ไขข้อสงสัยโรคผลเน่าในเมลอนและแตงโม

เมลอน เป็นพืชที่มีความอ่อนแอต่อศัตรูพืช ทั้งโรคและแมลง มีโรคหลายชนิดที่พบทั่วไปในการปลูกเมลอน ทำให้ผลผลิตเสียหาย ไม่ได้คุณภาพผลตามที่ตลาดต้องการ ดังนั้น การปลูกเมลอน จึงต้องดูแลอย่างละเอียดตลอดฤดูการปลูก ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าพืชอื่นๆ ความสำคัญในการรู้จักโรคและการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคที่เกิดในแปลงปลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจะทำให้มีความคุ้มค่ากับการลงทุนของเกษตรกร

ซึ่งโรคพืชที่เกษตรกรผู้ปลูกเมลอนและแตงโม สุดแสนจะช้ำใจนั้น คือโรคผลเน่า อาการของโรคสามารถสังเกตได้ตั้งแต่ในระยะกล้า แต่เกษตรกรก็มักจะละเลยการสังเกตในช่วงนี้ หรือมาแสดงอาการชัดเจนในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต และมารับรู้การระบาดของโรคอีกทีก็ต่อเมื่อผลก็เน่าเสียแล้ว ดังนั้นเกษตรกรต้องคอยหมั่นสังเกตลักษณะผลในแต่ละต้นเมลอนทุกวัน เพื่อจะได้แก่ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที

โรคเน่าในเมลอน จะเกิดจากเชื้อราในดิน: Fusarium semitectum  และมีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย Acidovorax avenae subsp citrulli โรคผลที่เกิดจากเชื้อราเข้าทำลาย จะมีลักษณะอาการบนผลดังนี้ เริ่มจากจุดฉ่ำน้ำเล็กๆ วาวเหมือนปื้นน้ำมันลักษณะไม่แน่นอน เมื่อผ่าดูตรงส่วนที่มีรอยแผลเล็กๆนั้นเนื้อจะช้ำ แผลที่เกิดที่ผิวของผลจะขยายลุกลามออกไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ผลแตกเนื้อภายในเน่า ร่วงหล่น และอาการบนใบ ถ้าเชื้อเข้าทำลายในระยะต้นโต บนใบจะสังเกตเห็นเป็นแผลสีน้ำตาลแห้ง รอยแผลไม่แน่นอน นอกจากนั้นจะเห็นร่องรอยการเจริญของเชื้อสาเหตุตามเส้นใบพืช โดยเส้นใบพืชเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มถึงดำ อาการส่วนมากจะเริ่มเกิดจากขอบใบ

 โรคเน่าในแตงโม เกิดจากเชื้อรา : Diplodia gossypina มีลักษณะอาการดังนี้ ผลอาการจะเริ่มขึ้นตรงจุดที่ติดกับขั้วหรือก้าน โดยเนื้อส่วนนั้นจะอ่อนนุ่มเกิดอาการแผลฉ่ำน้ำขึ้น ต่อมาแผลจะขยายลุกลามกว้างขึ้นอย่างรวดเร็วจนทั่วทั้งผลในที่สุด ทำให้เกิดอาการผิดปกติ เปลือกหรือผิวเหี่ยวย่นยุบลงแล้วแห้งเป็นสีดำ หากอากาศชื้นจะพบว่ามีเส้นใยสีเทาเข้มขึ้น คลุมทั่วทั้งผลที่เน่านั้น สำหรับส่วนของต้นหรือเถาหากถูกเชื้อเข้าทำลาย จะเกิดอาการเน่าสีน้ำตาล เถาจะเหี่ยวย่นอ่อนตัว เมื่อใช้นิ้วจับหรือกดดูจะคล้ายๆ กับไส้กลวง แตงที่ถูกทำลายที่ต้นนี้ หากเกิดขึ้นตรงบริเวณโคน จะทำให้ตายทั้งต้น

