล็ดข้าวนาไปใช้ทันทีหรือเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา (8 – 10 องศาเซลเซียส)

ข้อควรระวังในการผลิตเชื้อชนิดสด

1. ต้องตักข้าวที่หุงแล้วใส่ถุงพลาสติกขณะที่ข้างกาลังร้อน เพื่อให้ความร้อนในถุงข้าวทาลายจุลินทรีย์จากอากาศที่อาจปนเปื้อนอยู่ในถุงข้าว

2. การใช้เข็มแทงรอบบริเวณปากถุงที่รัดยางไว้มีความสาคัญอย่างยิ่ง ควรแทงไม่น้อยกว่า 15 จุด / ถุง เพราะถ้าอากาศไม่สามารถระบายถ่ายเทได้ดี เชื้อจะเจริญไม่ทั่วทั้งถุง (ก้นถุงยังเห็นข้าวเป็นสีขาว)

3. ควรบ่มเชื้อไว้ในบริเวณที่ได้รับแสงสว่าง ซึ่งแสงจะช่วยกระตุ้นการสร้างสปอร์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มา

4. อย่าลืมขยาข้าวเมื่อบ่มเชื้อครบ 2 วัน (หลังใส่เชื้อ) แล้วดึงถุงให้โป่งขึ้นเพื่อมีอากาศในถุง ห้ามวางถุงซ้อนกัน

5. ป้องกันอย่าให้ มด แมลง หรือสัตว์มากัดแทะถุงข้าว จากการพบโรคราแป้งในเมล่อนที่กล่าวมาข้างต้น จะให้เห็นว่าถ้าเกษตรกรสารารถจาแนกชนิดของราสาเหตุโรคได้ชัดเจน แล้วทาการป้องกันกาจัดได้ถูกต้อง ถูกวิธี และใช้ตามอัตราที่แนะนาของสารแต่ละชนิด ใช้ในเวลาที่เหมาะสม ก็จะสามารถลดการใช้สารเคมีลงได้ แต่ยังได้ผลผลิตดี นอกจากนี้ยังสามารถผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มาใช้เองได้ด้วย เท่ากับเป็นการลดต้น เพิ่มผลผลิตนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง

จากสถานการณ์น้ำแล้ง ดร.โอภาส ตรีทวีศักดิ์ นักวิจัยศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์จึงได้มีแนวคิดพัฒนาเครื่องวัดความชื้นดินขึ้น เพื่อใช้ตรวจวัดความชื้นของดินเพื่อประเมินปริมาณการให้น้ำพืชได้อย่างเหมาะสม ตามความต้องการของพืชได้อย่างแม่นยำ พืชต้องการน้ำแต่ละช่วงการเจริญเติบโตไม่เท่ากัน พืชแต่ละชนิด
ปัจจุบันอาชีพที่คนรุ่นใหม่หันมาให้ความสนมากขึ้น คือ อาชีพเกษตรกร เนื่องจากต้องการหนีความวุ่นวาย มลพิษในเมืองใหญ่ และความกดดันจากปัญหาต่างๆในการทำงาน รวมถึงอยากเป็นเจ้าของธุรกิจของตัวเอง วันนี้เราจะแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักเกษตรกรอายุน้อย คุณปิยะ กิจประสงค์ บ้านเลขที่ 73 ม.7 ต.ปลายนา อ.ศรีประจันต์ จ.สุพ
สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกเมล่อน ในช่วงอากาศร้อนในตอนกลางวัน สลับกับมีฝนตก ให้รีบสังเกตเมล่อนในแปลงว่าพบการเข้าทำลายของด้วงเต่าแตงแดงหรือไม ถึงแม้จะชื่อเรียกว่าด้วงเต่า แต่รูปร่างนั้นเป็นทรงกระบอก มีหนาวยาว ปีกคู่แรกแข็งเป็นมันสีแดงแสด ซึ่งเป็นแมลงศัตรูพืชสร้างความเสียหายให้กับเมล่อนที่เราสามารถพบได้ทุกระยะ