ทำไมโรคนี้จึงเป็นปัญหาที่ป้องกันกำจัดยากมาก

 ประการแรกคือมีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว แสดงอาการไม่ชัดเจน ประการต่อมาคือ เชื้อสามารถติดมากับเมล็ดพันธุ์ พบว่าร้อยละ 44 ของเมล็ดมีการปนเปื้อนของเชื้อสาเหตุโรคเน่า อีกอย่างการปลูกของเกษตรกรมักจะเริ่มป้องกันกำจัดเมื่อเริ่มพบแสดงอาการ หรือเมื่อเริ่มติดผลแล้ว ทำให้โอกาสที่เชื้อจะเข้าไปเจริญอยู่ในผลแล้ว และการยับยั้งการเจริญของเชื้อที่อยู่ในผลแล้วเป็นไปได้ยากมากและจะพบความเสียหายของโรคนี้ในระยะก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต ผลที่ถูกเชื้อเข้าทำลายจะร่วงหล่นเสียหายอย่างมากมาย ในบางฤดูปลูกเสียหายมาถึงร้อยละ 70

สามารถป้องกันกำจัดโรคผลเน่าได้ โดยวิธีการต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. เก็บทำลายลูก ต้นหรือเถาแตงที่เป็นโรคพร้อมทั้งวัชพืชตระกูลแตงให้หมดจากบริเวณแปลงปลูก

2. ปรับปรุงดินแปลงปลูกให้มีการระบายนํ้าที่ดีและสะอาดอยู่เสมอ

3. การเก็บเกี่ยวควรตัดให้เหลือก้านที่ผลให้ยาวพอสมควร และใช้มีดคมตัดให้ขาดเพียงครั้งเดียวเพื่อไม่ให้ช้ำ หลังจากนั้นให้ทารอยตัดทั้งที่ต้นและขั้วผลด้วยสารละลายคอปเปอร์ซัลเฟต (CuSO4) ที่ข้นเหนียว เพื่อกันไม่ให้เชื้อราเข้าไปภายใน โดยผ่านทางแผลดังกล่าวได้ง่ายขึ้น (ยาคอปเปอร์ซัลเฟต เตรียมได้โดยผสม CuSO4 60 กรัมในน้ำ 1 ลิตร กับแป้ง 45 กรัมที่ผสมกับน้ำ 100 มล.)

ในการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายของผลผลิต ถ้ารอให้พบอาการโรคบนผลก่อน แล้วค่อยดูแลรักษาย่อมจะไม่ทันการ เพราะเหตุผล 3 ประการที่ทำให้โรคนี้รักษายากดังกล่าวแล้ว การป้องกันกำจัดโรคนี้โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่มีการระบาดของโรคมากและรวดเร็ว ควรจะเริ่มตั้งแต่ในระยะออกดอก เป็นการกันไว้ก่อนจะเป็นการดี ต้องพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อแบคทีเรียเมื่อพบการระบาดของเชื้อ และควรพ่นเป็นระยะตั้งแต่ก่อนติดผล อาจจะทิ้งช่วงห่างได้บ้าง แต่ปัญหาก็คือ โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งก็ยังไม่สามารถควบคุมโรคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โรคนี้จึงยังสร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรต่อไป…

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัจจุบันแหล่งพลังงานทดแทนที่นิยมนำมาใช้ได้ในการเกษตรและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้แก่ พลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานที่เกษตรกรนิยมนำมาใช้เพื่อการชลประทานในพื้นที่ปลูกอ้อย ซึ่งเป็นพลังงานของแสงและพลังงานของความร้อนที่แผ่รังสีมาจากดวงอาทิตย์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ระบบตามลักษณะกระแส
โรงเรือนอีแว๊ป (Evap) ย่อมาจาก Evaporative cooling system ช่วยลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนเหมาะสำหรับการปลูกพืช ผัก ผลไม้ ที่ต้องการดูแลเป็นพิเศษ จะช่วยเพิ่มผลผลิตให้สามารถออกผลได้ตลอดทั้งปี สะดวกในการดูแล สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเพาะปลูก รวมถึงลดความเสี่ยงผลผลิตเสียหายจากแมลงและฝน
สำหรับการใช้โดรนในด้านการเกษตรนั้น ได้นำโดรนมาใช้เป็นเครื่องมือในการพ่นปุ๋ยหรือสารเคมีทางการเกษตร สารกำจัดศัตรูพืช และการทำแผนที่เพื่อการเกษตร โดยการใช้โดรนเพื่อช่วยในด้านการเกษตรจะทำให้เกษตรกรประหยัดแรงงานและสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งประหยัดเวลามากกว่าการใช้แรงงานคน โดยเฉพาะการใช้โดรนเพื่อพ่น